สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก ม.อ.


21 ก.ย. 2559

 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไป ทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการของคณะทรัพยากรธรรมชาติ  ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

(20 ก.ย.59) เวลา09.00น  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการของคณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ฯ คณบดี ผู้บริหารคณะทรัพยากรธรรมชาติ หัวหน้าสถานีคลองหอย โข่ง หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาคณะทรัพยากรธรรมชาติเฝ้า ฯ รับเสด็จ

41.jpg

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก ตั้งอยู่ ณ สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง หมู่ที่ 5 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง  จ.สงขลา ระยะทางห่างจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ประมาณ 32 กิโลเมตร   เป็นสถานีวิจัยที่จัดตั้งขึ้นมาเป็นลำดับที่ 4 ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากประเทศออสเตรเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ภายใต้ชื่อ “โครงการพัฒนาคณะทรัพยากรธรรมชาติ” 

และเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาพื้นที่คลองหอยโข่ง  ในนามของโครงการตามพระราชดำริคลองจำไหร - หอยโข่ง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  598 ไร่   แบ่งเป็น พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 45 ไร่ พื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก 95 ไร่พื้นที่ศูนย์วิจัยพืชยืนต้นและไม้ผลเมืองร้อน 30 ไร่   พื้นที่แปลงนิเวศน์วิทยา 55 ไร่   พื้นที่แปลงปาล์มน้ำมัน 185 ไร่  พื้นที่แปลงพ่อแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 25 ไร่   พื้นที่แปลงหญ้าเลี้ยงโค 45 ไร่   พื้นที่แปลงพืชอาหารสัตว์ 30 ไร่  พื้นที่แปลงยางพารา 30 ไร่   พื้นที่แปลงพืชไร่   17 ไร่  พื้นที่แปลงไม้ผล 8 ไร่   พื้นที่ทำการ/อาคาร/บ้านพัก 20 ไร่  พื้นที่ถนนและแนวคูน้ำ 13 ไร่

โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวรรณ  วัฒนจันทร์ ได้ถวายรายงานถึงผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก ซึ่งมีภารกิจการผสมพันธุ์ แบล็คเบงกอลพระราชทาน แพะเป็นสัตว์เคี้ยว เอื้องขนาดเล็ก ที่มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะในชนบทของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแพะต่อภูมิภาคนี้ของประเทศ จึงได้ให้ความสนใจและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาแพะมาโดยตลอด   

คณะทรัพยากรธรรมชาติได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ลักษณะของการวิจัยและพัฒนาแพะมีความเหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาท้องถิ่น จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 เพื่อสานต่อโครงการ และดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงแพะมาจนถึงปัจจุบันและทรงทอดพระเนตร พ่อแม่พันธุ์ แพะลูกผสมแบล็คเบงกอล -แองโกลนูเบียน-พื้นเมือง  มูลนิธิชัยพัฒนาได้มอบแพะพันธุ์แบล็คเบงกอล  จำนวน 4 ตัว เป็นเพศผู้ 3 ตัวเพศเมีย 1 ตัว  ให้แก่ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เพื่อนำไปขยายพันธ์สำหรับการขยายพันธ์ เนื่องจาก ศูนย์ ฯ ขาดแคลนแม่พันธ์แบล็คเบงกอล   

ดังนั้นจึงนำเอาแม่แพะลูกผสมพื้นเมือง - แองโกลนูเบียน 2 สายเลือด มาผสมกับพ่อพันธุ์แบล็คเบงกอล  เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎร ปัจจุบัน ศูนย์ ฯ มีแพะลูกผสมแบล็คเบงกอล  - พื้นเมือง-แองโกลนูเบียน 3 สายเลือด จำนวน 57 ตัว  หลังจากทรงทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ ฯ แล้ว  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เพื่อเสด็จไปยังค่าย สิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานีต่อไป

40.jpg39.jpg38.jpg37.jpg36.jpg34.jpg35.jpg

นายประชา โชคผ่อง //ข่าว นายจักริน แก้วมณีโชติ //ภาพ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา