​เศรษฐกิจภาคใต้ยังโตชะลอลง ต้นปีนี้มีหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งภัยแล้ง-การท่องเที่ยวซบเซา


5 ก.พ. 2563

แบงค์ชาติภาคใต้ แถลงภาวะเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปี 62 พร้อมมองแนวโน้มต้นปี 63 ชี้มีหลายปัจจัยที่กระทบการเติบโตโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่มีผลจากนักเที่ยวจีนหดหายจากหวัดโคโรน่า การเบิกจ่ายงบประมาณปี 63 ที่ล่าช้าส่งผลให้การลงทุนของรัฐล่าช้าออกไป ห่วงภัยแล้งกระทบต่อภาคการเกษตรค่อนข้างรุนแรงในรอบหลายปี


นายสันติ รังสิยาภรณ์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 และแนวโน้ม โดยภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนธันวาคม 2562 หดตัวใกล้เคียงเดือนก่อน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวในหลายหมวด การใช้จ่ายสอดคล้องกับกำลังซื้อที่ลดลง สะท้อนจากรายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตรที่ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ สาขาเศรษฐกิจสาคัญ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวหดตัวน้อยลง จากภาพรวมเศรษฐกิจต่างประเทศที่เริ่มเห็นสัญญาณปรับดีขึ้นบ้าง ด้านการลงทุนยังคงหดตัวทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน สำหรับภาคเกษตร ผลผลิตหดตัวมากขึ้นจากผลปาล์มน้ำมันที่ลดลงเป็นสำคัญ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับมาขยายตัวตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ขณะที่ อัตราการว่างงาน หลังขจัดปัจจัยฤดูกาลลดลงจากเดือนก่อน โดยรายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวในหลายหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนที่กลับมาหดตัว ตามการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจาวันที่หดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายสินค้าหมวดยานยนต์หดตัวสูง จากการลดลงของรถทุกประเภท สอดคล้องกับกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็งทั้งในและนอกภาคเกษตร แม้ว่ารายได้เกษตรกรจะปรับดีขึ้นในเดือนนี้ จากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการชะลอซื้อรถยนต์เพื่อรอการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี หมวดค่าใช้จ่ายภาคบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยยังขยายตัวได้ใกล้เคียงเดือนก่อน มูลค่าการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวลดลง โดยการผลิตในหมวดยางพาราแปรรูปและอาหารทะเลกระป๋องหดตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าที่คลี่คลายลง

นอกจากนี้ การผลิตไม้ยางและผลิตภัณฑ์กลับมาขยายตัว ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวจากการเร่งส่งออกไม้ยางไปยังตลาดจีนก่อนเทศกาลตรุษจีน อย่างไรก็ตาม การผลิตอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป หดตัวต่อเนื่องตามความต้องการจากต่างประเทศที่ลดลง ด้านการผลิตน้ามันปาล์มดิบหดตัวสูงตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลดลงมาก จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หดตัวน้อยลงจากนักท่องเที่ยวยุโรปที่กลับมาขยายตัว โดยในปีนี้ นักท่องเที่ยวยุโรปเข้ามาท่องเที่ยวช้ากว่าปกติ เนื่องจากฤดูหนาวในยุโรปเริ่มช้ากว่าปกติ จากสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวรัสเซียและอินเดียยังขยายตัวดี อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวมาเลเซียหดตัวจากปัจจัยฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่ นักท่องเที่ยวจีนกลับมาหดตัว เนื่องจากมีการเลื่อนการท่องเที่ยวมาเป็นช่วงตรุษจีนที่ตรงกับเดือนมกราคม 2563 การลงทุนภาคเอกชน หดตัวใกล้เคียงเดือนก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวต่อเนื่อง ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลงของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป รวมทั้งไม้ยางและผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับมูลค่าการจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศที่ยังคงหดตัว ซึ่งสอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ยังไม่ดีนัก อย่างไรก็ดี พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างยังขยายตัวได้

การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่ประกาศใช้ โดยรายจ่ายลงทุนหดตัวเร่งขึ้นตามการเบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างและหมวด เงินอุดหนุนทั่วไปของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ออกนอกระบบ อย่างไรก็ดี รายจ่ายประจาหดตัวน้อยลง ผลผลิตภาคเกษตรหดตัวมากขึ้นตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลดลงมาก ซึ่งเป็นการลดลงตามฤดูกาลปกติ ประกอบกับผลของฐานสูงจากการเหลื่อมฤดูกาลในปีก่อน ขณะเดียวกัน ผลผลิตกุ้งหดตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุโซนร้อนนากรีและโรคตัวแดงดวงขาว อย่างไรก็ดี ผลผลิตผลไม้ขยายตัวดีจากทุเรียนนอกฤดูกาลที่ออกสู่ตลาดมาก ด้านราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน จากทั้งผลผลิตที่ลดลงและความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะการประกาศใช้ไบโอดีเซล B 10 เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐาน ขณะเดียวกัน ราคายางพาราเพิ่มขึ้น จากผลผลิตโดยรวมของโลกลดลงเพราะโรคใบร่วง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวมากขึ้น

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วอยู่ที่ร้อยละ 0.27 กลับมาขยายตัวตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน สำหรับอัตราการว่างงานหลังขจัดปัจจัยฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ลดลงจากเดือนก่อน ตามจำนวนผู้ว่างงานประเภทไม่เคยทางานมาก่อนที่ลดลง ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 เงินฝากคงค้างของสถาบันการเงินขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อน จากทั้งเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวมากขึ้นจากเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ