​มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID 19 ระยะที่ 2 (บทความการเงิน)


20 ก.ค. 2563

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ที่เริ่มระบาดมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 62 และยาวนานมาจนถึงปี 63 ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน

ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการต่างๆมาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะแรก ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ. 63 ซึ่งตอนนี้มาตรการการให้ความช่วยเหลือในระยะแรกได้ครบกำหนดไปแล้วเมื่อสิ้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา แต่จนถึงปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนที่สูงมาก

และยังคงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติม บทความฉบับนี้จะมาอัพเดทมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ระยะที่ 2

สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 นี้ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญโดยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

ทั้งนี้การช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำข้างต้นจะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จึงไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และในกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะชำระหนี้ก่อนกำหนด จะต้องไม่มีการคิดค่าเบี้ยปรับ (prepayment fee)

นอกจากนี้หากลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามมาตรการขั้นต่ำได้ ให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs จะมีการขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 นี้ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ลดภาระหนี้และโอกาสการผิดนัดชาระหนี้ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินมีการประเมินความ สามารถในการชาระหนี้ของลูกหนี้ และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อเสนอทางเลือกในการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างเหมาะสม และเกิดความมั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดการให้ความช่วยเหลือแล้ว จะไม่ทำให้ภาระหนี้ของลูกหนี้เพิ่มสูงขึ้นจนไม่สามารถชำระหนี้ได้

ผู้เขียน อารียา ยวงทอง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคใต้

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จําเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย