ชาวบ้าน​นับพันร่วมถกโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ ศอ.บต.ยันพร้อมฟังเสียงหนุน-ค้าน


ชาวบ้าน 3 ตำบลในอำเภอจะนะ นับพันร่วมถกโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ ด้าน ศอ.บต. เตรียมชั่งน้ำหนัก หนุน-ค้าน เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบที่ 4 สร้างงานสร้างอาชีพแก่คนชายแดนใต้

(11 กรกฎาคม 2563) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วยวาจา เกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่โรงเรียนจะนะวิทยา ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา โดยนำประชาชนในพื้นที่ 3 ตำบลและใกล้เคียง ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีส่วนได้เสียในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมก้าวหน้า เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมนำเสนอทิศทางการพัฒนาตามกรอบแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ และนำเสนอแผนการลงทุน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกัน

ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2562 ให้มีการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สู่เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เพื่อยกระดับการพัฒนา 4 อำเภอของ จ.สงขลา (อ.จะนะ นาทวี เทพา และสะบ้าย้อย) โดยยกระดับการพัฒนาเชิงพื้นที่ทั้งระบบ และครบวงจร เพื่อให้มีความเข้มแข็งและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคใต้ตอนล่าง ที่สามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยมุ่งเน้นการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญ

ศอ.บต. จึงมุ่งเปิดรับฟังความเห็น โดยเชิญชวนประชาชนแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา โดยเปิดรับฟังความเห็นหลายช่องทาง ประกอบด้วย เว็บไซต์ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน เว็ปไซต์ ศอ.บต. ส่งหนังสือไปยังสำนักงานจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา อบต.สะกอม นาทับ ตลิ่งชัน และเทศบาลต.นาทับ เพื่อให้ประกาศเชิญชวนประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว

นอกจากนี้ยังรับเปิดรับฟังความเห็นด้วยวาจา โดยจัดเวทีประชุมรับฟังความเห็นในชุมชน พร้อมสร้างการรับรู้แก่ประชาชนผ่านผู้นำชุมชนและบัณฑิตอาสาในพื้นที่ โดยวันนี้ (11 กรกฎาคม 2563) เป็นอีกหนึ่งเวทีรับฟังความเห็น โดยประชาชนสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วยวาจา สำหรับผู้ที่เข้าร่วมเวทีการประชุม และสามารถแสดงความคิดเห็นส่งทางไปรษณีย์ และเครือข่ายสารสนเทศทุกช่องทางข้างต้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

โดย ศอ.บต. จะนำความเห็นไปขับเคลื่อนโครงการให้ได้ผลประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ซึ่งมีการศึกษาผลลัพธ์ ผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และมาตรการป้องกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน พบว่า มีผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพบนบก ทรัพยากรชีวภาพในน้ำ ผลกระทบด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชน ผลกระทบด้านการใช้น้ำ ผลกระทบด้านการใช้ไฟฟ้า และการคมนาคมขนส่ง อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามภาครัฐและเอกชนได้จัดทำโครงการเพื่อรองรับ เป็นมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดในทุกด้านและทุกมิติอย่างรอบคอบทั้งนี้สำหรับข้อห่วงใยส่วนใหญ่ของชาวบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้น รองเลขาธิการ ศอ.บต.

นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่าก่อนสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ ภาคเอกชนจะต้องศึกษา EIA หรือผลกระทบที่จะขึ้นกับสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายธรรมชาติโดยเจตนาและไม่เจตนา ทั้งนี้ภาคเอกชนจะไม่เข้ารุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำกิน เนื่องจาก ดำเนินโครงการในเขตที่ดินของเอกชนทั้งสิ้น ทั้งนี้ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เผยอีกว่า ศอ.บต. ไม่เคยมีเจตจำนงของการทำลายความสุขของประชาชนแม้แต่เพียงเล็กน้อย หากทำแล้วประชาชนอยู่ไม่ดี กินอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขก็อย่าทำ” วันนี้เราต้องพิจารณาปัญหาเรื่อง แรงงานว่างงาน พัฒนาพืชผลทางการเกษตร ก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อยกระดับพี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาชีพ รายได้ การศึกษาและคุณภาพชีวิต

นายชนธัญ แสงพุ่ม กล่าวเพิ่มเติมว่าในส่วนของความคิดเห็นที่แตกต่างในชุมชน มองว่าไม่ว่าจะเป็น ศอ.บต. หน่วยงานรัฐ หรือภาคประชาชน เราเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยกับทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตามวันนี้ถือเป็นการรับฟังความคิดเห็น ที่เป็นแต่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ส่วนที่มีความสำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นการทำรายงานศึกษาผลกระทบ หรือว่าการออกแบบแนวทางบริหารจัดการร่วมกัน อันนี้ที่อยากให้ทุกภาคส่วน ไม่ว่าคนในพื้นที่ หรือตำบลใกล้เคียง หรือพื้นที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิชาการ ฝ่ายภาคเอกชน มาออกแบบ ออกข้อเสนอร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อน เพราะท้ายสุดไม่ว่าจะเป็น NGO คิด ภาคเอกชนคิด ภาคประชาชนคิด หรือศอ.บตคิด ทุกอย่างต้องไปลงที่ประโยชน์ของประชาชนโดยตรง

ซึ่งวันนี้อาจมีคนที่เห็นต่างอยู่ บางส่วนที่อยากเข้ามารับฟังความคิดเห็นโดยตรง แต่บางส่วนต้องเข้าใจว่า พื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนใต้ในอดีตที่ผ่านมา มีความพยายามหลายครั้งที่จะล้มล้างเวที เพื่อไม่ให้สามารถดำเนินการเปิดเผยข้อเท็จจริงของโครงการได้ และไม่สามารถให้โครงการต่างๆที่เป็นโครงการที่ดี และเป็นโครงการพัฒนาชีวิตของประชาชนเดินต่อไปได้ ดังนั้นหากเป็นในแง่ของประชาสังคม ประชาชนหรือ องค์กรสาธารณกุศล หรือ NGO รับฟังและเข้ามาด้วยดี พูดคุยกันอย่างสันติ ทางศอ.บต.ก็ยินดีแต่หากดำเนินการในส่วนของการล้มล้างเวที ก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมือง เข้าไปดำเนินการต่อ

ซึ่งขณะนี้เรากำลังจะจัดเวทีการเสวนา โดยประสานกับส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคส่วนวิชาการเพื่อที่จะออกรูปแบบการทำงานร่วมกัน ซึ่งการออกแบบเพื่อประชาชนให้ได้รับประโยชน์ เราต้องให้ฝ่ายภาคส่วนมาให้ความคิดเห็น สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐเองก็มีจุดยืนของรัฐ เอกชนก็มีจุดยืนของเอกชน ภาคประชาสังคมก็มีจุดยืนของตนเอง ประชาชนก็มีจุดยืนของตัวเอง แต่จะทำอย่างไรที่จะให้ทุกคนวางข้อมูลอยู่ตรงกลาง และสามารถที่จะให้บริหารจัดการข้อมูลเพื่อทุกฝ่ายสามารถเดินร่วมกันได้

ดังนั้นวันนี้เราไม่ได้มารับฟังความเห็นว่า เห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วย เป็นการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเท่านั้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็คงอยู่ในเรื่องของการจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบ อันนี้คือสิ่งที่จะบอกว่าภาคเอกชนที่เสนอมาทั้ง 4 แผน อะไรที่ประชาชนไม่อยากให้ทำ อะไรที่ประชาชนบอกว่าทำได้แต่ต้องมีเงื่อนไข เช่นประชาชนพูดถึงการสร้างท่าเรือ ยอมได้แต่ต้องมีการชดเชยเยียวยาในระยะ 1 ปีเป็นต้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดวันนี้อุตสาหกรรมไม่ได้ดำเนินการตามอำเภอใจได้ ซึ่งอุตสาหกรรมต้องดำเนินการภายใต้ระเบียบมาตรฐานหรือว่า ISO ต่างๆ ดังนั้นการควบคุมตรวจสอบโดยใช้ ISO หรือมาตรฐานทางอุตสาหกรรม จะเป็นตัวตรวจสอบส่วนหนึ่ง ส่วนที่ 2 การจัดพื้นที่อุตสาหกรรมมันควบคุมได้ง่าย วันนี้จะนะก็มีโรงงานอุตสาหกรรมขึ้น ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศใช้ ความสะเปะสะปะของอุตสาหกรรมมันยากต่อการควบคุม ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เป็นปัญหายากกว่าอีก แต่วันนี้ทางศอ.บต.กับภาคเอกชน พยายามบริหารจัดการให้อยู่ในพื้นที่ที่เดียวกัน เพื่อที่จะควบคุมและจะเป็นการลดปัญหาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด เช่นการจัดพื้นที่บ่อบำบัดน้ำเสีย

การจัดพื้นที่ขยะเพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้ง่าย แต่สำคัญกว่านั้น ศอ.บต.กำลังมีแนวคิดให้ข้อเสนอไปทางรัฐบาล นั่นคือการจัดตั้งกรรมการระดับประชาชน ที่จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบความเข้มแข็งภาคเอกชน และมีอำนาจในการกำกับติดตามการทำงานภาคเอกชนทุกอย่างโดยศอ.บต.จะมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งประสานงานกับทางสำนักปลัดสำนักนายก ที่จะทำเรื่องนี้หากประชาชนไปพบเจอสิ่งที่ไม่สบายใจ ก็สามารถแจ้งได้ และเราก็จะได้แก้ไขให้เร็วที่สุด

ซึ่งในวันนี้มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ รวมถึงมีการตรวจกันให้ผู้เข้าร่วมเวทีแสดงความคดเห็นได้เฉพาะผู้อยู่ในพื้นที่ 3 ตำบลที่อยู่ในเขตก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะเท่านั้น

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • แอป Maxim มอบม้านั่งให้กับเทศบาลนครสงขลา สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการท่องเที่ยว
    แอป Maxim มอบม้านั่งให้กับเทศบาลนครสงขลา สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการท่องเที่ยว
  • หาดทิพย์ ติดทำเนียบหุ้น ESG100 เป็นปีที่ 7
    หาดทิพย์ ติดทำเนียบหุ้น ESG100 เป็นปีที่ 7
  • โรงไฟฟ้าจะนะได้รับการรับรอง ISO14001: 2015 และ ISO45001:2018
    โรงไฟฟ้าจะนะได้รับการรับรอง ISO14001: 2015 และ ISO45001:2018
  • มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ พร้อมจัดใหญ่งานไถ่ชีวิตโค 21-30 ก.ค.67
    มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ พร้อมจัดใหญ่งานไถ่ชีวิตโค 21-30 ก.ค.67
  • พาณิชย์-หอการค้าสงขลา ผนึกกำลังจัดงาน SMEs Fair 19-21 ก.ค.ที่ห้างบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า หาดใหญ่
    พาณิชย์-หอการค้าสงขลา ผนึกกำลังจัดงาน SMEs Fair 19-21 ก.ค.ที่ห้างบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า หาดใหญ่
  • แอร์เอเชีย เปิดบิน “สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่” คึกคัก   ตอบรับกระเเสท่องเที่ยวในประเทศพุ่ง
    แอร์เอเชีย เปิดบิน “สุวรรณภูมิ-หาดใหญ่” คึกคัก ตอบรับกระเเสท่องเที่ยวในประเทศพุ่ง
  • มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 หาดใหญ่ ยกโปรฯ ล่องใต้ กู้บ้าน 0% 3 เดือน เงินฝาก 2.25% NPA ลดสูงสุด 60%
    มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 หาดใหญ่ ยกโปรฯ ล่องใต้ กู้บ้าน 0% 3 เดือน เงินฝาก 2.25% NPA ลดสูงสุด 60%
  • แอร์เอเชีย ชวนชาวหาดใหญ่ บินสะดวกกว่าสู่ 2 สนามบิน "ดอนเมือง และ สุวรรณภูมิ" ราคาเที่ยวเดียวเริ่มต้นที่ 990 บาท!
    แอร์เอเชีย ชวนชาวหาดใหญ่ บินสะดวกกว่าสู่ 2 สนามบิน "ดอนเมือง และ สุวรรณภูมิ" ราคาเที่ยวเดียวเริ่มต้นที่ 990 บาท!
  • ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลาจับมือธ.ออมสินภาค 18 ร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
    ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มรภ.สงขลาจับมือธ.ออมสินภาค 18 ร่วมโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
  • ม.อ. ผนึกหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐ-เอกชนจัดงาน SITE2024
    ม.อ. ผนึกหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐ-เอกชนจัดงาน SITE2024
  •  เปอโยต์ ร่วมเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศส จัดงาน ‘VIVE LA FRANCE’ เพิ่ม 3 รุ่นพิเศษ ราคาใหม่ เพิ่มเสน่ห์เร้าใจยิ่งขึ้น
    เปอโยต์ ร่วมเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศส จัดงาน ‘VIVE LA FRANCE’ เพิ่ม 3 รุ่นพิเศษ ราคาใหม่ เพิ่มเสน่ห์เร้าใจยิ่งขึ้น