น้องที เด็กเก่งมอ.ว.เผยเคล็ดลับคะแนนแอดมิดชั่นสูงแค่หาตัวเองให้เจอติวเตอร์ไม่ต้อง


16 มิ.ย. 2560

เด็กเก่งสงขลาติด 1 ใน 7 คน ที่ได้คะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดระดับประเทศ เผยเคล็ดลับไม่ต้องเรียนติวเตอร์ เพียงแค่ค้นหาตัวเองให้เจอ และปรับแนวทางการเรียนให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ ก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

27.jpg

วันที่ 15 มิ.ย. 60 ซึ่งเป็นวันแรกที่มีการประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (แอดมิชชั่น) ประจำปี 2560 ซึ่งในส่วนของ จ.สงขลา มีนักเรียนที่ได้คะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดอันดับ 4 ของประเทศ 86.75 คะแนน และได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับที่ 1 ในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่นคือ นายธีรภัทร อรุณรัตน์ หรือ น้องที อายุ 19 ปี ชาว อ.หาดใหญ่ นักเรียนชั้น ม.6 สายวิทย์-คณิต โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยน้องที เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจมากที่สามารถสอบแอดมิชชั่นได้ในคณะ และภาควิชาที่มีความใฝ่ฝัน ซึ่งในตอนที่รู้ว่าสอบได้คะแนนเท่าไรนั้น มีทางเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่จัดการไลฟ์สดการประกาศผลแอดมิชชั่นของผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 7 คน ของประเทศ โทรมาบอก ซึ่งตนรู้สึกตกใจปนความดีใจ และก็ยังรู้สึกงงเหมือนกันที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นภาควิชา และคณะ ที่ได้รับความนิยม และมีการแข่งขันกันสูงมากที่สุดอีกภาควิชานึงได้อย่างไร

นอกจากนี้น้องที ยังได้เปิดเผยถึงเคล็ดลับในการทำคะแนนสูงในระดับท็อป 7 คน ของประเทศ ว่า ไม่มีอะไรมาก และเตรียมตัวสอบเหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ โดยผลการสอบแอดมิชชั่นในระบบรับตรงครั้งแรกนั้น ยังไม่ค่อยเป็นทีน่าพึงพอใจเท่าไรนัก จึงมีการปรับเพิ่มในส่วนที่ขาด ซึ่งปกติจะไม่มีมีการเรียนพิเศษตามติเวเตอร์ต่างๆ แต่จะใช้วิธการเรียนในห้องเรียน รวมทั้งศึกษา และทดสองทำข้อสอบปีก่อนๆ ซึ่งดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ต่างๆ

รวมทั้งการพยายามติดตามข้อมูลข่าวสาร ความรู้รอบตัว นอกเหนือจากห้องเรียน และที่สำคัญคือการฝึกใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉาะภาษาอังกฤษ ทั้งการอ่านจากในหนังสือ บทความ เว็บไซต์ และข่าวสารตามทีวีภาคภาษาอังกฤษ และพยามหัดพูดในทุกโอกาส เพื่อสร้างความคุ้นเคย และทักษะในด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาต่อ และส่งผลต่อคะแนนสอบแอดมิชชั่นโดยตรงด้วย

น้องที ยังบอกด้วยว่า สำหรับแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนในภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น มาจากการที่ตนเองได้มีโอกาสเดินทางไปแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมที่สาธารณรัฐเช็ก เป็นเวลา 10 เดือน ในระว่างปี 2558-2559 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ตนได้ค้นพบตัวเอง และรู้ว่าสนใจในด้านนี้ เมื่อกลับมาจึงได้ปรึกษากับคุณครูรัตติยา แก้วสาย ซึ่งเป็นทั้งครูสอนสังคม ครูประชั้น และครูที่ปรึกษา ซึ่งมีความสนิทสนมกันมาก และปรับเปลี่ยนแนวทางการเรียน เพื่อมุ่งให้ตรงกับภาควิชาที่ต้องการ และประสบความสำเร็จถึงขึ้นสูงสุดรับดับประเทศดังกล่าว

28.jpg