สาระน่ารู้ทางการเงิน สรุป พร้อมเพย์ โอนเงิน – รับเงินรูปแบบใหม่ ฟรีค่าธรรมเนียม
พร้อมเพย์ คืออะไร
พร้อมเพย์ เป็นบริการทางเลือกใหม่ให้ประชาชน ธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในการโอนเงิน และรับเงิน เป็นบริการเพิ่มจากการโอนเงินแบบเดิม ที่ให้ประชาชนเลือกใช้ได้และทําให้ผู้ใช้มีความ สะดวกมากขึ้นเพราะระบบพร้อมเพย์จะใช้เลขประจําตัวประชาชน หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือของ ผู้รับเงินแทนได้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการจดจํา จากเดิมที่ต้องรู้เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารจึงจะโอนเงินให้ได้
พร้อมเพย์จึงเป็นบริการทางเลือกให้กับประชาชน โดยทุกคนไม่จําเป็นต้องมาลงทะเบียน แต่ผู้ที่ มีการโอนเงินรับเงินบ่อยๆ ควรมาลงทะเบียนใช้พร้อมเพย์ เพราะจะได้รับประโยชน์จาก
ค่าธรรมเนียมที่ถูกลงมาก
ประโยชน์ของพร้อมเพย์ต่อภาคประชาชน
ประหยัดกว่าเดิม
ผู้โอน – ค่าธรรมเนียมการโอนเงินถูกลงกว่าการโอนเงินรูปแบบเดิม และหากโอนไม่เกิน 5,000 บาทจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม คนที่ต้องโอนเงินต่างธนาคาร โอนเงินข้ามจังหวัด หรือโอนเงินบ่อยครั้งจะได้ประโยชน์มาก
ประโยชน์ของพร้อมเพย์ต่อประเทศ
ลดต้นทุนให้ระบบการเงินของประเทศไทย – ลดการพึ่งพาเงินสด ลดค่าใช้จ่ายใน การบริหารจัดการและพิมพ์ธนบัตรของประเทศเป็นก้าวแรกของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) – เตรียมความพร้อมให้คนไทยก้าวไปสู่ระบบการเงินยุคดิจิทัล เช่น การจ่ายเงินสวัสดิการผ่านช่องทางพร้อมเพย์ ทําให้ประชาชนได้รับเงินรวดเร็วและทั่วถึง
ประโยชน์ของพร้อมเพย์ต่อภาคธุรกิจ
- สร้างโอกาสให้การค้าขายผ่านระบบอีคอมเมอร์ซ (e-Commerce) แบบครบวงจร
- เพิ่มความสะดวกในการทําธุรกิจ – ลูกค้าสามารถชําระเงินได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นและเสีย
- ค่าธรรมเนียมถูกลง
ความปลอดภัยของระบบพร้อมเพย์
ระบบพร้อมเพย์มีการดูแลความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการลงทะเบียนที่รัดกุม การพัฒนาระบบกลางที่มั่นคงปลอดภัย และการใช้งานของประชาชนผู้โอนเงินอย่างถูกต้อง
ลงทะเบียนรัดกุม : ธนาคารจะมีการตรวจสอบตัวตนของลูกค้าและความเป็นเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถืออย่างรัดกุม นอกจากนี้ ธปท. ได้กําชับให้ธนาคารปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดในการรับลงทะเบียนพร้อมเพย์ ซึ่งได้ออกไป เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.59 เพื่อให้การลงทะเบียนมีความปลอดภัย เป็นมาตรฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน รวมทั้ง ธปท. มีการตรวจสอบขั้นตอนและควบคุมดูแลระบบการลงทะเบียนพร้อมเพย์เป็นการเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจในความมั่นคงปลอดภัยและความพร้อมใช้งาน
ระบบกลางมั่นคงปลอดภัย : พร้อมเพย์เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบโอนเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จึงมีความปลอดภัยไม่ด้อยไปกว่า บริการโอนเงินในปัจจุบัน เป็นระบบที่เชื่อมระหว่างธนาคารกับผู้ให้บริการระบบกลางพร้อมเพย์ ของประเทศ คือ บริษัท NITMX1 จึงเป็นระบบปิดที่มีการดูแลรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล คนภายนอกไม่สามารถต่อเข้ากับระบบนี้ผ่านช่องทาง Internet ทั่วไปได้ และ ธปท. ได้ติดตามดูแลการพัฒนา ระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย
นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมการรองรับในด้านความปลอดภัย รวมถึงการดูแลระบบสารสนเทศ (IT) ในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานความถูกต้อง ความพร้อมใช้ของระบบ การดูแลการเข้าถึงข้อมูล การสํารองข้อมูล และการมีแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน
ระบบกลางของพร้อมเพย์ ได้ถูกออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการชําระเงิน และเป็นผู้พัฒนาระบบการชําระเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับบริการพร้อมเพย์ในประเทศไทย ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และสิงคโปร์ โดยมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ระดับสากล และยังมีระบบติดตามและป้องกันการทุจริตเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการระบบกลาง ได้ให้บริการในระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามมาตรฐาน ISO-27001 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการตรวจสอบประเมินความปลอดภัยจาก หน่วยงานภายนอกที่ได้รับการรับรองอีกชั้นหนึ่ง
ประชาชนโอนเงินอย่างถูกต้อง :นอกเหนือจากความปลอดภัยของระบบกลางแล้ว ได้มีการออกแบบความปลอดภัยในส่วนของกระบวนการ เข้าใช้งาน กล่าวคือ ผู้ใช้บริการที่ทุกธนาคาร จะต้องมีการใส่เลขรหัสหรือ Password และมีการยืนยัน รายการก่อนทําการโอนทุกครั้ง
การสมัครพร้อมเพย์
ผู้ใช้ต้องมาลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีที่มีอยู่กับธนาคารนั้นเข้ากับเลขประจำตัวประชาชน หรือ หมายเลข โทรศัพท์มือถือ โดยธนาคารจะมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ว่าเป็นเจ้าของตัวจริง ไม่มีการปลอมแปลงเพื่อดูแล ความปลอดภัยให้ประชาชน และหลังจากลงทะเบียนแล้วธนาคารจะมีการแจ้งยืนยันว่าผ่านการลงทะเบียน หรือไม่ โดยสามารถสมัครผ่าน 4 ช่องทาง คือ ตู้ ATM, Mobile Banking, Internet Banking และสาขาธนาคาร โดยประชาชนสามารถมาลงทะเบียนเมื่อไหร่ก็ได้ ตามความสะดวกและความพร้อมของประชาชน
สําหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากธนาคารหลายบัญชี ไม่จำเป็นต้องนํามาลงทะเบียนพร้อมเพย์ทุกบัญชี แต่อาจเลือกบัญชีใดบัญชีหนึ่งไว้สำหรับรับเงินด้วยพร้อมเพย์ก็ได้ (ตัวอย่างกรณีนาย ก) หรือในกรณีอยากใช้พร้อมเพย์กับหลายบัญชี ก็สามารถเลือกผูกเลขประจําตัวประชาชนกับบัญชีที่ 1 และผูก หมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีที่ 2 ก็ได้ (ตัวอย่างกรณีนาย ข และนาย ค) และต้องระวังว่าหมายเลข เดียวกันผูกซ้ำเกินกว่า 1 บัญชีไม่ได้
ตัวอย่างการผูกบัญชี
การใช้บริการพร้อมเพย์
สามารถโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ตามช่องทางต่างๆ ของธนาคาร คือ ตู้ ATM, Mobile Banking, และ Internet Banking ซึ่งลูกค้าต้องมีรหัส Username / Password หรือมีบัตรและรหัส ATM จึงจะสามารถ ใช้บริการได้
ผู้โอนต้องทําอย่างไรบ้าง
- ผู้โอนไม่จําเป็นต้องผูกบัญชีเงินฝากที่จะใช้โอนเงินกับพร้อมเพย์
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจําตัวประชาชนของผู้รับเงิน
- ตรวจชื่อผู้รับเงินและจํานวนเงินให้ถูกต้องก่อนโอนทุกครั้ง
ผู้รับต้องทําอย่างไรบ้าง
- ผูกบัญชีเงินฝากเข้ากับพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขประจําตัวประชาชน
- แจ้งหมายเลขที่ใช้ผูกกับบัญชีพร้อมเพย์กับผู้โอน
ข้อควรปฏิบัติของประชาชนในการใช้บริการพร้อมเพย์
- จดจําและรักษารหัสที่ใช้ในการทําธุรกรรมให้เป็นความลับ เช่น Password และ Username เข้าสู่ Internet Banking และ Mobile Banking หรือรหัสบัตร ATM
- ตรวจชื่อผู้รับและจํานวนเงินก่อนยืนยันการโอนทุกครั้ง
- แจ้งธนาคารทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขที่ บัญชีเงินฝากที่ผูกเข้ากับบริการพร้อมเพย์
เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มักมีสาเหตุจากการหลอกลวงโดยบุคคล ไม่ใช่ความผิดพลาดจากระบบ จึงต้องระมัดระวังกลโกงต่างๆ ให้ดี เช่น การหลอกให้โอนเงิน หรือ หลอกขอข้อมูลรหัส Username / Password
การดูแลลูกค้าของธนาคาร
ธนาคารมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบต่อลูกค้าพร้อมเพย์เช่นเดียวกับการดูแลลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking, Internet Banking หรือ ATM ของธนาคาร ซึ่งในปัจจุบันธนาคารมีกระบวนการดูแลลูกค้าอยู่แล้วในกรณีที่เกิดความผิดพลาด ปัญหาหรือข้อโต้แย้งต่าง ๆ เช่น กรณีบัตรเครดิตหายหรือโอนเงินทาง ATM ผิด ลูกค้าสามารถโทรมาแจ้งที่ Call Center ของธนาคารซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาดูแลช่วยเหลือในรายละเอียด นอกจากนั้น ธนาคารยังมีหน้าที่ต้องดูแลให้ลูกค้าได้รับทราบข้อมูลการใช้บริการที่ครบถ้วนถูกต้อง และมีความเข้าใจก่อนการตัดสินใจใช้บริการด้วย
กฎหมายรองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
e-Payment ได้ให้บริการมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีกฎหมายรองรับ คือ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.ฎ. ควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนั้น มีประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำหนดในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งผู้ให้บริการพร้อมเพย์ ทั้งธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการ Switching (NITMX) ต้องปฏิบัติตาม ในส่วนของ ธปท. ได้ออกแนวนโยบายและมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ในการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้มาตรฐานสากลในการกํากับดูแล