​ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมโครงการศึกษาวิจัยแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม


8 ก.ค. 2562

ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. ร่วมโครงการศึกษาวิจัยแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม ให้ความรู้พร้อมร่วมวางแผนและพัฒนาการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

เมื่อวันพุธที่ 4 กรกฎาคม ณ โรงแรมมาริไทม์ ปาร์คแอนด์สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ทีมนักวิจัยจากสถานวิจัยธรณีฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. นำโดย ผศ.ดร.เฮลมุท ดือราสส์ และ ดร.วิภาดา งามสม ลงพื้นที่ให้ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการสำรวจขอบเขตอุทกธรณีวิทยาน้ำบาดาลเฉพาะกรณีศึกษาแหล่งน้ำบาดาลโซดาและแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยในครั้งนี้ได้น้ำงานวิจัยที่ทางนักวิจัยได้ศึกษาแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่สนใจ โดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ท่านสมควร ขันเงิน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมผู้อำนวยการสำนักงานทรัพากรน้ำบาดาล เขต 6 คุณวินัย สามารถ กล่าวรายงาน

ท่านสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนั้น เพื่อต้องการทราบขอบเขตและโครงสร้างทาธรณีวิทยาของแหล่งน้ำพรุเค็มคลองท่อม ถือว่าเป็นที่น่าภูมิใจของประชาชนจังหวัดกระบี่ที่มีบ่อน้ำพรุร้อนเค็มที่เดียวในประเทศไทย โดยในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมกันวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่แห่งนี้อย่างยั่งยืน และยังคงอตัลักษณ์ความเป็นน้ำพรุร้อนเค็มแห่งเดียวของประเทศต่อไป การมีส่วนร่วมของนักวิจัยในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องนี้ดี ที่เราจะทราบถึงขอบเขต โครงสร้าง และกลไกการเกิดน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม เพื่อบริหารจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังยืนต่อไป

สำหรับแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ถือเป็นแหล่งน้ำพรุเค็มธรรมชาติแห่งเเรกของประเทศไทย จำแนกประเภทของน้ำเป็น โซเดียม-คลอไรด์ วัดค่าความเค็มของตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำพรุร้อนธรรมชาติ ประมาณ 21 ส่วนในพันส่วน (ppt) ซึ่งเทียบได้กับคุณภาพน้ำกร่อย ทั้งนี้ค่าความเค็มของน้ำทะเลมีค่าเท่ากับ 35 ppt ดังนั้นแหล่งน้ำดิบ(ระดับตื้น) ซึ่งเติมเข้าสู่ระบบ คือ น้ำกร่อยนอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ทางโครงสร้างและกลไกการเกิดแหล่งน้ำพุร้อนเค็มคลองท่อม สามารถอธิบายด้วยการบูรณาการผลการศึกษาด้านธรณีวิทยา การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ การวิเคราะห์ทางธรณีเคมี และข้อมูลบ่อเจาะท้องถิ่น ดังนี้ มวลน้ำร้อนต้นกำเนิด (น้ำจืด) จากแหล่งกำเนิดระดับลึกเคลื่อนที่ผ่านช่องทางของแนวรอยเลื่อนหรือรอยแตกของชั้นหินภายในพื้นที่ แล้วเข้าสู่ชั้นโครงสร้างทางธรณีวิทยาระดับตื้น ประกอบด้วย ชั้นหินทรายและชั้นหินตะกอน โดยที่ชั้นโครงสร้างทางธรณีวิทยาระดับตื้นนี้ถูกรุกล้ำด้วยน้ำทะเลไว้ก่อนแล้ว ส่งผลให้น้ำบาดาลท้องถิ่นบริเวณนี้มีรถเค็ม ดังนั้นเมื่อมวลน้ำร้อนต้นกำเนิดเคลื่อนตัวมาผสมกับชั้นน้ำบาดาลท้องถิ่นนี้ ก็จะส่งผลให้มวลน้ำร้อนมีรสเค็ม จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้แหล่งน้ำพุร้อนที่มีปรากฏมีรสชาติเค็ม เรียกว่า “น้ำพรุร้อนเค็ม"

ผศ.ดร.เฮลมุท ดือราสส์ และทีมนักวิจัย ได้ให้ความคิดเห็นว่า แหล่งน้ำพรุร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ถือว่าเป็นแหล่งน้ำพรุร้อนเค็มแห่งเดียวในประเทศไทย นับว่าเป็นมรดกที่สำคัญกับชาวกระบี่ การให้ความรู้ทางด้านธรณีฟิสิกส์ เพื่อให้ประชาชนและเอกชนในพื้นที่ได้เข้าใจธรรมชาติของน้ำพรุร้อนเค็ม แห่งนี้ เพื่อบริหารจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังยืนต่อไป ในอนาคตทางนักวิจัยจะต้องศึกษา ขอบเขต โครงสร้างเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ต่อไป ต้องขอขอบคุณกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่ให้ความสนใจสนับสนุนการสำรวจเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคตกับประเทศไทย