คณะทำงานติดตามประเมินผลจชต. ลงพื้นที่ 2 อำเภอ เพื่อรับฟังปัญหาความมั่นคง


22 มี.ค. 2561

คณะทำงานติดตามประเมินผล ลงพื้นที่ 2 อำเภอ เพื่อรับฟังปัญหาความมั่นคง และการพัฒนา และแก้ปัญหายาเสพติด

วันที่ 21 มี.ค. 61 คณะทำงานตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ สำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา คณะสงขลา 2 ได้ลงพื้นที่ ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา  ณ ชุดคุ้มครองตำบล ( ชคต.) สะกอม โดยมีปลัดอำเภอ ปลัดตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตอาสา  ให้การต้อนรับ และนำตรวจแถว เจ้าหน้าที่ชุดคั้มครองตำบล และร่วมประชุม เพื่อรับทราบความคืบหน้า และปัญหาอุปสรรค ของโครงการ ตำบลสันติธรรม โครงการพนม โครงการบัณฑิตอาสา และโครงการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

35.JPG

โดยผู้นำท้องที่ มีความเห็นว่า เงินงบประมาณของตำบลสันติธรรม ควรจัดสรรเพื่อใช้ซื้อกล้อง ซีซีทีวี เพราะกล้องซีซีทีวี เป็นประโยชน์ทั้งในการป้องกันการก่อเหตุ และหลังหารก่อเหตุสามารถจับคนร้ายได้ รวมทั้งในพื้นที่ ต.สะกอม เป็นพื้นที่ระบาดของยาเสพติด ประทุษร้ายต่อทรัพย์มีมาก หากมีกล้องซีซีที่วีเพียงพอกับพื้นที จะช่วยให้อาชญากรรมลดลง แต่การซื้อ ซีซีทีวี  สำนักสังคมจิต มีเงื่อนมากเกินไป จึงอยากให้มีการทบทวน ลดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการซื้อ ซีซีทีวี ในส่วนงานด้านอื่นๆ ของโครงการตำบลสันติธรรม ตำบลสะกอม ได้ทำตามโครงการทุกอย่าง

สำหรับในโครงการพนม ผู้นำท้องที่ ทุกหมู่บ้าน ต่างมองว่า มีการกำหนดกรอบที่ยังไม่ตอบโจทย์ของการแก้ปัญหา ตามความต้องการของประชาชน เช่นงบประมาณที่มาก น้อย ไม่เท่ากันทุกหมู่บ้าน ก็เป็นปัญหา อุปสรรค รวมทั้ง วิธีคิดที่คิดมาจาก ส่วนบน โดยที่ ผู้นำท้องที่ ไม่ได้มีส่วนในการร่วมคิด ทำให้โครงการพนม เป็นโครงการที่ มีปัญหาค่อนข้างมาก โดยมีการเสนอแนะว่า ให้ สำนักสังคมจิต มีการประชุม สัมมนา ร่วมกับผู้นำท้องที่ และฝ่ายปกครองในแต่ละพื้นที่ เพื่อ ถอกบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อที่จะให้โครงการพนม เป็นโครงการที่ให้ประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

เช่นเดียวกับปัญหาเรื่องของ ยาเสพติด ซึ่ง ต.สะเดา เป็นตำบล ที่มีการระบาดของยาเสพติดค่อนข้างสูง จึงต้องการให้มีการตั้งศูนย์แก้ปัญหา บำบัดผู้ติดยา โดยมีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมา การแก้ปัญหาการระบาด และการบำบัดผู้ติดยา ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

โดยนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ซึ่งเป็นคณะทำงานตรวจติดตามและประเมินผล ได้กล่าวกับที่ประชุมว่า จะนำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ นำเสนอต่อเลขาธิการ ศอ.บต. และ ผอ.สำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยาให้ได้รับทราบ ซึ่งยอมรับความจริงว่า หลายโครงการ ที่คนกำหนดกรอบคิดเอง กำหนดรูปแบบเอง ส่วนคนที่ปฏิบัติ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ และรู้ปัญหาดี ไม่ได้ร่วมคิดตั้งแต่ต้น ดังนั้นอะไรที่เป็นปัญหา อุปสรรค ในการทำงานของต้องแก้ เพื่อให้ได้ประโยชน์กับประชาชน และเพื่อให้คุ้มค่ากับงบประมาณ ที่เป็นเงินภาษาของประชาชนทุกคน หลังจากนั้นได้มีกาพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นของงานด้านความมั่นคง การป้องกันเหตุในพื้นที่ ซึ่งหัวหน้าชุด ชคต. กล่าวว่า กำลังยังไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับงบประมาณที่ยังได้รับน้อยเกินไป ถ้าเป็นไปได้ ขอให้สนับสนุนให้มีงบประมาณ และกำลังที่เพียงพอ เพื่อการป้องกันเหตุร้ายจะได้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ทางคณะติดตามตรวจเยี่ยมและประเมินผล สงขลา 2 สำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังได้ลงพื้นที่ ต.ป่าบอน ต.นาประดู่ และ ต.มกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อตรวจเยี่ยม ชุดคุ้มครองตำบล ( ชคต ) และ ชรบ. และร่วมประชุม พบปะ พูดคุยกับ ผู้นำท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผรส. บัญฑิตอาสา ผู้นำชุมชน เพื่อรับทราบถึงบัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามโครงการ ตำบลสันติธรรม และโครงการพนม โครงการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

สำหรับโครงการสันติธรรม ปรากฏว่า ผู้นำท้องที่ มีความประสงค์ที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับ ตำบลละ 1 ล้านบาท บางส่วนใช้ซื้อกล้อง ซีซีทีวี มาติดตั้งในพื้นที่ เพราะเห็นว่า กล้องซีซีทีวี มีประโยชน์ในการป้องกันเหตุ เนื่องจาก พื้นที่ซึ่งมีแสงสว่าง และมีกล้องซีซีทีวี จะมีปัญหาอาชญากรรม และปัญหาความมั่นคงน้อยกว่าพื้นที่ซึ่งไม่มีกล้องซีซีทีวี  แต่ปัญหาและอุปสรรคคือ  หากนำงบประมาณมาซื้อกล้อง ท้องที่ต้องรับผิดชอบงบประมาณ ในการบำรุงรักษา ซึ่งจะเป็นภาระของ ท้องที่ จึงต้องการให้ ศอ.บต.แก้ปัญหาในจุดดังกล่าว

34.JPG

ในส่วนของปัญหายาเสพติด ผู้นำท้องที่ ได้นำเสนอให้ มีหน่วยงานทำหน้าที่ติดตาม ผู้ที่เข้ารับการบำบัดและกลับมาอยู่บ้าน เพื่อที่จะได้รับทราบปัญหา และความต้องการของผู้ที่ผ่านการบำบัดแล้ว ซึ่งปัจจุบัน ไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงรับผิดชอบ กลายเป็นภาระของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

หลังจากนั้น ได้มีการนำคณะผู้ติดตามประเมินผล ลงพื้นซึ่งมีการปลูกพืชต่างๆ เช่น กล้วยหอมทอง มะพร้าวน้ำหอม และ มะนาวแป้น ตามโครงการพนม ซึ่งได้ผลดี และสร้างความพึงพอใจให้กับคนในพื้นที่ เพราะเป็นการต่อยอดจากอาชีพเดิมของประชาชนที่มีอาชีพในการทำการเกษตรอยู่แล้ว

สำหรับปัญหาในเรื่องของความมั่นคง การจุดชุม ชรบ การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อความมั่นคงในพื้นที่ ทั้ง 3 ตำบล ไม่มีการก่อเหตุของ แนวร่วม เนื่องจาก การร่วมมือ ร่วมใจ ของ ผู้นำท้องที่ ชรบ. และ มีกำลังของ ทหาร ร่วมการตั้งจุดตรวจด้วย

หลังจากนั้น ได้มีการประชุมร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจาก ผู้ทำท้องที่ บัญฑิตอาษา ผู้นำชุมชน และ ปลัดอำเภอ ปลัดผู้รับผิดชอบตำบลต่างๆ  โดยมีนายเศวตร เพชรนุ้ย นายอำเภอโคกโพธิ์ ร่วมประชุมด้วย

36.JPG