ภาคท่องเที่ยวแรงส่งสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจใต้ ปี 61 ขยายตัว แต่ด้านรายได้เกษตรกรยังคงน่าห่วง


4 ก.พ. 2562

ภาคท่องเที่ยวแรงส่งสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจใต้ ปี 61 ขยายตัว แต่ด้านรายได้เกษตรกรยังคงน่าห่วง

007.jpg

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าวสรุปภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ประจำปี 2561 และ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 และแนวโน้ม เผย จากตัวเลขทางเศรษฐกิจในปี 2561 พบว่า เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2560 โดย สาขาเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ยังคงขยายตัว และ เห็นหลายภาคเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น จากปีก่อน อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวใน ครึ่งหลังของปี 2561

ในส่วนของไตรมาส 4 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อย รายได้เกษตรกรที่หดตัวยังกระทบต่อกาลังซื้อผู้บริโภคฐานราก การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากภาคก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ การผลิตในอุตสาหกรรมยางแปรรูป ไม้ยาง และผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป รวมถึงน้ามันปาล์มดิบหดตัว การลงทุนภาครัฐหดตัว ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามราคาพลังงาน และอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลทรงตัว

51484506_2598264616892747_4650472158680580096_n.jpg

วันนี้ (4 ก.พ. 62) ที่ สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ เป็นประธานแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 และแนวโน้ม โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถาบันทางการเงิน และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่ง

51505792_397938367677240_7451121805852409856_n.jpg

เครื่องยนต์สำคัญที่ยังคงเป็นแรงส่งให้ เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัว ได้แก่ การท่องเที่ยว ที่มี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.8 โดยชาวเอเชียเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก ทั้งจาก มาเลเซีย จีน และเอเชียชาติอื่น ๆ อาทิ อินเดีย ฮ่องกง สำหรับนักท่องเที่ยวมาเลเซียในปีนี้กลับมาเร่งตัว หลังจากหดตัวในปี 2560 เนื่องจากมีความเชื่อมั่นทาง เศรษฐกิจมากขึ้นหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา

นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว การใช้จ่ายภาครัฐ ก็ยังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ใน ช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่กลับขยายตัว จากที่เคยหดตัวในปี 2560 โดยขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 9.9 ตามการขยายตัวในหมวดที่ดินและ สิ่งก่อสร้างของหลายหน่วยงานที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่การลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวดี การลงทุน ภาคเอกชนก็ปรับดีขึ้นจากปี 2560 เช่นกัน เห็นได้จาก การขยายตัวในภาคการก่อสร้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น เนื่องจากในปีที่ผ่าน ๆ มา ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนโครงการใหม่ ๆ ทำให้ ที่อยู่อาศัยเหลือขายลดลง จึงเริ่มเห็นการทยอยลงทุนใน โครงการใหม่มากขึ้น และเน้นโครงการที่มีขนาด ไม่ใหญ่มาก

แม้ว่าเศรษฐกิจภาคใต้จะยังมีหลายเครื่องยนต์ ขับเคลื่อนได้ดีในปีนี้ แต่ก็มีเครื่องยนต์สำคัญที่ยังทำงาน  ได้ไม่เต็มที่ อย่างแรกคงหนีไม่พ้นภาคเกษตรกรรมซึ่ง เป็นปัจจัยฉุดรั้งสำคัญอย่างหนึ่งของภาคใต้ในปีนี้ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งขาว หดตัวต่อเนื่องตามผลผลิต ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้รายได้ เกษตรกรหดตัวจากปีก่อนร้อยละ 18.5 ส่งผลให้การ ใช้จ่ายของครัวเรือนปรับดีขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก ปี 2560 ส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อของกลุ่มรายได้ ปานกลางถึงสูงที่ยังคงขยายตัว

นอกจากนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและ การส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจภาคใต้ใน ปี 2560 กลับขยายตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 สาเหตุหลักมาจากการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูปที่ลดลงเนื่องจากการลดลงของปริมาณ วัตถุดิบและการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของ สินค้ากุ้งที่ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าคู่แข่ง รวมถึง การผลิตไม้ยางแปรรูปและผลิตภัณฑ์ลดลงเนื่องจาก มาตรการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของทางการจีนที่ เข้มงวด ส่งผลให้โรงงานไม้ในจีนหลายโรงต้องปิดตัว กระทบต่อความต้องการไม้ยางแปรรูปจากไทย ขณะที่ การผลิตในอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ ได้แก่ ยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง และอาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้นตามความต้องการของคู่ค้าหลักที่มีต่อเนื่อง

008.jpg

จะเห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจภาคใต้ในปี 2561 ทั้งปียังคงขยายตัว แต่เมื่อดูรายละเอียดพบว่าตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดีในครึ่งแรกของปี และเริ่มชะลอตัวในครึ่งหลังของปี 2561 โดยปัจจัยที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงครึ่งหลังมีสองปัจจัยหลัก ปัจจัยแรก คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีน อาทิ เหตุการณ์ เรือนักท่องเที่ยวล่มที่จังหวัดภูเก็ต เหตุการณ์ทำร้ายนักท่องเที่ยวที่สนามบิน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ส่วนปัจจัยที่สอง คือ สงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่แม้จะยังส่งผลกระทบต่อไทยไม่ชัดเจนนัก แต่เริ่มเห็นสัญญาณการลดลงของการผลิตและส่งออกยางพาราแปรรูปจากภาคใต้ไปยังจีนในครึ่งหลังของปี เนื่องจากผู้นำเข้าจีน ไม่มั่นใจในสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้ชะลอการนำเข้ายางพาราแปรรูป และความกังวลจากสงครามการค้า ครั้งนี้ กดดันให้ราคายางพาราอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

ปัจจัยกระทบเศรษฐกิจภาคใต้ที่เริ่มเห็นใน ครึ่งหลังของปี 2561 คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจภาคใต้ในปี 2562 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ ชะลอลงโดยเฉพาะจากด้านอุปทาน ทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมก็คาดว่าจะทรงตัวจากปี 2561 ซึ่งสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะยังส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกยางพาราแปรรูปภาคใต้ อย่างไรก็ดี การผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมอื่น อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและถุงมือยางยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับการผลิตและส่งออกไม้ยางแปรรูปและผลิตภัณฑ์คาดว่าจะปรับดีขึ้นได้ในปี 2562 โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากที่โรงงานในจีนบางส่วนจะสามารถปรับปรุงมาตรฐานตามเกณฑ์และกลับมาเปิดดำเนินการได้

สำหรับการท่องเที่ยวคาดว่าจะชะลอตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและการแข่งขันจากหลายประเทศที่รุนแรงขึ้น ทำให้การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวเกือบทุกสัญชาติชะลอลง

แม้ว่าทางฝั่งอุปทานจะยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่ทางด้านอุปสงค์คาดว่าจะขยายตัว โดยการใช้จ่ายครัวเรือนจะยังขยายตัวได้ ส่วนหนึ่งได้รับแรงส่งจากการใช้จ่ายของกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยยังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำและยังคงกดดันรายได้เกษตรกร รวมถึงรายได้นอกภาคเกษตรที่คาดว่าจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่าครัวเรือนบางส่วนจะได้รับผลดีจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ สำหรับการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคใต้ต่อเนื่องในปี 2562 โดยเฉพาะในภาคก่อสร้าง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีมากขึ้น

ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทั้งภายนอกและภายในประเทศที่จะเข้ามากระทบ จึงทำให้ปี 2562 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่ท้าทายสาหรับเศรษฐกิจภาคใต้

009.jpg51246645_794000760976224_1843156610596208640_n.jpg003.jpg004.jpg005.jpg006.jpg

บทความโดย นางสาวจิดาภา ช่วยพันธุ์ เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย