โหนดนาเล เที่ยวได้ทุกวัน สัมผัสวิถีถิ่นสงขลา ชุมชนท่าหิน ชุมชนคลองแดน


25 ม.ค. 2561

โหนดนาเล เที่ยวได้ทุกวัน สัมผัสวิถีถิ่นสงขลา ชุมชนท่าหิน ชุมชนคลองแดน

เส้นทางท่องเที่ยว วิถีโหนด นา เล คือการนำเสนอวิถีชีวิตชาวบ้าน และภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ยึดอาชีพหลักด้วยการผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด ทำนา และประมงทะเลสาบ  ด้วยความโดดเด่น และเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ได้ถูกผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว กำลังกวักมือเรียกนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่สนใจในวิถีชีวิตแบบสโลไลฟ์ ได้เข้ามายลและสัมผัสประสบการณ์วิถีชีวิตเชิงเกษตร ที่สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วอายุคน

page.jpg

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ลงพื้นที่ ชุมชนท่าหินและชุมชนคลองแดน เนื่องด้วยทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นำโดย ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  และหัวหน้าโครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)  ได้ทำโครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)  โดยเลือก ชุมชนท่าหินอำเภอสทิงพระ และชุมชนคลองแดน อำเภอระโนด ซึ่งเป็น 2 ใน 10 ชุมชน เข้าร่วมโครงการวิจัย และได้ทำแผนพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้กับชุมชนท่าหิน ภายใต้แนวคิด สัมผัสวิถีภูมิปัญญาโหนดนาเล และชุมชนคลองแดน ภายใต้แนวคิด นำชมสวนทางการเกษตรตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมโปรโมทประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในวันธรรมดาในพื้นที่ดังกล่าวไปยังนักท่องเที่ยวและผู้สนใจให้ได้รับทราบ

[video-0]

ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช เปิดเผยว่า โครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) เป็นการต่อยอดงานวิจัยที่ทำมาตั้งแต่ปี 2556 โดยคิดว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีศักยภาพพอ ซึ่งใน ปีแรก เราค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพ ในปีที่ 2 เราดำเนินการในเรื่องการจัดการ พอปีที่สาม เรามาต่อยอดในเรื่องของการตลาด และปีที่ 4 เรานำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย มีทุนสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

IMG_2264.JPG

ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช

การตั้งวัตถุประสงค์มีอยู่ 3 เรื่อง

เรื่องแรก คือการพัฒนาในตัว Supply Chain หรือว่า ตัวห่วงโซ่อุปทานในการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งหกด้าน คือ 1เรื่องของอาหาร , 2 เรื่องของที่พัก , 3 เรื่องของกิจกรรม ,4 เรื่องของที่ระลึก , 5 เรื่องของมัคคุเทศท้องถิ่น และ 6 เรื่องของการเดินทางในท้องถิ่น

เรื่องที่ 2 คือเราต้องการที่จะพัฒนาการตลาดรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชนจริงๆ เพราะแต่ละชุมชนก็มีกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน อาทิ ในจังหวัดยะลา ก็มีการเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมากกว่า เป็นต้น

สุดท้ายเรื่องที่ 3 เราจัดทำเว็บไซต์ให้กับทั้ง 10 ชุมชน ภายใต้ชื่อ http://cbtdeepsouth.com แล้วทุกชุมชนก็สามารถที่จะ เข้าไปอัพเดทข้อมูล เข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูล อันนี้คือสิ่งที่เราทำเพื่อจะเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน

ผลของการทำในครั้งนี้ ไม่ใช้แค่งานวิจัยและเป็นการพัฒนาชุมชน ช่วยชาวบ้านได้จริง

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ สถานที่ที่ได้ไปชมกันคือ

ชุมชนท่าหิน อำเภอสทิงพระ ที่เป็น วิถีโหนดนาเล  หรือ เอาวิถีชีวิตชุมชน วิถีโหนด นาเล มาเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ชัดเจน เป็นการนำเสนอสินค้าที่เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน เป็นการนำวิถีชีวิตชุมชนมาพัฒนาในให้เกิดการท่องเที่ยว หรือที่เราเรียกว่าเป็นประสบการณ์จากการเดินทาง ใครไปท่าหินก็จะได้ทำขนมจากตาลโตนด เรียนรู้ฐานต่างๆ  ทำน้ำตาลปีบ , ทำสบู่จากตาลโตนด เป็นต้น และที่สำคัญคือได้รับประทานอาหารชุมชน  ฟังเรื่องราวในชุมชน ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส 3 วิถี โหนด – นา – เล

IMG_1902.JPG

วิถีโหนด เป็นวิถีชีวิตเกี่ยวกับตาลโหนด ประกอบด้วยการขึ้นตาลโตนด เฉาะลูกตาล ลูกตาลเชื่อม การทำน้ำผึ้งแว่น น้ำผึ้งเหลว การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด และการเพาะลูกโหนด

วิถีนา วิถีชีวิตการทำนา อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน บนคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งการทำนาจะสลับกับอาชีพตาลโตนด บางบ้านเมื่อหมดหน้าตาลโตนดก็จะมาประกอบอาชีพทำนา

วิถีเล วิถีชีวิตชาวประมงแบบดั้งเดิมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง เช่น การทำไซ-สุ่ม การทำกุ้งส้ม ปลาแห้ง ปลาต้มน้ำผึ้ง เป็นต้น

IMG_2203.JPG

อีก 1 ชุมชนในสงขลา คือชุมชนคลองแดน อำเภอระโนด  ที่มี วิถีพุทธ คลองแดน  ต้องบอกว่าคลองแดนมีความพร้อมมานานแล้ว และเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน ถ้าในวันหยุดก็จะมีคนมาเที่ยวที่คลองแดนกันมากแล้ว แต่ก็เป็นการท้าทายอย่างหนึ่งที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนมาเที่ยวคลองแดนในวันธรรมดา คลองแดนไม่เพียงแต่วันหยุดที่มีตลาดริมน้ำ วันธรรมดาก็ยังมี เรียนรู้ฐานต่างๆ คลองแดนมีกระบวนการจัดการท่องเที่ยวที่ชัดเจน อาทิ การนำชมสวนทางการเกษตรตามแนววิถีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

นอกจากนี้โครงการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)  ยังสนับสนุนให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมๆ กัน ให้ชาวบ้านได้รับผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นให้ดีขึ้น

IMG_1905.JPGIMG_1914.JPGIMG_1947.JPGIMG_1951.JPGIMG_1976.JPGIMG_1989.JPGIMG_2000.JPGIMG_2012.JPGIMG_2015.JPGIMG_2030.JPGIMG_2038.JPGIMG_2044.JPGIMG_2057.JPGIMG_2059.JPGIMG_2084.JPGIMG_2144.JPGIMG_2148.JPGIMG_2153.JPGIMG_2160.JPGIMG_2162.JPGIMG_2167.JPGIMG_2178.JPGIMG_2193.JPGIMG_2201.JPGIMG_2212.JPGIMG_2217.JPGIMG_2246.JPGIMG_2272.JPGIMG_2275.JPGpage.jpg