ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ด้วย มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน


ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ด้วย “มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน”

001.jpg

ปัจจุบันประชาชนมีการทำธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า “e-Payment” เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากช่องทางโทรศัพท์มือถือ หรือทางอินเทอร์เน็ต และนอกจากการทำธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว หน่วยงานราชการ หรือภาคเอกชน ผู้ให้บริการด้านการค้าต่างๆ ได้มีการประยุกต์นำ QR Code มาเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ตอบสนองต่อยุคดิจิทัล ที่ประชาชนนิยมใช้โทรศัพท์มือถือในการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกรรมต่างๆ

 

QR Code หรือ Quick Response Code เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก Barcode เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าและหลากหลายรูปแบบกว่า อีกทั้งจากพฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จึงได้มีการพัฒนา QR Code เพื่อเป็นการโอนเงิน การชำระค่าสินค้า และการใช้บริการต่างๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีผู้ให้บริการทางการเงินหลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งต่างมีการพัฒนา QR Code เพื่อการชำระเงินของตนเอง

QR1.jpg

ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว จึงมีการพัฒนา “มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน” ที่ลูกค้าทุกธนาคารสามารถใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการได้ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรต่างๆ ได้แก่ American Express, JCB International (Thailand), Mastercard, UnionPay International และ VISA พร้อมทั้งผู้ให้บริการทางการเงินในไทย ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สภาสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมการค้าผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท National ITMX จำกัด และบริษัท Thai Payment Network จำกัด ซึ่งจะช่วยเสริมต่อแนวทางการพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Payment ในมิติต่าง ๆ และถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้สังคมไทยก้าวสู่ สังคมไร้เงินสด” หรือ “Cashless Society”

 

ประโยชน์ที่สำคัญในของการใช้มาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน คือ

(1) เป็นมาตรฐานกลางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและใช้งานร่วมกันได้ ทั้งรายการชำระเงินในประเทศและต่างประเทศ ร้านค้ามี QR Code เดียว สามารถรับชำระเงินผ่านช่องทางที่หลากหลายจากลูกค้าได้ อาทิ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัญชี e-Wallet หรือ บัญชีเงินฝากธนาคาร

(2) เป็นการเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและมีต้นทุนต่ำให้แก่ประชาชนและร้านค้า

(3) เป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการชำระเงิน เจ้าของบัตรไม่ต้องให้บัตรหรือข้อมูลบนบัตรแก่ร้านค้า และระบบงานที่รองรับเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจึงมีความปลอดภัย

(4) สามารถต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายได้ เป็นรากฐานสำคัญของร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะเก็บข้อมูลการรับชำระเงินอย่างเป็นระบบ เพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ในหลายด้านรวมถึงการขอสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินในหลายประเทศได้เริ่มให้สินเชื่อโดยใช้ข้อมูลชำระเงินเป็นข้อมูลอ้างอิง (Information based lending) แทนการใช้สินทรัพย์ถาวรเป็นหลักประกัน

การชำระเงินด้วย QR Code มีลักษณะ 2 ประเภท คือ แบบ Static ซึ่งจะเป็น QR Code รูปแบบเดียวไม่มีเปลี่ยนแปลง สามารถติดไว้ที่ร้านค้าได้ตลอด จนกว่าจะมีการเปลี่ยนข้อมูลชำระเงิน โดยลูกค้าจะเป็นผู้ใส่จำนวนเงินเอง

และแบบ Dynamic ซึ่ง QR Code จะเปลี่ยนไปตามรายการชำระเงิน เช่น การระบุราคาสินค้าในแต่ละรายการ โดยลูกค้าไม่ต้องใส่จำนวนเงิน กรณีนี้ QR Code จะถูกสร้างขึ้นจาก mobile application ของร้านค้าในแต่ละรายการ

QR8.jpg

ปัจจุบันมี 5 ธนาคาร ที่เปิดให้ใช้บริการแล้ว (จากทั้งหมด 8 รายที่อยู่ในการทดสอบ Regulatory Sandbox)  ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน โดยได้ผ่านการทดสอบครอบคลุมประเด็นการพิจารณาในด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารความเสี่ยง การคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัย การเตรียมสาขาและ call center ของธนาคาร ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ Mobile Application ของธนาคารที่ได้รับอนุญาตสแกน QR Code มาตรฐาน ที่ร้านค้าเพื่อชำระเงินได้ทันที สำหรับร้านค้าที่ต้องการมี QR Code เพื่อรับการชำระเงินสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันการเงินโดยตรง เนื่องจากสถาบันการเงินจะเป็นผู้สร้าง QR Code ให้และอาจมีเงื่อนไขการให้บริการอื่นๆ แตกต่างกันไปตามที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด

1213.jpg

ผู้จัดทำ : นางสาวญาณิศรา ศตะรัต

 

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
    แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
  • สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
    สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
  • สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
    สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
  • สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
    สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
  • สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
    สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
  • สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
    สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
  • 10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
    10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
  • ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่
    ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่