​กรมส่งเสริมการเกษตร เสนอวิสาหกิจชุมชนเด่น พร้อมรับนายกฯ ลงพื้นที่นราธิวาส


23 ม.ค. 2563

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับจังหวัดนราธิวาส นำเสนอ วิสาหกิจชุมชนดีเด่น เตรียมความพร้อมและต้อนรับการตรวจราชการและประชุม จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2563

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวระหว่างการลงพื้นที่เตรียมความพร้อมและต้อนรับ ในการเดินทางไปตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมการด้านข้อมูลและด้านพื้นที่ที่นายกรัฐมนตรีลงตรวจราชการ จำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 อาคารรื่นอรุณ เทศบายเมืองสุไหโก-ลก วิสาหกิจชุมชนได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์เด่นและผลสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน อาทิ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงแปรรูปพญาระแงะ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะบาโงเปาะเล็ง จุดที่ 2 วัดประชุมชลธารา จัดเตรียมประเด็นโรคใบร่วงยางพารา และจุดที่ 3 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ได้จัดเตรียมข้อมูลความก้าวหน้าการช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามนโนบายรัฐบาล โครงการประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และโครงการตามนโยบายรัฐบาลอื่น ๆ ดังนี้

1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวนาสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562/63 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนจำนวน 5,639 ครัวเรือน พื้นที่ 59,072 ไร่ ธกส. จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว จำนวน 5,368 ครัวเรือน เป็นเงิน 33,315,536.15 บาท

2. โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 และโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/2563 ภาคใต้จะได้รับสิทธิชดเชย ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 31 พฤษภาคม 2563) มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนจำนวน 3,295ครัวเรือน พื้นที่ 16,110.85 ไร่

3. โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว 2562/63 มีการจ่ายเงินให้เกษตรกร จำนวน 10 ราย เป็นเงิน 55,625 บาท

ทั้งนี้ นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วย นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่ เข้าเยี่ยมและติดตามงานส่งเสริมการเกษตร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และได้เน้นย้ำให้ ศพก. และแปลงใหญ่ ผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำอัตลักษณ์ของสินค้ามาเป็นจุดขายให้กับผู้บริโภค นำเทคโนโลยีมาผสมผสาน เรียนรู้และพัฒนาคุณภาพของสินค้าเกษตรให้มีความน่าสนใจ การกระจายสินค้าและจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ จะสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ และขยายผลองค์ความรู้ของเกษตรกรต้นแบบ ให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ปรับใช้ในพื้นที่ต่อไป