ม.หาดใหญ่ส่งเสริมงานวิจัย จัดประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7


ศูนย์ข่าวบ้านเรา.- มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วมส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม จัดประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7

IMG_5247.JPG

วันนี้( 23 มิถุนายน 2559) ณ ห้องประชุม อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  มีการจัดการประชุมและนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 เพื่อสร้างองค์ความรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอน การให้บริการทางวิชาการ เพื่อเป็นฐานความรู้แก่ชุมชนและสังคมในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป และดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้ได้มีโอกาสเผยแพร่ในวงกว้างและขยายองค์ความรู้สู่การนำไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส  ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เป็นประธานในพิธีเปิด

IMG_5217.JPG

ในงานก็มีการจัดการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ได้แก่  การบรรยายพิเศษเรื่อง “การศึกษาเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังสี ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษา  และการบรรยายพิเศษเรื่อง “วิจัยกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดย ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ รองผู้อำนวยการด้านการวิจัยมุ่งเป้า และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้ประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการภายใต้ฝ่ายอุตสาหกรรม สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และในงานนี้ยังมีการมอบรางวัลงานวิจัยดีเด่นทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติอีกด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังสี ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษา กล่าวว่า การจัดงานที่ ม.หาดใหญ่ในครั้งนี้ นับเป็นมิติใหม่ของสถาบันอุมศึกษาที่ได้เชิญนักวิจัยจากที่ต่างๆได้เข้ามาร่วม จะเป็นการขับเคลื่อนกลไกงานวิจัยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น  โดยภาพรวมนั้น เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการอยู่ในช่วงการปฎิรูปการศึกษา โดยมีการใช้การวิจัยเป็นฐาน นำการวิจัยเอาเป็นแนวคิด เป็นองค์ความรู้ในการจัดทำนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศในทุกๆระดับ เพราะฉะนั้นการวิจัยต่อไปจะต้องมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับบริบทของประเทศไทยและสอดคล้องกับสภาพการของศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะต้องมีแนวโน้มของการวิจัยเป็นองค์รวม และเป็นผลจริง นำการวิจัยด้านการศึกษามาปฎิบัติได้ ในด้านการศึกษาผลผลิตของโครงการวิจัย ส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบ ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยด้านการศึกษานอกระบบมากนัก เราจึงต้องให้ความสำคัญของการวิจัยในการศึกษานอกระบบให้มากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น

IMG_5254.JPG

ดร.กาญจนา เงารังสี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช -ผู้ประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ -ภายใต้ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยภาพรวมของ สกว.ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น ภาคใต้มีความเข้มแข็งมาก มีนักวิจัยที่ทำงานตอบโจทย์ได้ดี ทาง สกว.จึงเข้ามาดูแลและพัฒนางานให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภาคใต้

IMG_5256.JPG

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช

ทิศทางการพัฒนาในปัจจุบันนั้นจะต้องเป็นการขับเคลื่อนงานวิจัยให้สอดคล้องกับบริบทของนักท่องเที่ยว มีการสนับสนุนงานวิจัยภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัดแต่ยังขาดพื้นที่สงขลาที่จะเชื่อมโยงไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งลุ่มน้ำทะเลสาบ  ทาง สกว.จึงได้มีการเชิญชวนนักวิจัย และภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมกันพัฒนางานวิจัย เพื่อให้เป็น RoadMap  ที่จะพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ต่อไป

“เราจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยว พักที่สงขลานานขึ้น” นี่เป็นจุดที่นักวิจัยจะต้องสร้างจุดดึงดูด เพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ บนฐานอัตลักษณ์ บนวิถีชีวิต รวมถึงอาจจะมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องเพิ่มมากขึ้น

ที่สำคัญของการให้โจทย์งานวิจัย จะต้องทำให้ งานวิจัยเกิดการใช้ได้จริง ขายได้ในเชิงกิจกรรม ในพื้นที่ภาคใต้ จะต้องเป็นการสร้างแบรนด์ของพื้นที่ เน้นเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือให้ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการบริการการท่องเที่ยวด้วยตัวของเขาเอง บนฐานอัตลักษณ์ บนวิถีถิ่น ที่มีอยู่คิดว่าน่าจะเป็นเทรนด์สำคัญ และอีกอย่างที่สำคัญ สงขลาอาจจะต้องมีการค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ หรือว่ากิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้พักนานขึ้น นี่จะเป็นประเด็นวิจัยที่ทาง สกว.ให้การสนับสนุน ค้นหาจุดขาย หาจุดเด่นๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภาคใต้ต่อไปในอนาคต

IMG_5219.JPGIMG_5220.JPGIMG_5221.JPGIMG_5182.JPGIMG_5230.JPGIMG_5234.JPGIMG_5235.JPGIMG_5237.JPGIMG_5240.JPGIMG_5225.JPG

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
    อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
  • มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า”  ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
    มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก
    มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก