ม.อ. ดึง 7 พีเอ็มยู ร่วมเวทีเสวนาเตรียมความพร้อมขอทุนวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัย PSU Research Expo 2020


14 ก.พ. 2563

ม.อ. ดึง 7 พีเอ็มยู ร่วมเวทีเสวนาเตรียมความพร้อมขอทุนวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัย PSU Research Expo 2020


(14 ก.พ. 2563) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงานมหกรรมงานวิจัย PSU Research Expo 2020 เพื่อบูรณาการวิจัยระหว่างนักวิจัยทั้งภายใน ม.อ.เอง และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในภาคใต้ รวมทั้งผลงานวิจัยที่นำมาจัดแสดงกว่า 50 ผลงาน

สำหรับงานในครั้งนี้ซึ่งเป็นแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับการจัดงาน PSU Research Expo ประเด็นที่น่าสนใจและเป็นไฮไลต์ของงานอยู่ที่การเสวนาพิเศษเรื่อง “การปรับตัวและเตรียมความพร้อมของนักวิจัยเพื่อขอทุนวิจัยของประเทศ” จาก 7 หน่วยสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และอีก 3 หน่วยบริหารและจัดการทุนในระบบ ววน.ที่ดำเนินการภายใต้ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) และหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นอกจากนั้นยังมีการประชุมกลุ่มย่อยตามแพลทฟอร์มที่สำคัญของประเทศทั้ง 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1.การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายสังคม 3.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน และ 4.การวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยกว่า 50 ผลงาน เรียกได้ว่ามางานเดียวได้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการวิจัยแบบครบวงจรเลยทีเดียว

ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล ศรีชนะ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ม.สงขลานครินทร์ โต้โผใหญ่ของการจัดงานครั้งนี้ เปิดเผยว่า “เป็นครั้งแรกของม.อ.ที่ได้มีโอกาสรวมพลคนวิจัยมาอยู่ในงานเดียวกัน ทั้งแหล่งทุนและนักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในกระบวนการขอรับทุนและแนวทางงานวิจัยที่จะรับทุนจากแหล่งทุนต่าง ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ อยากเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักวิจัยกับแหล่งทุน ซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยเข้ามาอยู่ภายใต้กระทรวงใหม่ คือ อว. แน่นอนว่าแนวนโยบายของการขับเคลื่อนงานวิจัยก็มีการปรับเปลี่ยน ก็มาดูว่าในวันนั้น 7 แหล่งทุนพีเอ็มยู จะมีแนวทางในการให้ทุนอย่างไร รวมไปถึงการเปิดเวทีย่อย ๆ ตามแพลตฟอร์มของประเทศทั้ง 4 แพลตฟอร์มสำคัญ เพื่อบูรณาการวิจัยระหว่างนักวิจัยทั้งภายใน ม.อ.เอง และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในภาคใต้ รวมทั้งผลงานวิจัยที่นำมาจัดแสดงกว่า 50 ผลงาน และจะเกิดประโยชน์กับนักวิจัยเป็นอย่างมาก ก็อยากเชิญชวน อาจารย์ นักวิจัยทั้งในม.อ. และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ