ม.ทักษิณ ร่วมหารือขับเคลื่อนการดำเนินงานสิทธิมนุษยชนในจังหวัดและชุมชน


10 ก.พ. 2563

ม.ทักษิณ ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมหารือขับเคลื่อนการดำเนินงานสิทธิมนุษยชนในจังหวัดและชุมชน มุ่งขยายแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม


เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 มหาวิทยาลัยทักษิณ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ชำนิ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ดวงจันทร์ รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารและกิจการนิสิต สงขลา , อาจารย์ ศรุต จุ๋ยมณี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ สงขลา และ รองศาตราจารย์ กรกฎ ทองขะโชค คณบดีคณะนิติศาสตร์ ร่วมต้อนรับและหารือกับคณะผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม นำโดยนายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสิทธิมนุษยชนในจังหวัดและชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในจังหวัดและชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ตระหนักต่อการเคารพสิทธิไม่ละเมิดสิทธิและไม่ละเมิดกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิลดลงและสังคมมีความสุขขึ้น ณ ห้องประชุมทองหลาง 1 อาคาร 7 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดขลา โดยฝ่ายนิติการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ดำเนินการประสานงานการหารือในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. การส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562-2565) 10 ด้าน 12 กลุ่มเป้าหมาย สู่การปฏิบัติในพื้นที่ระดับจังหวัดสู่ชุมชน

2. แนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน สู่การปฏิบัติในพื้นที่

3. การขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พ.ศ. 2562

4. การขับเคลื่อนหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษา/การจัดฝึกอบรมต่าง ๆ

5. การช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาและการคุ้มครองพยานในคดีอาญา

มหาวิทยาลัยทักษิณ มุ่งมั่นจัดการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการชองชุมชนและสังคม มีความพร้อมในระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สร้างพลังร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาทั่วทั้งองค์กร ในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ภายใต้ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน กล่าวคือด้านการผลิตบัณฑิต, ด้านการวิจัย, ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม, ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมมีภารกิจสําคัญในการขับเคลื่อน การดําเนินงานด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ทั้งมิติส่งเสริมป้องกัน คุ้มครองเยียวยาและการสร้างหลักประกัน ต้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสิทธิมนุษยชน โดยมีเครื่องมือและกลไกสําคัญในการดําเนินงาน เช่น แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน ในคดีอาญา พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 รวมถึงกติการะหว่างประเทศและ อนุสัญญาต้านสิทธิมนุษยชน จํานวน 5 ฉบับ ในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการทํางานและเป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ และ สิทธิมนุษยชน ตระหนักต่อการเคารพสิทธิไม่ละเมิดสิทธิและไม่ละเมิดกฎหมาย ซึ่งจะทําให้ปัญหาการละเมิดสิทธิลตลงและสังคมมีความสงบสุข