การเงินน่ารู้ตอน การนำเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศเข้าออกต้องปฏิบัติอย่างไร


การนำเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศเข้าออกต้องปฏิบัติอย่างไร

001.jpg

หลังจากมีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ทำให้การค้าขาย การท่องเที่ยว และการลงทุนระหว่างชายแดนสามารถทำได้คล่องตัวมากขึ้น  และยังมีนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว นักลงทุน และกลุ่มแรงงานไม่น้อย ที่ยังนิยมนำเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศติดตัวผ่านด่านชายแดนเป็นประจำ โดยที่อาจจะไม่ทราบว่า ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม กฎเกณฑ์ใหม่หลายประการ ซึ่งมีเหตุผลและประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนี้

1.เหตุผลในการออกกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงการคลัง

1.1 โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิกและมีพันธกรณีที่ต้องเข้ารับการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

1.2 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายสากล

1.3 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยเพิ่มในเรื่องของ “ตราสารเปลี่ยนมือ” ไว้ในกฎหมายนี้  

2. ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม

ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเพิ่มเติมไปจากเดิมในเรื่องของการนำเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ ที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ หรือตราสารเปลี่ยนมือ ออกไปนอกหรือนำเข้ามาในประเทศ ที่ต้องสำแดงหรือแสดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรในขณะที่ผ่านด่านศุลกากร (หากมีมูลค่าเกินวงเงินที่กำหนด) สรุปได้ ดังนี้

2.1 กำหนดให้มีการสำแดงเงินบาทที่นำเข้ามาในประเทศ หากเกินวงเงิน 450,000 บาท
เดิมกำหนดเฉพาะขานำออกไปนอกประเทศเท่านั้น

2.2 ลดวงเงินเงินตราต่างประเทศที่ต้องสำแดงจากวงเงินหรือเทียบเท่าจากที่กำหนดเดิม
เกิน 20,000 ดอลลาร์ สรอ. (ทั้งกรณีนำเข้าหรือนำออกนอกประเทศ) เหลือ 15,000 ดอลลาร์ สรอ.

2.3 กำหนดเพิ่มเติมให้สำแดงตราสารเปลี่ยนมือที่ส่งหรือนำออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศ เงินบาท วงเงินเกิน 450,000 บาท เงินตราต่างประเทศ วงเงินหรือเทียบเท่าเกิน  15,000 ดอลลาร์ สรอ.

2.4 กำหนดเพิ่มให้สำแดงกรณีการนำเงินบาท หรือเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือฯ ตามที่กล่าวในข้อ 2.1 - ข้อ 2.3 ซึ่งมีมูลค่าไม่ถึงจำนวนที่ต้องสำแดงรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เมื่อรวมกันแล้วมีมูลค่า หรือเทียบเท่าเกิน 450,000 บาท  

3. วันที่มีผลบังคับ

มีผลบังคับใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นไป 

001.jpg1213.jpg

 

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    ข้อพิจารณาหลักในการเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีที่สุดสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
    แอร์ธรรมดา VS แอร์อินเวอร์เตอร์ : กินไฟต่างกันแค่ไหน
  • สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
    สคร.12 สงขลา ชวนวัดความดันโลหิต แนะลดกินเค็ม เลี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 2567
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง “ฮีทสโตรก” จากอากาศร้อน อันตรายถึงชีวิต แนะหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดที่ร้อนจัด
  • สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
    สคร.12 สงขลา เตือน ระวัง 3 โรค จะระบาดในปี 2567 เน้นย้ำมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
  • สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
    สคร. 12 สงขลา ย้ำ โรคเรื้อนรักษาหาย รู้เร็วรักษาทัน ป้องกันความพิการได้
  • สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
    สคร.12 สงขลา เตือน ไอกรนโรคร้าย เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
  • สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
    สคร.12 สงขลา เชิญชวนผู้หญิงไทยอายุ 11 - 20 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
  • สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
    สคร.12 สงขลา แนะสังเกตสัญญาณอันตรายโรคไข้เลือดออก หลังจากไข้ลด
  • 10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
    10 กรกฎาคมนี้ “ดาวศุกร์สว่างที่สุด”
  • ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่
    ​ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซล ติดแล้วประหยัดค่าไฟจริงหรือไม่