“เกษตร” มรภ.สงขลา จับมือนักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์ สร้างเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์


คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จับมือนักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์ พัฒนาเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน ลดต้นทุนเกษตรกร เตรียมต่อยอดสั่งการผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ และประยุกต์ใช้กับการให้อาหารสัตว์ชนิดอื่น


นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ที่มีทีมคณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ อาจารย์ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ ผศ.สบาย ตันไทย รศ.นฤมล อัศวเกศมณี และ ผศ.ณิศา มาชู ร่วมให้คำแนะนำปรึกษา ได้ร่วมกับ นายณัฐพล ราชูภิมนต์ นักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พัฒนาเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากชุมชนเกษตรพอเพียงอยู่ดี มีสุข ประจำปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมเกษตรผสมผสานเพื่อเสริมรายได้ (เกษตรผสมผสานเกาะแต้ว) ลงพื้นที่เกาะแต้ว หมู่ 6 และ หมู่ 7 ดำเนินการสาธิตและติดตั้งเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับสมาชิกและผู้ที่สนใจ


อาจารย์ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า เครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้งานในราคาประหยัด โดยใช้เทคโนโลยีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่นับวันยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาในด้านแรงงาน ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารเวลาเพื่อทำงานอื่นๆ ในรอบวันได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังสามารถเป็นตัวอย่างต้นแบบให้ผู้ที่สนใจนำไปพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป ตอบโจทย์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทอย่างมากในงานด้านการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์การให้อาหารให้ทำได้ง่ายขึ้น และมีราคาต้นทุนที่ถูกลง จึงเป็นทางออกเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาบางประการในงานทางด้านการเพาะเลี้ยงปลา เช่น ปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงานในการเลี้ยงปลา ปัญหาในด้านปริมาณการให้อาหารปลาที่มากหรือน้อยจนเกินไป จนทำให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งน้ำอาจจะเกิดการเน่าเสียจากการที่ให้อาหารปลาในปริมาณที่มากเกินไปจนปลากินอาหารไม่หมด


ด้าน นายณัฐพล ราชูภิมนต์ นักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวว่า หลักการทำงานของเครื่องให้อาหารสำเร็จรูปแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะใช้แหล่งพลังงานจากแผ่นโซล่าเซลล์ขนาดเล็กเพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ ขับเคลื่อนมอเตอร์รอบต่ำขนาดขนาดเล็ก เพื่อจ่ายอาหารเป็นเวลาตามที่กำหนดผ่านตัวตั้งเวลา ภายใต้ต้นทุนประมาณ 2,000 บาท ซึ่งอาจจะพัฒนาเพิ่มเติมโดยให้สั่งการผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย จึงน่าจะตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นสำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการให้อาหารสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย



เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
    OR เติมเต็มโอกาสด้านการศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนเรียนดี จ.สงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
  • ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
    ประมวลภาพกิจกรรมวันฮาโลวีนที่โรงเรียนพลวิทยา!
  • คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
    คณะวิทยาการจัดการ ม.อ. เชิญชวนนักศึกษาร่วมแข่งขัน Thailand MBS Competition 2025 ระดับชาติ เสริมทักษะธุรกิจพร้อมชิงรางวัล
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ต้อนรับการยางฯ สาขาเบตง ศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านกาแฟ
  • มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช  จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
    มรภ.สงขลา ให้ความรู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืช จุดประกายนักเรียน รร.สาธิต สู่นักวิทยาศาสตร์น้อย
  • มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มรภ.สงขลา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
    มรภ.สงขลา เปิดบ้านประชุมเครือข่ายความร่วมมือ 7 สถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฯ
  • มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย :   ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
    มรภ.สงขลา ร่วมเวทีสาธารณะ “จากปฏิบัติการพื้นที่ สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น”
  • มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า”  ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
    มรภ.สงขลา จัดกิจกรรม “แต่งไทยไปทอดน่องท่องเมืองเก่า” ขานรับ Soft Power เพิ่มศักยภาพชุมชน บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
  • มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก
    มรภ.สงขลา พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษประชาชนเมืองสงขลาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขับเคลื่อนเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก
  • “เกษตร” มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.นํ้าน้อย  ติดตามผลดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
    “เกษตร” มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.นํ้าน้อย ติดตามผลดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก