คณะวิทย์ฯ ม.อ. เตรียมจัดแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิก พร้อมโชว์ แอพ ที่ได้รางวัลระดับโลก


16 พ.ค. 2559

ศูนย์ข่าวบ้านเรา – คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.  แถลงเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 12 พร้อมโชว์ 2 แอพพลิเคชั่น ด้านการแพทย์ ดีกรีเหรียญเงิน ในงาน “44th International Exhibition of Inventions of Geneva”
page.jpg      
วันนี้ (16 พ.ค.59) ที่ห้องนิทรรศการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ.ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ พร้อมด้วย ดร.จารุณี ดวงสุวรรณ เลขานุการการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 ร่วมกันแถลงข่าวการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่  7 – 10 มิถุนายน  2559 ณ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดี ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ ม.อ.หาดใหญ่ เปิดเผยว่า สำหรับในปี 2559 คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ มูลนิธิ สอวน. มีมติให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12  พร้อมจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 7-10 มิถุนายน 2559 ณ อาคารปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ โดยมีนักเรียนจากศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. ทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 คน
IMG_0793.JPG      
สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกส่งตัวไปเข้าค่ายสาขา คอมพิวเตอร์โอลิมปิก โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ก่อนที่จะคัดเลือกอีกครั้ง เพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศต่อ ไป

IMG_0813.JPG

ดร.ภัทร อัยรักษ์

นอกจากนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ยังได้จัดแสดงผลงานของนักวิจัยที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการเข้าร่วม ประกวด และจัดแสดงผลงานวิจัย ภายในงาน “44th International Exhibition of Inventions of Geneva” เมื่อวันที่ 13-17 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จำนวน 2 แอพ ดังนี้

1.ผลงานวิจัยเรื่องแอพพลิเคชั่นทดสอบการได้ยินแบบพกพา โดย ผศ.เถกิง วงศ์ศิริโชติ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.

2.ผลงานวิจัยเรื่องระบบป้องกันและเตือนอุบัติเหตุจากอาการละเมอเดิน โดยใช้สมาร์ชวอชและสมาร์ทโฟน โดย นายกษิดิ์กฤษณ์ ดำเกลี้ยง และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.     

ดร.จารุทรรศน์ พัฒนพันธชัย ตัวแทน ผศ.เถกิง วงศ์สิริโชค และน้องๆนักศึกษา จากสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ผลงานแอพพลิเคชั่นทดสอบการได้ยินแบบพกพา พัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคและวิธีการสมัยใหม่ ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เพื่อใช้ทดสอบสมรรถนะการได้ยินได้ทุกที่ทุกเวลา แอพพลิเคชั่นจำลองการทดสอบการได้ยินจากเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiornetry) โดยแอพพลิเคชั่นสามารถทดสอบระดับความดังและความถี่ที่แตกต่างกันได้ตามรูปแบบของการทดสอบการได้ยินในโรงพยาบาล  ดังนั้นผลการทดสอบจึงสามารถเทียบเคียงกับเครื่องตรวจการได้ยิน (Audiometer) และแสดงผลในแอพพลิเคชั่นทันทีที่การวิเคราะห์เสร็จสิ้น ถึงแม้ว่าแอพพลิเคชั่นจะไม่สามารถทดแทนเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยินได้ แต่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงการตรวจการได้ยินจากเครื่องได้

ซึ่งขณะนี้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบใช้งานจริง โดยร่วมมือกับทางคณะแพทย์ ม.อ. ก่อนที่จะปล่อยให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ในเร็วๆ นี้

IMG_0874.JPG

ด้านอาจารย์กษิดิ์กฤษณ์ ดำเกลี้ยง เปิดเผยถึงผลงานวิจัยเรื่องระบบป้องกันและเตือนอุบัติเหตุจากอาการละเมอเดิน โดยใช้สมาร์ทวอชและสมาร์ทโฟน ว่า อาการละเมอ เป็นพฤติกรรมผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังหลับ โดยคนละเมอเดิน จะลุกขึ้นเดินและมีการแสดงพฤติกรรมที่ซับซ้อนขณะละเมอเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะเกิดขึ้นขณะไม่รู้สึกตัว ผลงานนี้ได้นำเสนอ การพัฒนาระบบป้องกันและเตือนอุบัติเหตุจากอาการละเมอ เดินโดยใช้สมาร์ทวอชและสมาร์ทโฟนให้ทำงานประสานกัน โดยใช้เซ็นเซอร์ user activity ในสมาร์วอชเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วย โดยเซ็นเซอร์จะส่งข้อมูลพฤติกรรมไปยังสมาร์ทโฟนและวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึ่ม ซึ่งหากระบบตรวจพบว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นอาการละเมอเดิน ก็จะแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลให้รับทราบเพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่าง ทันท่วงที

IMG_0821.JPGIMG_0840.JPGIMG_0842.JPGIMG_0784.JPGIMG_0878.JPGIMG_0893.JPG