ม.อ.ให้ความรู้ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่ควรระวัง


29 พ.ย. 2561

ม.อ.ให้ความรู้ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ที่ควรระวัง

การส่งข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในโทรศัพท์มือถือ การแชร์ การเขียนโดยการประชดประชัน ความเผอเรอ จากความเครียด จากอารมณ์ อาจส่งผลร้ายโดยไม่รู้ตัว ทั้งจำคุกทั้งถูกปรับ

กองการเจ้าหน้าที่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย คณะกรรมการ 5 ส.และวิชาการ  ให้ความรู้กับบุคลากร ของมหาวิทยาลัย เรื่องพระราชบัญญัติความผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มงคล มาลยารม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฏหมาย และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561  มีข้อที่ควรระวังในการเขียนและส่งข้อมูลในคอมพิวเตอร์ดังนี้

1.การเขียนเล่นๆทางFace book ทางกฎหมายถือว่าเป็นแสดงเจตจำนง  เพราะในfacebook มีการระบุชื่อ ผู้โพสต์   ทั้งที่อาจกระเซ้า เย้าแหย่ ประชด ประชัน เช่น การยกเลิกหนี้สินให้   คนอื่นอาจจะรู้หรือไม่ รู้ หรือผู้รู้กฎหมาย ชี้แนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายของตน

ดังตัวอย่าง คำพิพากษา ฎีฏาที่ 6757/260 ข้อความที่โจทย์ส่งถึงจำเลยทาง facebook มีใจความว่า เงินทั้งหมดจำนวน 670,000 บาท นั้น จำเลยไม่ต้องส่งคืนให้โจทก์แล้ว และไม่ต้องส่งดอกเบี้ยอะไรมาให้อีก โจทก์ยกให้ทั้งหมด จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว ทั้งที่เจ้าหนี้โพสต์ โดยไม่มีเจตนาระงับหนี้ แต่ได้กระทำไปเพราะเครียดและต้องการประชด ประชัน

ข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางfacebook แม้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความของโจทก์ทางfacebook ก็จะปรากฎชื่อของผู้ส่งด้วย และโจทย์ยอมรับว่าได้ส่งข้อความทางfacebook จริง ข้อความสนทนาใน facebook รับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย หนี้ตามสัญญาจึงระงับ

2 การคอมเมนท์ในfacebook  การแชท ในคอมพิวเตอร์ ถือเป็นความผิด คดีหมิ่นประมาทซึ่งหน้า  เป็นภาษากฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องประจันหน้ากันจริงๆ

จากคำพิพากษาฎีกาที่3529/2547 ผู้เสียหายถูกบุคคลนิรนาม โพสต์ถ้อยคำซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทลงในอินเตอร์เน็ต ผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับตำรวจเพื่อสืบหา IPและค้นหาตัวผู้กระทำผิด จนรู้ตัวผู้ว่าเป็นใคร และในที่สุดศาลก็ได้ตัดสินว่าบุคคลนั้นมีความผิดในคดีหมิ่นประมาททางอาญา มาตรา 328 จำนวน 5 กระทง จำคุกกระทงละ 3 เดือน ปรับกระทงละ 10,000 บาท รวมจำคุก 15 เดือน ปรับ 50,000 บาท

3.การส่งเมลล์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ที่ผู้รับไม่สามารถแจ้งยกเลิกหรือปฎิเสธได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท  

ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฎิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000บาท

4.การแชร์ต่อ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเสียหายต่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ ของประเทศชาติ

การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมทั้งหมดหรือบางส่วน  โดยประการที่จะน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน  น่าจะเกิดความเสียหายในทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน มีความผิดตามมาตรา 5 ต้องระวางคุก ทั้งจำทั้งปรับ

5.ผู้ใดดักรับฟังข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่มีประโยชน์เพื่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ใดได้ใช้ประโยชน์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.การนำเข้าข้อมูลที่มีภาพลามก อันอาจเข้าถึงประชาชนทั่วไปมีความผิด ( การส่งส่วนตัวไม่เป็นไร) แต่ถ้าส่งแล้วแชร์ต่อในfacebook หรือไลน์กลุ่ม มีความผิด  ต่อ พ.ร.บการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทีมีลักษณะลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนอาจเข้าถึงได้

7.กรณีโพสต์ดูหมิ่นหรือตัดต่อภาพผู้ตาย ทำให้ญาติ สามี บุตร อับอาย ถูกเกลียดชัง เสียหาย มีความผิดต้องระวางโทษ

8.การตัดต่อภาพ ทำให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่น ได้รับความอับอาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน   ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร สามารถฟ้องร้องได้

            ผู้ช่วยศาสตราจารย์มงคล มาลยารม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย ยังให้ความรู้กฎหมายใหม่เรื่องการค้ำประกันว่า ปัจจุบันผู้ค้ำประกันรับผิดชอบเฉพาะวงเงินจำกัดที่ระบุใว้ในสัญญาอย่างชัดเจน ไม่ต้องรับผิดชอบแทนผู้ที่เราค้ำประกันทั้งหมด เหมือนในอดีต

large_computer_law2018.jpg