มกุฎราชกุมาร มาเลเซีย เป็นประธานประชุมสื่อมวลชน 3 ประเทศ IMT-GT
ศูนย์ข่าวบ้านเรา.-มกุฎราชกุมาร มาเลเซีย เป็นประธาน ประชุมวิชาการ สื่อมวลชน 3 ประเทศ ตามโครงการ ไอเอ็มจี ทีจี (IMT-GT) ความร่วมมือสามเหลี่มเศรษฐกิจ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ห่วงสื่อโซเชียลนำเสนอข่าวสารที่ขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง
วันที่30 มกราคม 2559 ที่ห้องประชุมชั้น 3 โรงแรม รอยัล พาราไดร์ หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต มกุฎราชกุมาร รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย tuanku syed faizuddin putra ibni tuanku syed sirajudin jamajullail เป็นประธานเปิดการประชุม สื่อมวลชน 3 ประเทศ ตามโครงการ ไอเอ็นจี ทีจี ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตามโครงการความร่วมมือ แลกเปลี่ยน ข่าวสาร ซึ่งสมาคมสื่อมวลชนรัฐเปอร์ลิสประเทศมาเลเซีย สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย และสมาคมสื่อมวลชน เมดาน ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการเซ็น เอ็มโอยู กันไว้ เมื่อปี 2556 เป็นต้นมา
โดย มกุฎราชกุมารแห่งรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ทรงตรัส ว่า การร่วมกันระหว่าง สมาคมสื่อทั้ง 3 ประเทศ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในโลกแห่งข่าวสาร ที่สื่อมวลชนต้องเสนอข่าวให้ครอบคลุม ถูกต้อง และชัดเจน เพราะความรวมเร็ว ถูกต้อง และ ชัดเจนของ ข่าวสาร เป็นสิ่งจำเป็นของประชาชนทุกชนชั้น ในการรับรู้ และใช้ตัดสินใจ การเปิดชุด ตัวแทนสื่อทั้ง 3 ประเทศในวันนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมอง ในด้านวิชาการ ในความท้าทายของสื่อ ออนไลน์ และขอบเขตเสรีภาพของ สื่อ ใน 3 ประเทศ
โดยนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย กล่าวว่าในเวทีการชุมชุม 3 ฝ่ายตอนหนึ่งว่า วันนี้เราไม่สามารถที่จะไปปิดกั้น สื่อภาคประชาสังคมได้ ในขณะนี้สื่อภาคประชาสังคม มีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์คือการทำให้ประชาชนรับรู้ข่าว ในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว แต่โทษคือข่าวที่มาจากภาคประชาสังคม ทางโซเชียลมีเดีย เป็นข่าวที่ไม่มีระบบคัดกรอง เป็นข่าวที่เขียนจากความรู้สึก ความเชื่อ และอาจจะมี เจตนาคติปะปนอยู่ ซึ่งประชาชนผู้เสพสื่อต้องรู้เท่าทัน ในขณะเดียวกันสื่อกระแสหลัก ต้องเป็นหลักในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่มีความน่าเชื่อถือกับประชาชน เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ในขณะเดียวกัน เสรีภาพของสื่อ ต้องมี ขอบเขต ที่ไม่ไปละเมิดบุคคลอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน และต้องไม่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ในขณะที่ตัวแทนสื่อ จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวถึงเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของประเทศอินโดนีเซียว่า ในประเทศอินโดนีเซีย ข่าวที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งคือข่าวทางโซเซียลฯ ซึ่งมีข้อเสียเกิดขึ้น บางข่าวไม่น่าเชื่อถือเหมือนกับหลายประเทศ เพียงแต่อินโดนีเซีย มีกฎหมายที่ชัดเจน ในการจัดการกับ ข่าวที่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และข่าวที่สร้างความแตกแยก หรือข่าวที่”เฮดสปีค” ทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน ประชาชนก็จะตรวจสอบ ข่าว จริง หรือเท็จจาก สื่อหลัก คือ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ โทรทัศน์ ในประเทศ อินโดนีเซีย มีสื่อต่างๆ 1,000 กว่าสื่อ และที่ไม่ได้ ขึ้นทะเบียนอีกจำนวนมาก เนื่องจากเป็นประเทศใหญ่ ที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก
ในขณะที่ตัวแทนสื่อจาก ประเทศมาเลเซีย ได้กล่าวว่า สื่อในสังคมโซเซียลฯ ของประเทศมาเลเซีย ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งข่าวในโลกโซเซียลฯ จะได้รับการตรวจสอบจากสื่อหลัก และหากพบว่าเป็นข่าวสารที่ไม่มีความเป็นจริง สื่อหลักจะนำเสนอเพื่อให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง ซึ่งผู้บริโภคสื่อ แม้จะนิยมการติดตามสื่อภาคประชาสังคม แต่ก็จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสื่อหลัก
ที่ประชุมทางวิชาการ 3 ประเทศ มีข้อสรุปว่า จะมีการพัฒนาองค์กรสื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในทุกด้าน และจะมีการประชุมทางวิชาการ ทั้ง 3 ฝ่าย เพื่อประโยชน์ขององค์กรสื่อ และของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
ทีมข่าวอิสระ รายงาน