ม.อ.พาเครือข่ายประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ตรัง ดูงาน ย่านตาขาวโมเดล และ บ้านน้ำราบ


13 ก.พ. 2561

ม.อ.จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายประชาสัมพันธ์และสื่อมวลชน เยี่ยมชมนิทรรศการและผลงานของ ม.อ.วิทยาเขตตรัง ไปเยือนย่านตาขาวโมเดล พร้อมลงพื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำราบ ปีนเขาจมป่า ล่องแพ ปล่อยพันธ์ม้าน้ำ เก็บขยะทะเลแหวก 

page.jpg

เมื่อวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำทีมเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย และสื่อมวลชนหาดใหญ่ ร่วมกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชมนิทรรศการและผลงานของวิทยาเขตตรัง อาทิ เช่น โครงการย่านตาขาวโมเดล,โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : Trang Vernadoc 2017 , การแสดงชุด “เขา ป่า นา เล หลาด” ,กล่องใส่ดินสอจากแกนกระดาษทิชชู่ , โครงการพัฒนาการเชื่อมโยงการท่องเที่ยววัฒนธรรมกลุ่มอันดามัน เป็นต้น พร้อมลงพื้นที่ บ้านน้ำราบ ท่องเที่ยววิถีธรรมชาติ เดินขึ้นเขาจมป่า  เก็บขยะทะเลแหวก จากพื้นที่สัมปทานสู่ป่าโกงกางชุมชน ที่ชาวบ้านร่วมกันดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ได้เป็นอย่างดี

[video-0]

IMG_5108.JPG

 ดร.ทิพวรรณ จันทมณีโชติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบบริหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง  เปิดเผยว่า สำหรับ ม.อ.ตรัง ตอนนี้มี 2 คณะ ได้คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ณ ปัจจุบัน มีนักศึกษากว่า 3,000 คน เรามีการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานตามทิศทางการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัย มีการให้บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และมีงานวิจัย ซึ่งแต่ละคณะก็มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป โดยปีนี้เรามี ภารกิจทำเรื่อง ตรังศึกษา (ย่านตาขาวโมเดล) ซึ่งมีความโดดเด่น ที่จังหวัดและชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก

IMG_5084.JPG

 ดร.ทิพวรรณ จันทมณีโชติ

ด้าน อ.ชาวดี ง่วนสน หัวหน้าโครงการวิจัยชุดย่านตาขาวโมเดล ปี 2559-2560 เปิดเผยว่า โครงการย่านตาขาวโมเดล  มีแนวคิดเริ่มต้นจากรูปแบบการพัฒนาการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่อำเภอย่านตาขาว จากอดีตที่เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์เป็นรูปแบบของสินค้าเฉพาะที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาจับจ่ายใช้สอย จนปัจจุบันที่เศรษฐกิจซบเซาลง เป็นผลให้พื้นที่เทศบาลตำบลย่านตาขาวขาดอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนดั้งเดิม 

การเป็นอยู่ของผู้คนขาดชีวิตชีวา เนื่องจากประชาชนย้ายไปทำงานต่างถิ่น ขาดเทศกาลและกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาเยือนเหมือนเช่นในอดีต แต่ยังคงต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และทรัพยากรทางสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาในอนาคต

IMG_5453.JPG

อ.ชาวดี ง่วนสน

ย่านตาขาวโมเดล มีเป้าหมายเพื่อศึกษา ค้นคว้าและวิจัยข้อมูลเมืองย่านตาขาวในทุกมิติเพื่อการฟื้นฟูและวางแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลย่านตาขาวในอนาคต โดยกิจกรรมที่ทำมี 6 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

1.สำรวจข้อมูลพื้นฐานสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชาติพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรม และอุปสรรคต่อการพัฒนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

2.สำรวจแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรม

3.งานรังวัดสถาปัตยกรรมที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.อัตลักษณ์ของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม

5.สำรวจความต้องการพื้นฐานของบ้านพักอาศัยร่วมคนพิการ

6.สำรวจความเป็นไปได้ของเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม 

โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในทุกกิจกรรม จะถูกนำมาวางแผนร่วมกันกับชุมชนเพื่อออกแบบการพัฒนาเมืองย่านตาขาวอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันสรรค์สร้างให้กิจกรรมนี้สำเร็จไปด้วยดีและเป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองต่อไป

IMG_5428.JPG

นางทัศนีย์ สุนทรนนท์ ประธานโครงการย่านตาขาวโมเดล กล่าวว่า เมื่อก่อนตรงบริเวณย่านตาขาวนี่ เคยเป็นแหล่งเศรษฐกิจของเมืองตรังแต่ต้องซบเซาลงตามกาลเวลา บริเวณบ้านปู่นิล ก็เป็นบ้านเก่าร้อยปี ซึ่งเป็นรูปแบบบ้านหนีน้ำ ที่บ้านแถบนี้หลายบ้านสมัยก่อนมีลักษณะเป็นบ้านหนีน้ำเหมือนกัน เมื่อ ม.อ.มีโครงการย่านตาขาวโมเดลเข้ามา ชาวบ้านก็ให้การตอบรับให้ความร่วมมือในการช่วยกันสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นเป็นวิถีชุมชน ที่มีความหลากหลาย วิถีชีวิต เรียบง่าย น่าค้นหา บ้านเก่า เตาเผา โบราณ ที่ยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน นับตั้งแต่มีการทำโครงการย่านตาขาวโมเดล ชาวบ้านแถบนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมีความเป็นอยู่ เศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน

IMG_5444.JPG

นางทัศนีย์ สุนทรนนท์

นอกจากนี้ เครือประชาสัมพันธ์ ม.อ. และสื่อมวลชนก็ได้ลงพื้นที่บ้านน้ำราบ ซึ่ง“ชุมชนบ้านน้ำราบ” หรือชื่อเดิม “บ้านน้ำรอบ” ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน และมีการจัด กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำราบ มีจุดเด่นตรงที่มีความหลากหลาย แตกต่างไปจากที่อื่น อาทิ เช่น การปล่อยพันธ์ม้าน้ำที่แปลกไม่เหมือนใคร  , การล่องแพชมธรรมชาติ บนผืนป่าโกงกาง พื้นที่กว่า 3,000 ไร่ , การปีนเขาจมป่า ซึ่งข้างบนยอดเขาสามารถชมภาพบรรยากาศแบบ 360 องศากันได้เลยทีเดียว และระหว่างทางก็ยังพบเห็นพันธุ์ไม้หายาก และแปลกตา มากมาย 

และยังมีการล่องแพ ไปที่ทะเลแหวก พร้อมทำกิจกรรมเก็บขยะ ซึ่งทุกคนก็ช่วยกันเก็บใส่ถุงขยะ ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อรักษาความสะอาด  เพราะการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นการท่องเที่ยวอย่างยังยืนได้นั้น คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวจะต้องช่วยกันอนุรักษ์ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ระบบนิเวชคงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จะได้มีแหล่งอาหารและธรรมชาติที่สวยงามให้คนรุ่นหลังต่อไป

IMG_5280.JPGIMG_5117.JPGIMG_5238.JPGIMG_5231.JPGIMG_5060.JPGIMG_5101.JPGIMG_5104.JPGIMG_5121.JPGIMG_5145.JPGIMG_5146.JPGIMG_5170.JPGIMG_5175.JPGIMG_5185.JPGIMG_5220.JPGIMG_5386.JPGIMG_5300.JPGIMG_5304.JPGIMG_5311.JPGIMG_5353.JPGIMG_5357.JPGIMG_5358.JPGIMG_5359.JPGIMG_5363.JPGIMG_5371.JPGIMG_5397.JPGIMG_5407.JPGIMG_5413.JPGIMG_5471.JPGIMG_5481.JPGIMG_5486.JPGIMG_5499.JPGIMG_5511.JPGIMG_5519.JPGIMG_5525.JPGIMG_5533.JPGIMG_5555.JPGIMG_5560.JPGIMG_5581.JPGIMG_5609.JPGIMG_5619.JPGIMG_5625.JPGIMG_5654.JPGIMG_5661.JPGIMG_5665.JPGIMG_5670.JPGIMG_5846.JPGIMG_5698.JPGIMG_5701.JPGIMG_5710.JPGIMG_5777.JPGIMG_5782.JPGIMG_5787.JPGIMG_5720.JPGIMG_5721.JPGIMG_5741.JPGIMG_5746.JPGIMG_5764.JPGIMG_5794.JPGIMG_5890.JPGIMG_6033.JPGIMG_5863.JPG