โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ แนะเคล็ดไม่ลับ สุขภาพดี ช่วงรอมฎอน


19 พ.ค. 2561

โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ แนะเคล็ดไม่ลับ สุขภาพดี ช่วงรอมฎอน

011.jpg

คำถามสุดฮิต เพื่อสุขภาพ ช่วงรอมฎอน

 

1.ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ถือศีลอดได้ตลอดเดือน?

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง โรคไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ช่วงรอมฎอน 2 อาทิตย์ – 1 เดือน เพื่อให้แพทย์ประจำปรับยาให้เหมาะสม และ แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวช่วงถือศีลอด เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตลอดทั้งช่วงรอมฎอน

 

2.ประโยชน์ของการถือศีลอดต่อสุขภาพ?

จากผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยโรคประจำตัวที่แพทย์ได้ปรับยา และแนะนำให้ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในช่วงถือศีลอด มีผลต่อสุขภาพโดยลดอาการและโรคเหล่านี้ลงได้ ได้แก่ ความดันโลหิต ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด อาการอัลไซเมอร์ อาการพากินสัน และสามารถป้องกันโรคได้ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์

 

3.ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงถือศีลอด?

การถือศีลอด ไม่ได้ทำให้โรคในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น

งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยวจัด เพราะกรดจะออกมากขึ้น

งดอัดลม เพราะมีผลต่อแผลในกระเพาะอาหาร

ควรเคี้ยวอาหารช้าๆ รับประทานแต่พออิ่ม อย่าทานเยอะๆ เร็วๆ เพราะจะทำให้อืด แน่นท้อง

ทำจิตใจให้สงบเพื่อลดความเครียด ส่งผลดีต่อโรคกระเพาะอาหาร

ปรึกษาแพทย์ก่อนถือศีลอดเพื่อมีการปรับยาหรือแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

 

4.การปรับยาของผู้ป่วยโรคประจำตัวในช่วงรอมฎอน

เปลี่ยนเวลากินยา ได้แก่ ยาเช้า ให้ไปกินเย็น ยาเย็นให้ไปกินหัวรุ่ง

ปรับยาเบาหวาน :  กินก่อนอาหารลดยาลง ครึ่งหนึ่ง เช่นเดิมกิน 1 เม็ด ก็กิน 1/2เม็ด เพื่อป้องกันน้ำตาลต่ำ

ปรับยาฉีด :  ยาฉีดเช้า  ไปฉีดเย็น , ยาฉีดเย็น ไปฉีดหัวรุ่งแต่ลดเหลือแค่ครึ่งdose

อย่างไรก็ตามการปรับยาควรต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวเท่านั้น และ หากมีภาวะน้ำตาลต่ำหรือน้ำตาลสูง เช่น เป็นลม อ่อนเพลีย หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมาก ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

5.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงถือศีลอด?

การถือศีลอดไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิต หรือ โรคแทรกซ้อน  ผู้ป่วยความดันก็สามารถถือศีลอดได้ แต่ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ประจำ เรื่อง การเปลี่ยนยาความดัน  บางกลุ่มที่เป็นยาขับปัสสาวะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหน้ามืด วูบ จากความดันต่ำได้

ส่วนการกินยาความดัน สามารถไปรับประทานเป็นมื้อเย็นแทนได้ โดยแพทย์จะแนะนำ

หลีกเลี่ยง อาหาร เค็ม เช่น  ปูดู หน้าปลา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

 

6.ป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวานช่วงรอมฎอน

อาการของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ ใจสั่น หิว เหงื่อออก  หน้ามืด อ่อนเพลีย  เป็นลม ปลุกไม่รู้สึกตัว ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อเจาะน้ำตาลในเลือดหากมีค่าต่ำกว่า 60 ก็ควรละศีลอดเลย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาในช่วงรอมฎอน และงดออกกำลังกายแบบหนักๆ หรือการละหมาดก็เป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่งแล้ว

 

7.ป้องกันภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานช่วงรอมฎอน

อาการของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลสูงได้แก่ หิวน้ำ ปัสสาวะบ่อย ตาพร่า ปากแห้งคอแห้ง ฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อเจาะน้ำตาลในเลือดหากมีค่ามากกว่า  300 ก็ควรละศีลอดเลย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาในช่วงรอมฎอน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทีละมากๆ แต่ควรรับประทานอินทผลั มแล้วค่อยละหมาด ทานข้าว 1 จานพออิ่ม ฯลฯ

 

8.การละศีลอดที่ถูกวิธี

ควรรับประทานแต่พ ออิ่ม ไม่ทานมากเกินไป  ไม่ทานเร็วเกินไป  ไม่ทานอาหารหวานจัด                 ควรรับประทานอินทผลั ม1-3 เม็ดแล้วไปละหมาด เพราะอินทผาลัมมีน้ำตาลฟรุ๊กโตส ไฟเบอร์ น้ำ แร่ธาตุ แมกนีเซียม จึงสามารถแก้กระหาย แก้หิวได้อย่างรวดเร็ว ควรจิบน้ำบ่อยๆ ให้ได้ 8 แก้ว/วันแนะนำรับประทานขนมปังโฮวีท สลัด ข้าวกล้อง

IMG_6784s.JPG

นพ.วีรวรรธ  คลายนา อายุรแพทย์ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ กล่าวยินดีให้คำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 1719 คลินิกอายุรกรรมชั้น4 โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ หรือ www.bangkokhatyai.com และ facebook:โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่