กฟผ.เตรียมพร้อมรับการหยุดจ่ายก๊าซ 28 ต.ค.–3 พ.ย.ย้ำภาคใต้ต้องเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน


4 ต.ค. 2560

กฟผ. เตรียมมาตรการรองรับแหล่งก๊าซธรรมชาติพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หยุดซ่อมบำรุง 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายนนี้ ขอความร่วมมือชาวภาคใต้ร่วมประหยัดไฟฟ้า พร้อมยืนยันเพื่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้า ยังมีความจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าหลักและต้องสร้างระบบส่งใหม่เพิ่มในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมเน้นย้ำภาคใต้ต้องเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน 

50.jpg
 
(3 ตุลาคม 2560) นายมนตรี ศรีสมอ่อน ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลสื่อมวลชนภาคใต้ ในหัวข้อ “ทิศทางพลังงานไฟฟ้าไทย: กรณีหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA-A18” ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โอกาสนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ กฟผ. ได้เปิดเผยว่า กฟผ. ได้รับการประสานจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2560 รวม 7 วัน เพื่อบำรุงรักษาประจำปี มีผลให้โรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 ไม่สามารถเดินเครื่องได้ โดย กฟผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว

สำหรับมาตรการของ กฟผ. ประกอบด้วย ด้านระบบผลิตไฟฟ้า ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 จากก๊าซธรรมชาติเป็นน้ำมันดีเซล ให้โรงไฟฟ้ากระบี่ใช้น้ำมันเตาเดินเครื่องสนับสนุนบางส่วน รวมทั้งตรวจสอบโรงไฟฟ้าภาคใต้ทั้งหมดให้พร้อมใช้งาน และประสานการไฟฟ้ามาเลเซียขอซื้อไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน ด้านระบบส่งไฟฟ้า และได้ตรวจสอบสายส่งและอุปกรณ์สำคัญในพื้นที่ รวมถึงระบบส่งเชื่อมโยงภาคกลาง-ภาคใต้ให้พร้อมใช้งาน ด้านเชื้อเพลิง ได้สำรองน้ำมันเต็มความสามารถจัดเก็บก่อนเริ่มหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ

“กฟผ. ได้เตรียมทีมงานติดตามสถานการณ์และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด พร้อมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที โดยคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้ในช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติไว้ที่ 2,450 เมกะวัตต์ มีความพร้อมด้านกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าภาคใต้ 2,254 เมกะวัตต์ ในส่วนที่เหลือจะรับไฟฟ้าจากภาคกลาง พร้อมกับต้องขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด เพื่อเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง

47.jpg

ในอนาคตคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้จะเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้น หากภาคใต้มีโรงไฟฟ้าหลักโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และการสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ จากภาคกลางลงสู่ภาคใต้และภายในภาคใต้เพิ่มเช่นสายส่ง 500 กิโลโวลต์จากจ.ประจวบคีรีขันธ์ ผ่านชุมพร. จ.สุราษฎร์ ธานี และเชื่อมโยงไปจ.พังงา จ.ตรัง และเชื่อมโยงถึงจังหวัดตรัง สตูล และจังหวัดสงขลาซึ่งจะช่วยให้เกิดความมั่นคงและลดความเสี่ยงได้ต่อไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับ และไฟฟ้าไม่เพียงพอได้'' ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ กฟผ. กล่าว

โดยในเวทีดังกล่าวยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ พลังงานไฟฟ้า 4.0 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากนายมนูญ ศิริวรรณ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน โดยนายมนูญ ได้กล่าวถึงความจำเป็นของประเทศไทยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยฌแพาะภาคใต้การเติบโตทางเสรษฐกิจและการท่องเที่ยวสูงกว่าภาคอื่นๆ มาก 

การมีโรงไฟฟ้าแห่งใหม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งรัฐบาลและกฟผ.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่เห็นต่างถึงความจำเป็นตรงนี้ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งต้องใช้เวลา 5-7 ปี หากยิ่งล่าช้าต้นทุนก็ยิ่งสูงขึ้นและความเสียงด้านความมั่นคงทางพลังงานก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

ทางด้านนายสุทธิชัย สุขสีเสน พลังงานจังหวัดสงขลา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากไฟฟ้าแล้ว ผู้ใช้รถเอ็นจีวีก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย เพราะก๊าซผลิตได้ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อผุ้ประกอบการที่ใช้รถเอ็นจีวีได้ จึงขอให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือและหันมาใช้น้ำมันแทนในช่วงเวลาดังกล่าว 

46.jpg48.jpg49.jpg51.jpg