บทความน่ารู้จาก ธปท.ใต้ เรื่อง ทำไมต้องใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบ ชิปการ์ด


ทำไมต้องใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบ “ชิปการ์ด”

โดย นายวิศรุต ตระกูลวีระยุทธ ผู้วิเคราะห์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย

000.jpg

เมื่อกล่าวถึงอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปัญหาของการสกิมมิ่ง (Skimming) คงจะเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันอย่างดีสำหรับคนไทย จากการที่สื่อมวลชนในบ้านเราได้เผยแพร่ข่าวคราวของแก๊งสกิมเมอร์อยู่เรื่อย ๆ ใน

กรณีแรก คือ การคัดลอกข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตของผู้ถือบัตรคนไทย และนำไปถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ซึ่งกรณีนี้จะกระทบผู้ถือบัตรคนไทยโดยตรง แต่ธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบเงินที่ถูกถอนออกไปอย่างครบถ้วน หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ถือบัตร ในปัจจุบันเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที หลายธนาคารได้เริ่มใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบการทุจริต หรือที่เรียกว่า Fraud Monitoring System ซึ่งเป็นการตรวจจับลักษณะการทำธุรกรรมที่เข้าข่ายน่าสงสัยว่าทุจริต เช่น การถอนเงินถี่ ๆ หรือการถอนเงินในสถานที่แปลก ๆ โดยระบบนี้มีขึ้นก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและสอบถามยืนยันจากผู้ถือบัตรก่อนที่จะอายัดบัตร เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพทำรายการต่อไปได้

กรณีที่สอง คือ การที่แก๊งสกิมเมอร์คัดลอกข้อมูลบัตรเอทีเอ็มจากต่างประเทศ แล้วนำมาถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มในประเทศไทย ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาก็มีข่าวของแก๊งชาวโรมาเนียนำบัตรเอทีเอ็มปลอมตระเวนถอนเงินทั่วพื้นที่ อ.บางใหญ่   จ.นนทบุรี จากนั้นก็จะโอนเงินกลับประเทศ หรือกรณีแก๊งชาวยูเครนที่คัดลอกข้อมูลเจ้าของบัตรในสหรัฐฯ ใส่ลงในบัตรปลอม แล้วบินมาถอนเงินในประเทศไทย ซึ่งธนาคารเจ้าของตู้เอทีเอ็มพบว่ามีการตระเวนถอนเงินแบบผิดสังเกต จึงแจ้งเจ้าหน้าที่วางแผนจับกุมได้ เป็นต้น แม้ว่าในกรณีที่สองนี้จะไม่มีผลกระทบกับผู้ถือบัตรคนไทยโดยตรง แต่ท่านผู้อ่านก็ต้องพึงระวังภัยทางการเงินให้ดี และช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตาให้กับบ้านเมืองครับ สำหรับเหตุผลที่กลุ่มมิจฉาชีพเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ในการทำสกิมมิ่งก็เพราะสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเหตุผลแรก คือ ประเทศไทยมีตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมาก ทั้งในอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ ปั๊มน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ และเหตุผลที่สอง คือ ประเทศไทยเข้าง่ายออกง่าย โดยเฉพาะหากเป็นการอยู่อาศัยเพียงระยะสั้น ๆ ชาวต่างชาติหลายประเทศสามารถเข้ามาได้แบบไม่ต้องใช้วีซ่า ทำให้การตรวจสอบข้อมูลการเข้าออกอาจมีไม่มากพอนั่นเองครับ

ปัจจุบันบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตที่ใช้งานอยู่ในไทยส่วนใหญ่จะมีแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe) อยู่ด้านหลังบัตรเพื่อใช้เก็บข้อมูล ซึ่งจะถูกอ่านด้วยเครื่องอ่านแถบแม่เหล็กเมื่อผู้ถือบัตรทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งแถบแม่เหล็กนี้เองจะทำให้เกิดช่องโหว่ในการทำสกิมมิ่งได้ โดยเครื่องมือที่พวกมิจฉาชีพนิยมใช้เพื่อขโมยข้อมูลจากบัตร คือ เครื่องอ่านการ์ด (Skimmer) ซึ่งจะไปติดตั้งที่ตู้เอทีเอ็มที่คนไม่พลุกพล่านเพื่อป้องกันการถูกจับระหว่างติดตั้ง พร้อมกับติดกล้องขนาดจิ๋วเพื่อแอบถ่ายข้อมูลรหัสบัตร หรือบางกรณีอาจใช้แป้นกดรหัสปลอมเพื่อเก็บรหัสบัตรของเหยื่อ

จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และช่วยแก้ปัญหาการปลอมแปลงบัตร (Counterfeit card fraud) ที่เกิดจากช่องโหว่ของบัตรแถบแม่เหล็ก ซึ่งอาจถูกโจรกรรมข้อมูลเพื่อนำไปทำบัตรปลอมและใช้ถอนเงิน ทำให้ในช่วงปี 2556 คณะกรรมการระบบการชำระเงินหรือ กรช. จึงได้กำหนดนโยบายให้ธนาคารพาณิชย์เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตของไทยจากแถบแม่เหล็กให้เป็นชิปการ์ด (Chip Card) ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2559 ที่ผ่านมา โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญตาม Timeline ต่อไปนี้

0003.jpg

นอกจากนี้การนำมาตรฐานชิปการ์ดเข้ามาใช้ในประเทศไทย ก็ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาต่อยอดบริการชำระเงิน เพราะเป็นการช่วยส่งเสริมให้การใช้ e-Payment มีความแพร่หลายมากขึ้น และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ของภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ cashless society ซึ่งนับได้ว่าเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านการชำระเงินของประเทศ และถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของประเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของบริการด้านการชำระเงินของประเทศไทยครับ

ข้อควรทราบ: ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่ไม่มีบัตรเอทีเอ็มแบบชิปการ์ดให้บริการ มีเฉพาะบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด หากท่านต้องการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ด ท่านจะต้องเปลี่ยนเป็นบัตรเดบิตแทน ดังนั้นก่อนที่ท่านจะขอเปลี่ยนบัตรให้สอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารให้แน่ชัดว่าเป็นบัตรประเภทที่ท่านต้องการ เพราะธนาคารจะมีบัตรเดบิตให้เลือกหลายแบบ ซึ่งจะมีบริการและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น หากบัตรเดบิตมีการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ค่าธรรมเนียมรายปีจะสูงกว่าบัตรแบบธรรมดาที่ใช้ในการฝากถอนเงินเพียงอย่างเดียว เป็นต้น

0002.jpg1213.jpg

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
    แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
  • สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
    สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
  • สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
    สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
  • สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
    สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
  • สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
    สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
  • สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
    สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
  • 10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
    10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
  • ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่
    ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่