​วช.พบนักวิจัยภาคใต้ ประชุมวิชาการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ


13 ธ.ค. 2562

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคใต้ จัดการประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2562 เน้นย้ำส่งเสริมงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยมีนักวิชาการและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วภาคใต้ ร่วมประชุมกว่า 200 คน


(13 ธ.ค.62) ณ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 โรงแรมลีการ์เดนส์ พลาซ๋า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้เครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคใต้ จัดการประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2562 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้เกียรติประธานในพิธีเปิด โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา กล่าวรายงาน พร้อมด้วยท่านรองประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการฯ นางสาวจินตนาภา โสภน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ข่ายและลูกข่าย อาจารย์ นักวิจัย ครู นักเรียน เครือข่ายสถาบันมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการต่างๆ และสื่อมวลชนเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดให้มีการลงนามความร่วมมือด้านมาตรฐานการวิจัยและมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาค:ภาคใต้(network) และมหาวิทยาลัยแม่ข่าย(nodes) ทั้งสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำให้มีกิจกรรมต่อเนื่องที่ส่งเสริมและขยายผลต่อยอดในการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในด้านการดำเนินงาน ESPReL Checklist 7 องค์ประกอบของสถาบันแม่ข่าย(nodes) และลูกข่าย(sub nodes) เพิ่มขึ้นในระดับภูมิภาค: ภาคใต้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม 2561 เครือข่ายวิจัยภูมิภาคด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฎิบัติการ ได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง วช. กับ สถาบันการศึกษาลูกข่าย(Sub nodes) ทั้ง 10 สถาบันในภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

เพื่อให้เกิดกลไกความร่วมมือที่ต่อยอดขยายผลต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับได้จัดให้มีการประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น โดยมีหัวข้อการบรรยายพิเศษและการนำเสนอผลงานจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ให้กับนักวิจัย นักวิชาการและคณาจารย์ที่เดินทางมาร่วมประชุมกว่า 200 คน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงให้ได้มากที่สุด และสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคใต้


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง มีรองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา