​ ม.หาดใหญ่ พาสื่อ ตามรอยแอพฯท่องเที่ยวพัทลุง ภายใต้ชื่อ มาตะเมืองลุง


18 ก.พ. 2562

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดโครงการสานสัมพันธ์สื่อมวลชน ตอน สื่อมวลชนสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล เป็นปีที่ 2 โดยนำคณะสื่อมวลชนในจังหวัดสงขลา พัทลุงและสื่อมวลชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมกิจกรรม ตามรอยแอพฯ มาตะเมืองลุง แอพฯที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง สามารถใช้ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว แพ็คเกจทัวร์ โรงแรมที่พัก รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ของจังหวัด ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ

เมื่อวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่จัดโครงการสานสัมพันธ์สื่อมวลชน ตอน สื่อมวลชนสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล เป็นปีที่ 2 โดยนำคณะสื่อมวลชนในจังหวัดสงขลา พัทลุงและสื่อมวลชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเดินทางท่องเที่ยวและรับประทานอาหารตามรอยแอปพลิเคชั่นท่องเที่ยวเมืองพัทลุง ที่มีชื่อว่า “มาตะเมืองลุง” (Ma-Ta MuangLung ) แอปพลิเคชั่นแนะนำ ที่กิน ที่พักและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นโครงการ "การศึกษาระบบโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ" โดย รองศาสตราจารย์ทัศนีย์ ประธาน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ ดร.คนึงนิตย์ หนูเช็กและคณะทีมวิจัยมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Ma-Ta MuangLung ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองพัทลุง


รศ.ทัศนีย์ ประธาน และ ดร.คนึงนิตย์ หนูเช็ก เปิดเผยว่า สำหรับแอปพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวพัทลุง (Ma-Ta MuangLung ) เป็น โครงการ "การศึกษาระบบโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ" โดยทีมวิจัยได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Ma-Ta MuangLung เพื่อที่จะนำเสนอการท่องเที่ยวเมืองพัทลุงในรูปแบบการทำงานบน Smartphone เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี พร้อมกับเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานประกอบการต่างๆ สำหรับการขยายขอบเขตของการท่องเที่ยวท้องถิ่นให้เพิ่มมากขึ้น


ซึ่งแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” เป็นส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ด้านข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุง ที่ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว แพ็คเกจทัวร์ โรงแรมที่พัก รวมทั้งสถานที่ต่างๆ ของจังหวัด นอกจากนี้ ทางคณะวิจัยได้ถ่ายทอดวิธีการใช้งานและแนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “มาตะ เมืองลุง” ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของจังหวัดเพื่ออัพเดต เพิ่มเติมข้อมูลในแอปพลิเคชั่นดังกล่าวอีกด้วย


ด้านผลตอบรับของแอพก็เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ นักท่องเที่ยวสูงอายุทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจ และชื่นชอบ โมบายแอพพลิเคชั่น "มาตะ เมืองลุง" อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยได้มีพัฒนาและให้ทดลองใช้แอพพลิเคชั่น ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดและประสบการณ์ในการร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดพัทลุง นอกจากนี้ ยังทำให้ได้รับทราบปัญหาและข้อมูลที่มีประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบการวางแผนการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว ทำให้สามารถสร้างเส้นทางท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับบรรยากาศทริปตามรอย แอพ มาตะ เมืองลุงในครั้งนี้ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ดำเนินการตามรอยกันตั้งแต่ พระธาตุวันเขียนบางแก้ว , ไหว้พระสี่มุมเมือง (พัทลุง) , ชมวังเจ้าเมือง (วังเก่า วังใหม่) ,ชมเขาอกทะลุ (สัญลักษณ์ประจำจังหวัด , นาโปแก , หัถกรรมกระจูดวรรณี ,ทะเลน้อย ชมบัวแดง ควายน้ำ , ตลาดป่าไผ่ (สวนไผ่ขวัญใจ) , แกรนแคนยอนบ้านควนน้อย พัทลุง เป็นต้น ตลอดทริปเต็มไปด้วยความสนุกสนานและเป็นกันเอง สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและมิตรภาพที่ดีในการเผยแพร่ ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางวิชาการให้เป็นที่รู้จักต่อไป