ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนพฤศจิกายน 2561


6 ธ.ค. 2561

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนพฤศจิกายน 2561

ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงของความสุขโดยรวมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

006.jpg

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านภาวการณ์ทางสังคม เดือนพฤศจิกายน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ด้านภาวการณ์ทางสังคมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม

ดัชนีความเชื่อมั่นด้านภาวการณ์ทางสังคมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ความสุขในการดำเนินชีวิต ความมั่นคงในอาชีพ การแก้ปัญหายาเสพติด และเสถียรภาพทางการเมือง โดยมีปัจจัยบวกจากนโยบายของรัฐบาลที่ช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญ โครงการช่วยเหลือเกษตรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน และโครงการบ้านล้านหลัง ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้ผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งความชัดเจนของการเลือกตั้งที่ได้มีการรับสมัคร ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าความสุขในการดำเนินชีวิต และฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 35.60 และ 30.50 ตามลำดับ นอกจากนี้ การแก้ปัญหายาเสพติด และเสถียรภาพทางการเมืองดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 35.80 และปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อความสุขในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันมากที่สุด คือ ราคาพืชผลทางการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 32.70 รองลงมา คือ ค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 24.50