​ม.ทักษิณ มุ่งอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ


วันนี้ 21 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม : การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง พร้อมร่วมปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ณ แปลงสาธิตการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

สำหรับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม : การอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ และศูนย์เรียนรู้การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ ภายใต้ระบบ BCG จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานรักษาและต่อยอดการพัฒนามะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยเทคโนโลยี DNA และการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกดาหลา และส้มจุกให้เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้สำหรับอนุรักษ์พันธุ์พืชของจังหวัดพัทลุง ผ่านศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นผู้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีกิจกรรมประกอบด้วย

การบรรยายทางวิชาการ “การปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี DNA” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศิวเรศ อารีกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ จำนวน 350 ต้น ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ต้นพันธุ์จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธนาคารพันธุกรรมมะพร้าว KU-BEDO Coconut BioBank มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การปลูกดาหลา จำนวน 20 ต้น การปลูกส้มจุก จำนวน 50 ต้น กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้บริหารของหน่วยงานระดับจังหวัด เกษตรอำเภอ เกษตรกร คณาจารย์นิสิต และผู้สนใจ ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย สร้างสรรค์สิ่งทอและแฟชั่นจากทุนวัฒนธรรม
    สถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ ร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย สร้างสรรค์สิ่งทอและแฟชั่นจากทุนวัฒนธรรม
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เจ้าภาพจัดแข่งขันเกมธุรกิจจำลองระดับชาติ  เวทีพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้นำธุรกิจ
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เจ้าภาพจัดแข่งขันเกมธุรกิจจำลองระดับชาติ เวทีพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเป็นผู้นำธุรกิจ
  • อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
    อนุบาลพลวิทยา เปิดรับสมัครนักเรียนอนุบาล ประจำปีการศึกษา 2568 แล้วววจ้า
  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”