Spallanzani Award อีก 1 รางวัลการันตีความสำเร็จของคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.ในเวทีโลก


Spallanzani Award อีก 1 รางวัลการันตีความสำเร็จของ ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยพิพิทธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.ในเวทีระดับโลก North American Society for Bat Research

PIPAT-01.jpg

เมื่อช่วงวันที่ 12-15 ตุลาคมที่ผ่านมา ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษาสยามบรมราชกุมารี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเชิญให้ไปรับรางวัล Spallanzani Award ที่ทาง North American Society for Bat Research หรือ NASBR เพื่อเป็นเกียรติกับนักวิจัยด้านค้างคาวจากประเทศนอกอเมริกาเหนือที่มีผลงานโดดเด่น โดยมีการเสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัลจากสมาชิก NASBR ทั่วโลก และผ่านการคัดเลือกและตัดสินโดย Selection Committee ผู้ที่รับการพิจารณารับรางวัลนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีประวัติผลงานโดดเด่นตลอดการทำงานทางด้านการพัฒนางานวิจัย มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ที่มีผลต่อวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง รวมถึงการพัฒนาการศึกษา และ/หรือการอนุรักษ์ค้างคาวและนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ NASBR ที่เมือง San Antonio รัฐ Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยในครั้งนี้  ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข ได้เป็นตัวเเทนจากประเทศไทย ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง 'Information rich but conservation poor: How do we conserve bat diversity in the global hotspot of Southeast Asia?' และชี้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมตระหนักถึงการอนุรักษ์ค้างคาวที่ปัจจุบันนักวิจัยค้างคาวส่วนใหญ่เน้นทำงานวิจัยในหัวข้อที่ตนเองสนใจเท่านั้น และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการลงมือทำกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ค้างคาวอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายของค้างคาวสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีภัยคุกคามต่อค้างคาวสูงมากเช่นกัน ทั้งการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ทั้งป่าและถ้ำ การถูกล่ากินเป็นอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นนักวิจัยค้างคาวในภูมิภาคก็ยังมีน้อยมาก จึงไม่สามารถทำงานวิจัยเฉพาะที่ตนสนใจอย่างเดียวได้ ต้องหันมาทำกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ควบคู่กันไปด้วย อย่างไรก็ตามด้วยบุคลากร ทรัพยากรและทุนที่มีอย่างจำกัด จึงทำให้กิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์เหล่านี้ยังไม่เห็นผลมากนัก จำเป็นต้องได้รับการสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีทั้งแหล่งทุน อุปกรณ์วิจัยที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาช่วยกันทำงานวิจัยและผลักดันการอนุรักษ์ให้สำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมา โดยการบรรยายนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมประชุม และคาดหวังว่าจะมีความร่วมมือเพื่อศึกษาและอนุรักษ์ค้างคาวระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

นับว่าเป็นคนที่ 4 จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นคนที่ 2 จากประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลนี้ถัดจาก ผศ.ดร.สาระ บำรุงศรี อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ที่ได้รับรางวัลนี้เมื่อปีค.ศ. 2010 ซึ่งในประวัติที่ผ่านมามีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ได้รับรางวัลซ้ำ 2 คน (ประเทศคิวบา และประเทศไทย) สำหรับในประเทศไทยนักวิจัยที่ได้รับรางวัลซ้อน 2 คน มาจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ซึ่งเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นและความเป็นผู้นำงานวิจัยค้างคาวในประเทศและในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

สำหรับ ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข เป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงในหน้าสื่อมวลชนบ่อย ๆ ในด้่านการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด "สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดแรกคือค้างคาวจมูกหลอดบาลา หรือ Bala Tube-nosed Bat , การค้นพบซากฟอสซิลค้างคาวชนิดใหม่ที่มีชิวิตอยู่เมื่อปลายยุคไพลสโตซีน, การค้นพบพญากระรอกบินลาว หรือ Laotian Giant Flying Squirrel และ การค้นพบค้างคาวแวมไพร์แปลงทองอารีย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักวิจัยที่เชี่ยวชาญทางด้านค้างคาวระดับต้นๆ ในประเทศไทย

PIPAT-02.jpg

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
    อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
  • มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า”  ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
    มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก
    มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก