ประสานชลประทานผันน้ำลงคลองบางกล่ำ แก้ปัญหาน้ำแพลงก์ตอนเขียวเต็มผิวน้ำ


15 ธ.ค. 2559

จากกรณีที่ผิวน้ำคลองบางกล่ำถูกปกคลุมด้วยสีเขียวจนหลายคนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกันสายน้ำคลองบางกล่ำ ล่าสุด (14 ธ.ค.59) นายอักษร บุตรโคตร ปลัดอบต.บางกล่ำ แจ้งว่าได้มีการประสานเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมมาตรวจสอบน้ำในคลองบางกล่ำแล้ว 

88.jpg

ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่า มีธาตุอาหารพืชฟอสฟอรัส 1.13 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีไนโตรเจน 5.23 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีปริมาณค่อนข้างสูง จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืช สัดส่วนของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสโดยทั่วไปที่ก่อให้เกิดการสะพรั่งของแพลงก์ตอน/พืชน้ำ จะอยู่ที่ 10:1 กรณีนี้ยังอยู่ที่ 5:1 ดังนั้นอาจมาจากปัจจัยเสริมเรื่องอุณหภูมิ การไหลเวียนของน้ำที่ค่อนข้างจำกัด 

ปกติแล้วแพลงก์ตอนจะหายไปเองเมือธาตุอาหารหมด ส่วนสภาพน้ำเขียวเพราะแพลงก์ตอนเจริญเติบโตมากและหนาแน่นมากจนมองเห็นเป็นสีเขียวซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะบนผิวน้ำแต่น้ำไม่ได้เปลี่ยนสี ทั้งนี้ จะรอผลการตรวจธาตุอาหารและสารอินทรีย์ในตะกอนดินท้องนำ้เพิ่มเติม ซึ่งส่งไปตรวจที่ สวพ.เขต 8 เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง 

ส่วนผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ได้รับแจ้งว่าถ้าน้ำนิ่งมากในตอนเช้ามืดแพลงก์ตอนพืชจะใช้ออกซิเจนเยอะคทำให้ออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลง อาจส่งผลกระทบทำให้ปลาอาจตายได้เนื่องจากขาดออกซิเจน โดยนายสุวรรณ ช่วยนุกูล นายอำเภอบางกล่ำ ได้หารือแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยได้ประสานชลประทานให้เป็ดประตูน้ำคดยางและคลองแยกเพื่อให้น้ำไหลเวียนจากคลองอู่ตะเภาและคลองร.1 และปิดประตูน้ำบางหยีคลองร.1 เพื่อให้น้ำไหลลงสู่คลองบางกล่ำ ซึ่งเมื่อเกิดการไหลเวียนของน้ำจะทำให้แพลงก์ตอนลดลงและหมดไปได้ 

ทั้งนี้ คลองบางกล่ำ เป็นคลองที่มีลักษณะเฉพาะคือเป็นเสมือนแขนของทะเลสาบสงขลา ในช่วงที่น้ำทะเลสาบสงขลาหนุนสูงจะทำให้คลองบางกล่ำน้ำนิ่งไม่มีการไหลเวียนจึงเป็นที่มาของแพลงก์ตอนพืชดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีมากบ้างน้อยบ้างตามแต่สถานการณ์ทางธรรมชาติ 

89.jpg90.jpg91.jpg