สธ.สงขลาดูแลประชาชนช่วงน้ำท่วม ออกหน่วยแพทย์ให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง


12 ธ.ค. 2560

นพ.อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาน้ำท่วมใน จ.สงขลา เริ่มคลี่คลาย แต่ยังมีน้ำท่วมขังใน อ.ระโนด และบางพื้นที่ใน อ.สิงหนคร และ อ.สทิงพระ (ณ วันที่ 11 ธ.ค. 2560)

78.jpg

สำหรับการช่วยเหลือประชาชนในด้านการแพทย์และสาธารณสุขของจังหวัดสงขลา ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2560 เครือข่ายสุขภาพ อ.กระแสสินธุ์ โดยการสนับสนุน ของ นพ.นครินทร์ ฉินตระกูลประดับ ผอ.รพ.สทิงพระและผอ.รพ.กระแสสินธุ์ ได้จัดหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ให้บริการ ณ บ้านโคกแห้ว ต.โรง และ บ้านโตนดด้วน ต.กระแสสินธุ์ มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 106 คน พบผู้ป่วยโรคสูงสุด ปวดเมื่อย/กล้ามเนื้ออักเสบ 32 คน ตัวกรองสุขภาพจิต 176 คน พบซึมเศร้า 6 คน ผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจรักษา 48 คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 22 คน จ่ายชุดช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 200 ชุด ราย พบผู้ป่วยโรคสูงสุดน้ำกัดเท้า 17 ราย 

สำหรับการช่วยเหลือประชาชน ระหว่างวันที่ 26 พ.ย.- 11 ธ.ค. 2560 จ.สงขลา ดังนี้
1) ได้จัดหน่วยแพทย์ และ หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ จ้านวน 65 หน่วย มีผู้เข้ารับบริการด้านรักษาพยาบาลทั้งสิ้น 9,274 ราย โดยจากการออกหน่วยเคลื่อนที่ฯ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคผิวหนังและเนื้อเยื่อ 1,505 ราย ,โรคหวัด 545 ราย โรคระบบกล้ามเนื้อ 379 ราย ระบบย่อยอาหาร 150 ราย , โรคระบบไหลเวียนเลือด 95 ราย โรคเรื้อรัง 362 ราย โรคระบบประสาท 56 ราย

นอกจากนี้ มีการออกเยี่ยมผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียง 1,151 ราย และเยี่ยมผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ 50 ราย และเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต ผู้ป่วยฟอกไต 3,116 ราย ผู้ป่วยขาดยา 656 ราย ทั้งนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต10 รายจากการจมน้ำ 9 ราย และ จากไฟฟ้าช๊อต 1 ราย 2)มอบยาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 27,218 กล่อง ยาน้ำกัดเท้า 5,047 ชุด 3)ให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจผู้ประสบอุทกภัย 10,842 ราย

นอกจากนี้ นพ.อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา ยังได้เน้นย้ำ เรื่องโรคไข้ฉี่หนู เนื่องจากเชื้อโรคไข้ฉี่หนู ส่วนใหญ่มาจากปัสสาวะของหนูและสัตว์เลี้ยงต่างๆและปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก เมื่อคนลุยน้ำย่ำโคลน หรือ จากการกินอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนฉี่หนู โดยจะมีอาการหลังจากรับเชื้อโรคไข้ฉี่หนูประมาณ 4 – 10 วัน หากมีอาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลังและท้อง ตาแดง คอแข็ง ให้รีบไปพบแพทย์

ในรายที่ เป็นรุนแรงจะมีอาการ ดีซ่าน ตัวเหลือง และอาจบวมบริเวณหลังเท้า และหนังตา ดังนั้น การป้องกันโดย เมื่อจะย่ำน้ำย่ำโคลน ควรสวมรองเท้าบู๊ท ล้างมือ ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งเมื่อถูกน้ำสกปรก หรือ หลังจากเดินย่ำน้ำย่ำโคลน ทั้งนี้ ต้องช่วยกันกำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรคด้วย

79.jpg