ภาคประชาสังคม มรภ.สงขลา ปลุกพลังเยาวชนชายแดนใต้สร้างมิติแห่งสันติภาพ


28 พ.ย. 2560

ภาคประชาสังคม มรภ.สงขลา สร้างเพจสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ดึงเพื่อนเยาวชนชายแดนภาคใต้แสดงพลังเพื่อสันติภาพผ่านเฟซบุ๊ก บอกเล่าเรื่องราวการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ      

24020098_333466217122582_2139578900_n.jpg

ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข ผู้จัดการองค์กรพิเศษเครือข่ายภาคประชาสังคมเยาวชนการสื่อสารชายแดนใต้สู่สันติสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนภาคใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่มี น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษา มรภ.สงขลา เป็นหัวหน้าโครงการฯ ว่า จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อใช้การสื่อสารสร้างความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน นำไปสู่การสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนงานตามแนวทางของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศ) ใน 10 ประเด็นคือ 1. งานรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน 2. งานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยา 3. งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและเรื่องสิทธิมนุษยชน 4. งานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน 6. งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี 7. งานขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 8. งานขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา จชต.ปี60-62 9. งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10. งานพัฒนาสร้างศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคม

24099585_333466387122565_472159269_n.jpg

ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข

ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา และ ผศ.ฆนัท ธาตุทอง รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การวางแผนและวิจัย ซึ่งในวันเปิดงานได้รับเกียรติจาก นายไกรศร วิศิษฏ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานมีการปาฐกถาในหัวข้อ “การสื่อสารเชิงบวกภาคประชาสังคมเยาวชน เพื่อใต้สันติสุข” จาก พลเอกเลอชัย มาลีเลิศ ที่ปรึกษาฯ พลเอกอุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด ที่ปรึกษาผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษาและอาจารย์พิเศษสาขาการสอนอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี และ พันเอกฐกร เนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการ ศสว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่ จ.สงขลา 50 คน (อ.เทพา อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย และ จะนะ) จ.ปัตตานี 100 คน จ.นราธิวาส 40 คน และ จ.ยะลา 40 คน รวมทั้งสิ้น 230 คน เป็นต้นแบบในการสื่อสารออนไลน์สู่สันติสุขผ่านเฟซบุ๊ก (facebook) ถือเป็นปรากฏการณ์ปฐมบทการสื่อสารโดยภาคประชาสังคมของเยาวชนชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

ด้าน น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 2โปรแกรมนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีคณะทำงานทั้งหมด 11 คน เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงปัญหาการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกวิธีและผิดวิธี พวกตนจึงมีแนวคิดสร้างกลุ่มเพจในเฟซบุ๊กใช้ชื่อกลุ่มว่า สื่อสารออนไลน์เชิงบวก เพื่อให้สมาชิกซึ่งเป็นนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เผยแพร่ข่าวสารที่หน้าสนใจลงในเพจ และเเชร์ข้อมูลความรู้ให้แก่กัน เป็นการใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสมเเละกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ทั้งนี้ การจะพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์เชิงบวกของเยาวชนชายเเดนใต้ ต้องเริ่มจากการปลูกฝังทำความเข้าใจให้กับเยาวชนก่อน เพื่อจะพัฒนาการสื่อสารให้ดีขึ้นเเละถูกต้อง การจัดโครงการในครั้งนี้ถือว่าได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะนักศึกษาที่อยู่ในพื้นให้ความร่วมมืออย่างมาก และเห็นด้วยกับความคิดในการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา          

24116466_10212782754657288_231410189_o.jpg

น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว     

 “สิ่งที่คาดหวังคือผู้ที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สื่อออนไลน์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่ส่งต่อความรู้ความเข้าใจสู่เยาวชนรุ่นหลัง หนูเชื่อมั่นมากว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ เพราะจากที่เราพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันกับเพื่อนๆ นักศึกษา ทำให้ทราบถึงความคิดความรู้สึกของเพื่อนๆ มีต่อโครงการนี้ ทุกคนเห็นด้วยและช่วยกันโพสต์เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเชิงบวกลงในกลุ่มเพจที่ทำขึ้น ซึ่งความร่วมมือนี้จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่นต่อไป” น.ส.ทิพวรรณ กล่าว

ขณะที่ ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นมิติใหม่แห่งการสร้างพลังการสื่อสารเพื่อสันติภาพแห่งชายแดนใต้ ตนรู้สึกภูมิใจที่ได้มาเป็นที่ปรึกษาฯ และได้เห็นนักศึกษาคิดรวมพลังกันเพื่อสื่อสารให้เห็นว่า จังหวัดชายแดนใต้ของตนนั้น มีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอะไรบ้าง ซึ่งสอดคล้องตามที่ ศอ.บต. สนับสนุนประเด็นการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจทั้ง 10 ประเด็นสำคัญนี้อยู่ก่อนแล้ว โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญแห่งการสื่อสาร บอกกล่าว เล่าความรู้สึกของตนเองออกสู่สังคมโดยใช้วิธีการสื่อสารออนไลน์ผ่านกลุ่มในเฟซบุ๊กเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เป็นนักคิด นักพัฒนาท้องถิ่น ตามพันธกิจของ มรภ.สงขลา ที่ว่า สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สิ่งที่พวกเขาได้ทำขึ้นในโครงการนี้ คือสัญลักษณ์แห่งความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนนั่นเอง

24019796_333466393789231_243740827_n.jpg

ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า

24058819_1443624899068196_1989568286366068553_n.jpg24098707_333466193789251_634898317_n.jpg24098752_333466087122595_1820463762_n.jpg24098940_333466107122593_1627617763_n.jpg23844662_1535099683240170_8595827000146409057_n.jpg

ข่าวโดย/ ลัดดา เอ้งเถี้ยว (นักประชาสัมพันธ์ มรภ.สงขลา)