​“เกษตร” มรภ.สงขลา ลงพื้นที่จัดอบรมทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ ให้เกษตรกรบ้านควนเนียง ต.พะตง


คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา สนองความต้องการของชุมชน ลงพื้นที่หมู่ 3 บ้านควนเนียง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จัดอบรม “การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รุ่นที่ 1” ส่งเสริมเกษตรกรใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อยอดสร้างโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่ เสริมรายได้จากการปลูกพืช

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รุ่นที่ 1” ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ณ หมู่ที่ 3 บ้านควนเนียง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วิทยากรโดย ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา โดยก่อนหน้านี้กลุ่มเกษตรได้เห็นโพสต์ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ที่มีการไลฟ์สดจัดอบรมทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรสำหรับการเสริมรายได้จากการปลูกพืช จึงเกิดความสนใจที่จะเข้ารับการอบรมในเรื่องดังกล่าว ประกอบกับกลุ่มเกษตรกรมีความประสงค์จะสร้างโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านควนเนียง จึงอยากให้ทางคณะฯ ไปจัดในอบรมให้ความรู้แก่คนในพื้นที่

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เป็นการเพิ่มทักษะอาชีพการทำเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในลักษณะโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่องเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ใน ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้ยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้สูงขึ้น อันจะส่งผลให้ความเป็นอยู่ของครัวเรือนดีขึ้น และชุมชนมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้กิจกรรมเกิดอย่างต่อเนื่องและการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเป็นวิสาหกิจชุมชนเป็นรูปธรรมมากขึ้น จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลิตทางการเกษตร มีการเสริมรายได้จากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในนาอินทรีย์ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเสริมรายได้ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการจำหน่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 081-5996675

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย สร้างสรรค์สิ่งทอและแฟชั่นจากทุนวัฒนธรรม
    สถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย สร้างสรรค์สิ่งทอและแฟชั่นจากทุนวัฒนธรรม
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เจ้าภาพจัดแข่งขันเกมธุรกิจจำลองระดับชาติ  เวทีพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้นำธุรกิจ
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เจ้าภาพจัดแข่งขันเกมธุรกิจจำลองระดับชาติ เวทีพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้นำธุรกิจ
  • อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
    อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”