อบจ.สงขลา เร่งหารือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าบริหารจัดการศัตรูมะพร้าว “หนอนหัวดำ” พร้อมวางแผนการกำจัดใน 3 ระยะ
อบจ.สงขลา เร่งหารือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าบริหารจัดการศัตรูมะพร้าว “หนอนหัวดำ” พร้อมวางแผนการกำจัดใน 3 ระยะ
วันนี้ (6 พ.ย. 67) นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) พร้อมด้วย นายปรีชัย มาละวรรณโณ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายโยธิน ทองเนื้อแข็ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เขตอำเภอกระแสสินธุ์ นายสมรรถพล หนูนาค นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ช่วยราชการกองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยมี นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา นายไพศอล หะยีสาและ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา นางธนสิดา ช้างนรินทร์ เกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ผู้แทนสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 เกษตรกร เกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ตลอดจนพี่น้องเกษตรกร อาสาเกษตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดการระบาดของหนอนหัวดำมากัดกินใบมะพร้าวในสวนมะพร้าวเขตคาบสมุทรสทิงพระ และเขตอื่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน วันนี้จึงลงพื้นที่เพื่อหารือแนวทาง และวิธีการที่จะยับยั้งหนอนหัวดำร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร พี่น้องเกษตรกร อาสาเกษตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา รวมถึงเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์
“ปัจจุบันจากข้อมูลจังหวัดสงขลามีการปลูกมะพร้าว ประมาณ 20,000 ไร่ และเกิดการระบาดของหนอนหัวดำประมาณ 2,000 ไร่”
โดยในที่ประชุมได้สรุปวิธีกำจัดหนอนหัวดำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมี การใช้แตนเบียน และการบำรุงดูแลรักษาสวน นอกจากนี้ได้ร่วมหารือถึงแผน 3 ระยะในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งประกอบด้วย 1.แผนระยะสั้น/เร่งด่วน ได้แก่ เร่งสำรวจพื้นที่การระบาด , ทำลายและควบคุมด้วยสารเคมี (พื้นที่ระบาดปานกลางและรุนแรง) เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง , เฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการปลูกมะพร้าว และปล่อยแตนเบียนศัตรูธรรมชาติในพื้นที่ที่มีการระบาดน้อยและพื้นที่เฝ้าระวัง 2. แผนระยะปานกลาง ได้แก่ สร้างการรับรู้ศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง , จัดตั้งศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชนในการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ , อบรมให้ความรู้ในการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อบริการชุมชน และรณรงค์การปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติในช่วงก่อนเกิดการระบาด เพื่อลดปริมาณของหนอนหัวดำมะพร้าว 3. แผนระยะยาว ได้แก่ สร้างการรับรู้ศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง , สร้างความเข้มแข็งให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนหรือศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ในการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติและปล่อยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง , จัดทำชุมชนต้นแบบการจัดการศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกรเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ศัตรูพืชได้ในอนาคต รับฟังรายงานสถานการณ์ทั่วไปด้านการระบาดของหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว แผนงานและแนวทางการจัดการ และอภิปราย รับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาด การระบาดทำลาย ตลอดจนให้เกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วม มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) อีกด้วย
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.สงขลาอบจ.สงขลา เร่งหารือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าบริหารจัดการศัตรูมะพร้าว “หนอนหัวดำ” พร้อมวางแผนการกำจัดใน 3 ระยะ
วันนี้ (6 พ.ย. 67) นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) พร้อมด้วย นายปรีชัย มาละวรรณโณ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายโยธิน ทองเนื้อแข็ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เขตอำเภอกระแสสินธุ์ นายสมรรถพล หนูนาค นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ช่วยราชการกองส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา โดยมี นายประถม มุสิกรักษ์ เกษตรจังหวัดสงขลา นายไพศอล หะยีสาและ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา นางธนสิดา ช้างนรินทร์ เกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ผู้แทนสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 เกษตรกร เกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ตลอดจนพี่น้องเกษตรกร อาสาเกษตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ตามที่ได้เกิดการระบาดของหนอนหัวดำมากัดกินใบมะพร้าวในสวนมะพร้าวเขตคาบสมุทรสทิงพระ และเขตอื่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน วันนี้จึงลงพื้นที่เพื่อหารือแนวทาง และวิธีการที่จะยับยั้งหนอนหัวดำร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร พี่น้องเกษตรกร อาสาเกษตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา รวมถึงเกษตรอำเภอกระแสสินธุ์ “ปัจจุบันจากข้อมูลจังหวัดสงขลามีการปลูกมะพร้าว ประมาณ 20,000 ไร่ และเกิดการระบาดของหนอนหัวดำประมาณ 2,000 ไร่” โดยในที่ประชุมได้สรุปวิธีกำจัดหนอนหัวดำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมี การใช้แตนเบียน และการบำรุงดูแลรักษาสวน นอกจากนี้ได้ร่วมหารือถึงแผน 3 ระยะในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งประกอบด้วย 1.แผนระยะสั้น/เร่งด่วน ได้แก่ เร่งสำรวจพื้นที่การระบาด , ทำลายและควบคุมด้วยสารเคมี (พื้นที่ระบาดปานกลางและรุนแรง) เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง , เฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการปลูกมะพร้าว และปล่อยแตนเบียนศัตรูธรรมชาติในพื้นที่ที่มีการระบาดน้อยและพื้นที่เฝ้าระวัง 2. แผนระยะปานกลาง ได้แก่ สร้างการรับรู้ศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง , จัดตั้งศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชนในการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ , อบรมให้ความรู้ในการผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อบริการชุมชน และรณรงค์การปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติในช่วงก่อนเกิดการระบาด เพื่อลดปริมาณของหนอนหัวดำมะพร้าว 3. แผนระยะยาว ได้แก่ สร้างการรับรู้ศัตรูมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง , สร้างความเข้มแข็งให้ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนหรือศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ในการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติและปล่อยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง , จัดทำชุมชนต้นแบบการจัดการศัตรูมะพร้าวแบบผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกรเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ศัตรูพืชได้ในอนาคต รับฟังรายงานสถานการณ์ทั่วไปด้านการระบาดของหนอนหัวดำศัตรูมะพร้าว แผนงานและแนวทางการจัดการ และอภิปราย รับฟังข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาด การระบาดทำลาย ตลอดจนให้เกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วม มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) อีกด้วย
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.สงขลา