10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย ช่วงค่ำวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 “ดาวศุกร์สว่างที่สุด” ครั้งแรกของปีนี้

ปรากฏสว่างเด่นทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 21:09 น.

สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ 


นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร.

เผยว่า ในช่วงค่ำวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 19:00 น. ถึง 21:09 น.

ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุด คาดว่ามีค่าอันดับความสว่างปรากฏมากถึง -4.6 (ดวงจันทร์เต็มดวง

มีค่าอันดับความสว่างปรากฏ -12) หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ดาวศุกร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวคล้าย

ดวงจันทร์ นอกจากนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวยังมีดาวเรกูลัสเคียงดาวอังคารปรากฏเหนือดาวศุกร์ขึ้นไปอีกด้วย

หากทัศนวิสัยท้องฟ้าดีสามารถชมได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนทั่วประเทศ 




ดาวศุกร์สว่างที่สุด (The Greatest Brilliancy)

คือช่วงที่ดาวศุกร์โคจรห่างจากโลกในระยะที่เหมาะสม และมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่

จึงปรากฏสว่างมากบนท้องฟ้า สำหรับในช่วงอื่น แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยว

ที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ที่ห่างจากโลก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย 

การที่เราเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวอยู่เสมอ เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 ถัดจากดาวพุธ

โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้กว่าโลก จึงไม่สามารถเห็นดาวศุกร์สว่างเต็มดวงได้ เพราะจะปรากฏสว่างเต็มดวง

เมื่ออยู่หลังดวงอาทิตย์ ดังนั้น คนบนโลกจึงมองเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยวอยู่เสมอ

ความหนาบางของเสี้ยวแตกต่างกันไปในแต่ละตำแหน่งของวงโคจร

และปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ได้มากที่สุด 47.8 องศา

เราจึงสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นหรือหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น

ไม่เคยปรากฏอยู่กลางท้องฟ้าหรือในช่วงเวลาดึก 

ทั้งนี้ หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประจำเมือง”

หากเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันออกในช่วงเช้ามืด คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประกายพรึก” 




ในปี 2566 นี้ ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุด 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ช่วงหัวค่ำ ในวันที่ 10 กรกฎาคม

2566 ปรากฏสว่างเด่น เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันตก

หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณ 21:09 น. และ ครั้งที่ 2 ช่วงเช้ามืด ในวันที่ 18 กันยายน 2566

ปรากฏสว่างเด่น เห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า

ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 03:25 น. จนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า


งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250

E-mail: pr@narit.or.th Website : www.narit.or.th

Facebook: www.facebook.com/NARITpage, Twitter: @NARIT_Thailand,

Instagram: @NARIT_Thailand, TikTok: NARIT_Thailand

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
    แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
  • สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
    สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
  • สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
    สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
  • สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
    สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
  • สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
    สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
  • สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
    สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
  • ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่
    ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่