ทีม FEDEX นักศึกษา ม.อ. พร้อมเป็นตัวแทนไทยลงแข่ง ACM-ICPC World Finals 2016


ทีม FEDEX นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ทีม CUCP Meow Meow : 3 จากจุฬาฯ ตัวแทนประเทศไทย พร้อมลงแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับโลก ACM-ICPC World Finals 2016 ที่จังหวัดภูเก็ต

PNOHT590517001025110.jpg

ทีม FEDEX นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งประกอบด้วย นายธนาพล อนันตชัยวณิช นายอาริฟ วารัม และ นายณภัทร ว่องพรรณงามภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์ที่ปรึกษาทีม ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ แข่งเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ระดับภาคใต้ ปี 58 เป็นหนึ่งใน 2 ทีมตัวแทนจากประเทศไทยที่จะเข้าร่วมการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับโลก ACM-ICPC World Finals 2016 ที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 15 – 20 พฤษภาคม 2559 โดยสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA ร่วมกับ ม.อ. และบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด โดยมีคู่แข่งเป็นทีมตัวแทนมหาวิทยาลัย 128 ทีม จาก 40 ประเทศ 6 ทวีปทั่วโลก

นายธนาพล อนันตชัยวณิช กล่าวว่า หลังจากชนะเลิศการแข่งระดับภาคใต้ “ทีม FEDEX” ได้ฝึกฝนประสบการณ์โดยหาโจทย์มาทำเพิ่มเติม โดยมี ผศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์ที่ปรึกษาทีม คอยสอนการอ่านทำความเข้าใจกับ การตีโจทย์และวิธีการแก้โจทย์ โดยการนำโจทย์เก่าๆ จากเว็บไซต์ของ ACM ICPC มาฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ร่วมด้วย

ด้าน ผศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์ที่ปรึกษาทีม กล่าวว่า โจทย์ที่ใช้ในการฝึก จะมีการยกตัวอย่าง เล่าเหตุการณ์ และระบุเงื่อนไขต่างๆ และให้เราใช้โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ ให้เราออกแบบวิธีการในการหาคำตอบให้ได้ตามที่เขาต้องการ เช่น ให้เขียนโปรแกรมเส้นทางจากเมืองหนึ่ง ไปยังอีกเมืองหนึ่ง เส้นทางไหนถึงที่หมายได้เร็วที่สุด ซึ่งการแข่งขันจะดูที่เวลาและจำนวนข้อคำถามที่เราทำได้ หากทำได้จำนวนข้อเท่ากัน ทีมที่ทำได้เร็วกว่าจะได้คะแนนมากกว่า  ซึ่งการได้เข้าร่วมแข่งขันในระดับโลก จะทำให้นักศึกษาได้ฝึกความคิดการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้ภาษาในการแก้โจทย์ปัญหา 3 ภาษา ประกอบด้วย JAVA , C และ C++ มีการจัดกระบวนการในการคิดให้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นสามารถพัฒนาความคิดให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องในเวลาอันจำกัดได้

ด้าน ทีม CUCP Meow Meow : 3 ตัวแทนประเทศไทยอีกหนึ่งทีม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนำทีมโดย ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ กล่าวว่า นักศึกษาในทีมเป็นนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ร่วมแข่งขันมา 2- 3 ปี โดยจุดแข็งของทีม คือ ความสามัคคีและการทำงานเป็นทีมของนักศึกษา โดยใช้เวลาซักซ้อมเสมือนจริงทุกสัปดาห์ เป็นเวลาครั้งละ 5 ชั่วโมง ในการแก้โจทย์ปัญหาตามมาตรฐานการแข่งขัน เพื่อให้นักศึกษาได้คุ้นชินเสมือนอยู่ในการแข่งขันจริง ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำให้เต็มที่ สุดความสามารถที่มี

ขณะที่ ทีม University of Wisconsin Madison ตัวแทนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนักศึกษาไทยทั้ง 3 คน ประกอบด้วย นายกฤติศักดิ์ ไชยกุล ชาวจังหวัดสงขลา , นายทรงวงศ์ ทัศนียพันธุ์ ชาวกรุงเทพ และนายอิงครัตน์ รักอำนวยกิจ ชาวจังหวัดบุรีรัมย์ ต่างกล่าวว่า รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้กลับมาแข่งขันคอมพิวเตอร์ระดับโลกในครั้งนี้ที่ประเทศไทย ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นนักศึกษาทุน สสวท. ได้รับทุนการศึกษาโอลิมปิควิชาการจนจบปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่ได้เข้าค่ายร่วมกับ สวทน.ขณะที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และได้ฝึกเทคนิคประสบการณ์ต่างๆ จากการเข้าร่วมการแข่งขันทั้งระดับมหาวิทยาลัย ภูมิภาค มาจนถึงระดับโลกในครั้งนี้

ข้อมูลและที่มา

สุธิดา พฤกษ์อุดม / ข่าว-ภาพ สวท.สงขลา 18 พ.ค.59

PNOHT590517001025107.jpgPNOHT590517001025108.jpg

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
    อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
  • มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า”  ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
    มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก
    มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก