ส่องมาตรการแบงก์ชาติ ช่วยวิกฤติ COVID-19 ( ตอนที่ 3) สินเชื่อธุรกิจ


15 เม.ย. 2563

ส่องมาตรการแบงก์ชาติ ช่วยวิกฤติ COVID-19 ( ตอนที่ 3) สินเชื่อธุรกิจ ผู้เขียนบทความ น.ส.หทัยชนก อนันต์ทวีวัฒน์

เมื่อพูดถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว สภาวะวิกฤตเช่นนี้ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ เมื่อกรุงเทพและปริมณฑล และอีกหลายจังหวัดทยอยปิดเมืองและพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า สนามมวย ร้านเสริมสวย สถานบันเทิง และกิจการให้บริการต่างๆ ยิ่งทำให้ภาค ธุรกิจได้รับผลกระทบจากมรสุมนี้เป็นอย่างมาก

เริ่มตั้งแต่ 28 ก.พ. 63 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือ SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ โดยเป็นการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม ลดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม พักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปได้ และ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่องจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รวม 6 ประเภท

ในตอนที่แล้วเราได้พูดถึงมาตรการสินเชื่อไปแล้ว 5 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และสินเชื่อบ้าน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสินเชื่อรายย่อย สำหรับในตอนที่ 3 ของบทความชุด “ส่องมาตรการแบงก์ชาติ ช่วยวิกฤต COVID-19” นี้ เราจะพูดถึงการช่วยเหลือสินเชื่อประเภทที่ 6 คือ สินเชื่อธุรกิจ SMEsรวมถึง ไมโครไฟแนนซ์1 และ นาโนไฟแนนซ์2 ซึ่งมาตรการนี้

มีแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท ด้วยการพักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามสถานการณ์ของแต่ละราย มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน และ มีผลตั้งแต่งวดการชำระวันที่ 1 เม.ย.63 โดยสถาบันการเงินสามารถพิจารณาเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสมของลูกหนี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SMEs มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานหลักของประเทศ ล่าสุด ธปท. ร่วมกับกระทรวงการคลัง ได้ออกมาตรการพิเศษเพิ่มเติมมาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับ SMEs เพื่อเยียวยาธุรกิจและรักษาการจ้างงาน แบ่งเป็น 2 มาตรการ ดังนี

จากมาตรการในช่วงแรกจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs มากขึ้นจากเดิมทั้งการขยายระยะเวลาผ่อนชำระและพักทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเลยทีเดียว และสำหรับธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีปัญหาสภาพคล่องในช่วงนี้ก็ควรจ่ายชำระหนี้ตาม ปกติหรือตามความสามารถ ซึ่งจะช่วยให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องที่จะไปดูแลธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อสถาบันการเงินที่ท่านใช้บริการเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมโดยตรง หรือ เข้าไปเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งรวบรวมมาตรการให้ความช่วยเหลือของทุกสถาบันการเงินไว้ในที่เดียวได้ที่ www.bot.or.th คลิกที่ “สถาบันการเงิน” และ “มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และข้อมูลสถาบันการเงินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19” หรือ คลิกลิ้งค์ https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/COVID19/Pages/default.aspx

สำหรับในตอนถัดไปจะเล่าถึงมาตรการแบงก์ชาติเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ลงทุนและตลาดการเงินในสถานการณ์ COVID-19 โปรดติดตามบทความชุด “ส่องมาตรการแบงก์ชาติ ช่วยวิกฤต COVID-19” ในตอนหน้า

______________________________________________________________________________________________

ผู้เขียน หทัยชนก อนันต์ทวีวัฒน์
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคค
จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย