ลงตรวจแรงงานประมงสงขลา ไม่พบการกระทำความผิด ไม่พบการใช้แรงงานเด็ก


31 ต.ค. 2560

คณะตรวจแรงงานบูรณาการของศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมงจังหวัดสงขลา ร่วมออกตรวจสภาพการจ้าง การทำงานของแรงงานที่ทำงานบนเรือประมงในบริเวณอ่าวไทยเขตรับผิดชอบจังหวัดสงขลา ผลการตรวจสอบ ไม่พบการกระทำความผิดของแต่ละหน่วยงาน และไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้แต่อย่างใด

PNEWS17103014030600801.JPG

วานนี้ (30 ต.ค. 60) นายเวียง สุวรรณะ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมงจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกับศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเขต 2 ของกรมประมง ร่วมออกตรวจสภาพการจ้างสภาพการทำงานในเรือประมงทะเล ณ บริเวณอ่าวไทยจังหวัดสงขลา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ทัพเรือภาคที่ 2 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลา สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา สำนักงานจัดหางานจังหวัดสงขลา ตำรวจน้ำ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา ร่วมออกตรวจสภาพการจ้าง การทำงานของแรงานที่ทำงานบนเรือประมงในบริเวณอ่าวไทยเขตรับผิดชอบของจังหวัดสงขลา ตามโครงการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงทะเลของศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล เขต 2 ประจำปีงบประมาณ 2560โดยมีล่ามของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสงขลาเป็นผู้ร่วมสื่อสารระหว่างลูกจ้างต่างด้าวกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ เรือ ป.ทรัพย์อนันต์ 7 หมายเลขทะเบียนเรือ 2690 - 20297 ประเภทเครื่องมือ ลอบปู จำนวนแรงงาน 6 คน สัญชาติไทย 3 คน กัมพูชา 3 คน , เรือ ป.ทรัพย์อนันต์ 17 หมายเลขทะเบียนเรือ 5440 - 13553 ประเภทเครื่องมือ ลอบปู จำนวนแรงงาน 8 คน สัญชาติไทย 2 คน กัมพูชา 5 คน เมียนมา 1 คน , เรือ ว.สุภาพร 4 หมายเลขทะเบียนเรือ 3184 - 00047 ประเภทเครื่องมือ อวนลอย จำนวนแรงงาน 15 คน สัญชาติไทย 8 คน เมียนมา 7 คน , เรือพรชัย 4 หมายเลขทะเบียนเรือ 3990 - 00634 ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับ จำนวนแรงงาน 34 คน สัญชาติไทย 4 คน กัมพูชา 30 คน และเรือ ส.สินสมุทร 39 หมายเลขทะเบียนเรือ 3220 - 00786 ประเภทเครื่องมือ อวนครอบหมึก จำนวนแรงงาน 5 คน สัญชาติไทย 1 คน กัมพูชา 4 คน

ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบในครั้งนี้ ไม่พบการกระทำความผิดของแต่ละหน่วยงาน และไม่พบการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้แต่อย่างใด

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย และมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีมาตรการที่ชัดเจน เป็นการคุ้มครองแรงงานประมงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครอง หากพบเห็นการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แจ้งได้ที่สายด่วน 1546 ตลอด 24 ชั่วโมง

PNEWS17103014030600815.JPGPNEWS17103014030600802.JPGPNEWS17103014030600805.JPGPNEWS17103014030600813.JPG

ข่าวโดย ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา