​ปลดล็อกกัญชา ปลดล็อกการเข้าถึงของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง


10 พ.ค. 2566

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “กัญชา” อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน แต่ในสมัยก่อนกัญชายังขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ จนกระทั่งวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อกกัญชาออกจากทะเบียนยาเสพติดประเภทที่ 5 อย่างเป็นทางการ โดยให้เน้นใช้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้ในที่สาธารณะ ด้วยเหตุนี้เองส่งผลให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง สามารถเข้าถึงกัญชาได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษาโรคต่าง ๆ แต่นอกเหนือจากประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว การปลดล็อกกัญชายังมีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อยด้านการประกอบอาชีพอีกมากมายทีเดียว

กัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ในประเทศไทย แท้จริงแล้วได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยระบุไว้ในตำราการแพทย์แต่โบราณมาแล้วหลายสำนัก แม้จวบจนกระทั่งปัจจุบันประโยชน์จากการใช้กัญชาทางการแพทย์ก็ยังมีอยู่มากมายเป็นโอกาสให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางเข้าถึงได้ โดยเป็นไปเพื่อการรักษาโรคและบรรเทาอาการปวดจากโรคต่าง ๆ

ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ กัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ สามารถรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้มากมาย อาทิ

รักษาผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง การใช้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน ส่วนหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งมักพบในกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากมีการใช้ยาฆ่าแมลงหรือยากำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ ซึ่งกัญชาสามารถลดอาการข้างเคียงในส่วนนี้ได้

รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ด้วยสรรพคุณของกัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการการปวดเฉียบพลันจากกล้ามเนื้อเกร็งได้

โรคลมชักที่รักษายาก และผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา มีงานวิจัยได้ระบุไว้ว่าสาร CBD ในกัญชา สามารถรักษาผู้ป่วยโรคลมชักได้ รวมถึงแม้ผู้ที่มีอาการดื้อยา โดยรักษาได้มากถึง 44% เลยทีเดียว

โรคพาร์กินสัน ในกัญชามีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ หากผู้ป่วยโรคนี้ใช้น้ำมันกัญชา 2-5 หยดต่อวัน ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ซึ่งมีผลต่อระบบสมองในการหลั่งสารสื่อประสาทออกมาได้ดีขึ้นนั่นเอง

โรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ จากการศึกษาพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการบวม, คัน และลดการอักเสบที่ผิวหนังของผู้ป่วยได้มากถึง 86.4% ซึ่งหมายรวมถึงโรคผิวหนังอักเสบแบบทั่วไปด้วย

โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Southern California ระบุว่า กัญชามีสรรพคุณช่วยรักษาโรควิตกกังวลได้ โดยได้ทำการคัดผู้เข้าร่วมการทดลอง 4,400 คน พบว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเมื่อใช้กัญชาในการรักษาแล้ว มีอาการลดลงมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา

กัญชาทางการแพทย์: อาการนอนไม่หลับ ด้วยกลุ่มคนผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง นับเป็นส่วนใหญ่ในสังคม ที่ทุกคนต้องทำมาหากิน เลี้ยงตัวเอง และครอบครัว จึงเป็นได้สูงว่าอาจเกิดความเครียดหรือความเครียดสะสมแบบไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ สมองไม่ผ่อนคลาย ซึ่งแท้จริงแล้วสาเหตุของการนอนไม่หลับมีหลายสาเหตุ ดังนี้ ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น อาการผิดปกติของโรค เช่น สมองเสื่อม และความผิดปกติของฮอร์โมน เป็นต้น มีเรื่องไม่สบาย หรือมีเรื่องทำให้เสียใจ มีอาการเริ่มต้นของบางโรค เช่น โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล และโรคจิตเวช เป็นต้น สภาพห้องนอนที่มีแสงสว่างมากเกินไป การนอนไม่เป็นเวลา เช่น การทำงานเป็นกะ หรือหากเป็นเกษตรกรก็ต้องออกไปเฝ้าสวน เฝ้าไร่ เป็นต้น

นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ-ผู้ป่วยอาการหนัก-ผู้สูงอายุ-โรคปอด-โรคระบบทางเดินหายใจและโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ได้ออกมาระบุเกี่ยวกับการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยน้ำมันกัญชา ดังนี้

ข้อดีของน้ำมันกัญชา น้ำมันกัญชามีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับได้สนิทมากขึ้น เพิ่มระยะให้หลับได้ลึกขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้หลับได้นานขึ้น ส่งผลให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ สามารถศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของกัญชาเพิ่มเติมได้ที่ https://weed.review/th/

คำแนะนำการใช้น้ำมันกัญชา ในน้ำมันกัญชามีสารเคมีกว่า 100 ชนิด โดยมีสารที่สำคัญอยู่ 2 ตัว ได้แก่ สาร THC และสาร CBD ซึ่งสาร CBD ไม่ใช่สารเสพติด ซึ่งฤทธิ์ของน้ำมันกัญชาจะออกฤทธิ์มาก-น้อย หรือเหมาะสมแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณ, ความเข้มข้น และสัดส่วนของ THC: CBD รวมถึงความทนของร่างกายต่อสารในน้ำมันกัญชาที่ได้รับ

รูปแบบการใช้น้ำมันกัญชา สามารถทำได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการหยดใต้ลิ้น, ทานในรูปแบบเม็ด หรือใช้รูปแบบการเหน็บที่ทวารหนัก ซึ่งก่อนการใช้น้ำมันกัญชาเพื่อการรักษา ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยก่อนเสมอ

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าด้วยกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศไทยเราเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เป็นกลุ่มคนที่ยังต้องทำงานหาเงินเลี้ยงชีพกัน ดังนั้น ความเครียดต่าง ๆ ที่ถาโถมและสะสมมาเรื่อย ๆ เป็นบ่อเกิดการเกิดโรคทั้งสิ้น หลังการปลดล็อกกัญชา นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาด้านการแพทย์ที่ดี ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เข้าถึงในเรื่องของการรักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ที่สำคัญ ก่อนการใช้กัญชาเพื่อการรักษา ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ได้ประเมินอาการ, ประเภท และปริมาณการใช้ให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล