รฟท.เดินหน้าต่อฟังความเห็นรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา


15 ม.ค. 2559

ศูนย์ข่าวบ้านเรา.- การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้าต่อเนื่องเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา เผยตัวเลขค่าลงทุนโครงการประมาณการเบื้องต้นไว้ที่ 66,934 ล้านบาท

IMG_6440.JPG

วันนี้ (15 ม.ค.59) เวลา 09.30 น. ที่ โรงแรมบีพี แกรนด์ทาวเวอร์ หาดใหญ่  จ.สงขลา การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 งานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อ สร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยมี นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมฯ และมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

สำหรับรถไฟทางคู่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบรางเพื่อขจัดข้อจำกัดในการเดินรถไฟของระบบรางรถไฟเดิม (ทางเดี่ยว) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินรถ  เนื่องจากรถไฟสามารถสวนทางกันได้ ทำให้สามารถเพิ่มขบวนได้ การเดินทางจึงรวดเร็วและตรงต่อเวลา มีความปลอดภัย ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมพื้นฐานอื่นๆ และยังเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

โดยกิจกรรมในครั้งนี้ ก็จะมีการนำเสนอ “ที่ตั้งสถานี ลักษณะและรูปแบบแนวเส้นทาง ของโครงการ” และนำเสนอ”ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ” โดยผู้จัดการโครงการ

IMG_6512.JPG

ในการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ยังมีการเผยถึงตัวเลขการประมาณการเบื้องต้นของการลงทุนในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา สูงถึง 66,934 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ค่าดำเนินการเวนคืน ชดเชยทรัพย์สิน และก่อสร้าง ช่วงสุราษฎร์-หาดใหญ่ ประมาณ 29,620 ล้านบาท และช่วงหาดใหญ่-สงขลา ประมาณ  10,206 ล้านบาท รวมสองช่วงประมาณ 39,826 ล้านบาท และ ค่าจัดเตรียมขบวนรถและหัวลาก (ระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งภาคใต้) ช่วงสุราษฎร์-หาดใหญ่ ประมาณ 21,608 ล้านบาท ช่วงหาดใหญ่-สงขลา ประมาณ 5,500 ล้านบาท รวมทั้งสองช่วงประมาณ 27,108 ล้านบาท 

และมีสรุปเรื่องการออกแบบสถานี ช่วงชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา ระยะทาง 29.61 กิโลเมตร ไว้ว่าจะมีสถานีรถไฟระดับดิน 2 สถานีคือ สถานีตลาดพะวง สถานีน้ำกระจาย มีสถานีรถไฟยกระดับ 5 สถานี ได้แก่ สถานีคลองแห สถานีบ้านเกาะหมี สถานีน้ำน้อย สถานีเขารูปช้าง และสถานีสงขลา

ด้านนายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงการพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงที่มาว่า เมื่อปี 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟในการพัฒนา โครงข่ายระบบรถไฟทางคู่เส้นทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ หลังจากนั้นในปี 2555 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้และความ เหมาะสมในการเร่งรัดพัฒนาระบบโครงการรถไฟทางคู่ภาคใต้ (เส้นทางกรุงเทพฯ-ชุมพร-สุไหงโกลก และปาดังเบซาร์) รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างเร่ง ด่วน และในปี 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้กลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา

IMG_6490.JPG

ทั้งนี้ แนวเส้นทางดังกล่าว มีระยะทางประมาณ 321 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโครงการฯ , จ.นครศรีธรรมราช , จ.พัทลุง และ จ.สงขลา  และได้แบ่งสถานีเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่  ระยะทางประมาณ 292 กิโลเมตร มี 40 สถานี ซึ่งไม่ร่วมสถานีสุราษฎร์ธานี มีที่หยุดรถไฟ 18 แห่ง และช่วงสถานีที่ 2 ช่วงชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร มี 7 สถานี (ไม่รวมสถานีหาดใหญ่)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.surat-hatyai-songkhlarailway.com/

IMG_6462.JPGIMG_6459.JPGIMG_6494.JPGIMG_6448.JPGIMG_6501.JPGIMG_6503.JPGIMG_6506.JPGIMG_6510.JPGIMG_6513.JPGIMG_6514.JPGIMG_6508.JPG