​คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานีเปิดเวทีวิชาการความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน


8 มิ.ย. 2566

คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานีเปิดเวทีวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน

คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับ หน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน จัดประชุมมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย และนานาชาติ ในหัวข้อความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคนระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในระบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจากH.E. Jyri Järviahoเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษเรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเวทีวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10และนานาชาติ ครั้งที่ 6ในหัวข้อ ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคนระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566โดยมีนักวิชาการทางการศึกษาหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน ร่วม 500กว่าคน นำเสนองานวิจัยทั้งหมด 178 ผลงาน ประกอบด้วย 164 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 14 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเพื่อเป็นเวทีระดับชาติและนานาชาติ ในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาอย่างยั่งยืนและเสมอภาคโดยมีผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมกล่าวรายงานโดยรศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและกล่าวต้อนรับรับโดย ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานีและปาฐกถาพิเศษโดย H.E. Jyri Järviahoเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย เรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย

รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวว่า
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศร่วม 30 หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10และนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The National and International Conference on Education 2023 (NICE)ในประเด็น ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน : Cultivating Sustainable and Equitable Education for All” ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมเซ็นทารา หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในระบบออนไลน์เพื่อรวบรวมนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาในอาเซียนและทั่วโลก ในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อความร่วมมือในอนาคต การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การศึกษาที่เท่าเทียมของประเทศฟินแลนด์โดย H.E. Jyri Järviahoเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ตลอดทั้งสามวันโดยมีเจ้าภาพร่วมจาก 19 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 20 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมีผลงานวิจัยทั้งหมดมี 178 ผลงาน ประกอบด้วย 164 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 14 ผลงานสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

รศ.ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 10และนานาชาติ ครั้งที่ 6 “ความงอกงามทางการศึกษาที่ยั่งยืนและเสมอภาคสำหรับทุกคน” ในครั้งนี้มีหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพร่วมจาก 19 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับชาติ และ 20 สถาบันสำหรับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม , สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย , ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา , ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี , ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 , College of Education and Human Development, University of Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา , College of Education, University of Illinois Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา ,Amity Institute of Education, Amity University Uttar Pradesh ประเทศอินเดีย , Management and Science University ประเทศมาเลเซีย , Universitas Negeri Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย , Faculty of Education, Universiti Malaya ประเทศมาเลเซีย , Faculty of Human Development, Sultan Idris Education University ประเทศมาเลเซีย , School of Educational Studies, Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย , School of Education, College of Arts and Science, Universiti Utara Malaysia ประเทศมาเลเซีย , Faculty of Education, Universita Negeri Malang ประเทศอินโดนีเซีย , Postgraduate School, Universitas Negeri Medan ประเทศอินโดนีเซีย , วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา , คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช , คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี