พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับพระอัจฉริยภาพด้านกีฬา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือใบ ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถด้านเรือใบสูงมาก โดยทรงเรือใบเวคา 1 แล่นข้ามอ่าวจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ถึงอ่าวสัตหีบ ระยะทาง 60 ไมล์ทะเล ทรงใช้เวลาในการแล่นเรือ 14 ชั่วโมง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นนักกีฬาเรือใบทีมชาติ เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4
นอกจากความสนพระราชหฤทัยในด้านการกีฬาแล้ว พระองค์ยังทรงสนับสนุนให้กีฬาเรือใบเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สโมสรกรมอู่ทหารเรือ สร้างเรือใบมด และเรือซูเปอร์มด ตามแบบของพระองค์ จำหน่ายแก่สมาชิกในราคาถูก พร้อมทั้งทรงตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ ชื่อ “สโมสรหมวดเรือใบหลวงจิตรลดา” ในสวนจิตรลดา และมีสโมสรอื่น ๆ ในพระบรมราชูปถัมภ์หลายสโมสร อาทิ สมาคมแข่งขันเรือใบแห่งประเทศไทย, สโมสรเรือใบราชวรุณ เมืองพัทยา เป็นต้น
พระอัจฉริยภาพในด้านกีฬาเรือใบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ปรากฎเป็นที่ยอมรับในสากลโลก ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อทรงชนะเลิศทรงเรือใบเข้าสู่เส้นชัยเป็นอันดับ 1 ทรงรับการถวายเหรียญทอง จาการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ในวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 นำความปลื้มปีติแก่พสกนิกรไทยทั้งมวลปริญญาบัตร สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
พ.ศ. 2508 เจ้าชายฟิลิปส์ แห่งเอดินบะดะ เสด็จประพาสเมืองไทยเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบว่าเจ้าชายโปรดเล่นเรือใบ จึง ทรงตั้งสโมสรเรือใบหลวงจิตรดาขึ้น และจัดการแข่งขันเรือใบจากพัทยาไปเกาะล้านผู้ร่วมการแข่งขันในครั้งนั้น นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เจ้าชายฟิลอปส์ และนักกีฬาทีมชาติสหัฐอเมริกาอีกคนหนึ่งซึ่งแวะเมืองไทยก่อนจะเดินทางไปแข่งที่นิวซีแลนด์แล้ว ยังมีเรือใบอื่น ๆ ร่วมแข่งขันด้วยรวมทั้งสิ้น 34 ลำ ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ในสมัยนั้น "เรือที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการแข่งขันคือเรือราชปะแตนที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง" ผลการแข่งขันปรากฏว่าเรือใบซึ่งพระองค์ทรงเป็นกัปตัน และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทำหน้าที่เป็นลูกเรือ เข้าสู่เส้นชัยเป็นอันดับหนึ่ง กล่าวกันว่าพระปรีชาสามารถในครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือ จนแม้แต่หนังสือพิมพ์นิวซีแลนด์ก็ยังลงข่าวนี้
19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเรือใบประเภทโอเค ขนาด 13 ฟุต ชื่อ ‘เวคา’ (VEGA) จากหน้าพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เวลา 04.28 นาฬิกา ไปถึงสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เวลา 21.28 นาฬิกา ทรงแล่นไปข้ามอ่าวไทยโดยลำพังเพียงพระองค์เดียว โดยใช้เวลาในการแล่นใบนานถึง 17 ชั่วโมงเต็ม ระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำธง ‘ราชนาวิกโยธิน’ ที่ทรงนำข้ามอ่าวไทยมาด้วยปักเหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม และทรงลงพระปรมาภิไทยบนแผ่นศิลจารึก นับแต่นั้นมาธงราชนาวิกโยธินก็โบกสะบัดเหนือก้อนหินใหญ่ที่อ่าวนาวิกโยธิน สัตหีบ มาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นพระองค์ทรงอัจฉริยภาพด้านการต่อเรือ เรือใบลำแรกที่ทรงต่อเองเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2507 เป็นเรือใบประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class) ชื่อ "เรือราชปะแตน" และลำต่อมาชื่อ "เรือเอจี" โดยทรงต่อตามแบบสากล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแข่งขันแล่นใบหลายครั้งทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในปีพุทธศักราช 2508 ทรงใช้เรือราชปะแตนแข่งขันกับ ด็อค ออฟ เอดินเบอระ (The Duke of Edinburgh) พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ โดยใช้เส้นทางไปกลับ พัทยา – เกาะล้าน ในปีพุทธศักราช 2508 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบ ประเภทโอเค (International OK Class) ตามแบบสากลลำแรกที่ทรงต่อชื่อ "เรือนวฤกษ์" หลังจากนั้นทรงต่อเรือใบ ประเภทนี้อีกหลายลำ เช่น เรือเวคา 1 เรือเวคา 2 และเรือเวคา 3 เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงออกแบบและ ต่อเรือใบ ประเภทม็อธจำนวนหลายลำ เรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไม่เกิน 11 ฟุต เนื้อที่ใบ ไม่เกิน 75 ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรืออาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่างปีพุทธศักราช 2509 - 2510 มีอยู่ 3 แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้ เรือมด เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด เรือใบลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2510 คือ "เรือโม้ก" (Moke) เป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบให้มีลักษณะผสมระหว่างเรือโอเค และเรือซุปเปอร์มด คือทรงออกแบบให้มีขนาดของลำเรือใหญ่กว่าเรือซุปเปอร์มด โดยให้มีขนาดใกล้เคียงเรือโอเค และใช้อุปกรณ์เสาและใบของเรือโอเค
หลังจากทรงออกแบบเรือโม้กแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงออกแบบเรือใบอีก เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงออกแบบและทรงต่อเรือใบแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันที่19 เมษายน พุทธศักราช 2509 พระองค์ได้ทรงเรือใบเวคา 1 แล่นข้ามอ่าวจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ถึงอ่าวสัตหีบ ระยะทาง 60 ไมล์ทะเล ทรงใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง นับว่าทรงมีพระวิริยะอุตสาหะอย่างสูง นอกจากนี้ ในการแข่งขันกีฬานานาชาติ พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาเรือใบทีมชาติ เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช 2510 ด้วยพระองค์ หนึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ทรงใช้เรือใบประเภทโอเค ซึ่งทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เองและทรงเป็นผู้ชนะเลิศ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองในวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 ต่อมารัฐบาลได้กำหนดวันนี้ของทุกปีเป็นวันกีฬาแห่งชาติ นอกจากความสนพระราชหฤทัยส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนับสนุนให้กีฬาเรือใบเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สโมสรกรมอู่ทหารเรือสร้างเรือใบมด และเรือซุปเปอร์มดตามแบบของพระองค์จำหน่ายแก่มวลสมาชิกในราคาถูก และทรงตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ชื่อ "สโมสรหมวดเรือใบหลวงจิตรลดา" ในสวนจิตรลดา และมีสโมสรอื่น ๆ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระองค์ ได้แก่ สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย, สโมสรเรือใบราชวรุณ ที่เมืองพัทยา เป็นต้น จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งประกอบกับทรงมีพระปรีชาสามารถทางการช่าง จึงทำให้ทรงมีผลงานการออกแบบและต่อเรือใบที่ดีเลิศ อีกทั้งทรงพิชิตเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ณ ประเทศไทย พุทธศักราช 2510 ด้วยเรือที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอัจฉริยะทางการช่างอย่างแท้จริง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับกีฬาสกีน้ำแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสกีน้ำแข็งครั้งแรกในช่วงปีพุทธศักราช 2477 - 2478 เมื่อมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ขณะประทับ และทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเชษฐาธิราชและพระเชษฐภคินี ทรงมีนายชาเตอลานา (Monsieur Chatelanat) ชาวสวิสเป็นครูฝึก พระปรีชาสามารถในการทรงสกีน้ำแข็งปรากฎในพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่มีมาถวายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ว่า "…นับทกับเล็กสกีหลายหน ทำเก่งกันทั้งคู่ เล็กยิ่งทำดีกว่านันท ทำน่าเอ็นดู ใคร ๆ เห็นเข้าก็งงงวย เพราะเล็กนิดเดียวทำได้ดีมาก…"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังโปรดทรงสกีน้ำแข็งตลอดมาขณะประทับอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ กระทั่งเจริญพระชนมายุ นอกจากนี้แล้วยังทรงสเก็ตน้ำแข็ง เลื่อนหิมะและเคยเสด็จฯทอดพระเนตรการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งด้วย
พระประสูติวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงต่อพสกนิกรชาวไทย นอกจากพระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถที่ทรงเป็นนักบริหาร นักวิชาการ และนักวิจัย อันเอื้อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศนานัปการแล้ว ยังทรงมีบทบาทหลายประการในด้านการกีฬาอีกด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสนพระทัย และทรงมีพระราชดำริว่า กีฬาเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติ ดังจะเห็นได้จากพระบรมราโชวาทที่ได้พระราชทานเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2531 ว่า"เวลานี้ การกีฬาก็นับว่า มีความสำคัญในทางอื่นด้วย คือในทางสังคม ทำให้คนในประเทศชาติได้หันมาปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์ในทางสุขภาพของร่างกายและของจิตใจ ทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญของบ้านเมือง และโดยเฉพาะในการกีฬาระหว่างประเทศก็ไดเพิ่มความสำคัญกับมนุษย์อื่น ซึ่งอยู่ในประเทศอื่น ฉะนั้นกีฬามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชีวิตของแต่ละคน และชีวิตของบ้านเมือง นอกจากจะทรงกีฬาหลายชนิดด้วยพระองค์เองจนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ยังทรงเอาพระทัยใส่ติดตามข่าวกีฬาทุกประเภทอยู่เสมอ ในการเปิดกีฬาสำคัญในระดับประเทศ และระดับนนานาชาติ มักจะมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกประการ เช่น พระราชทานไฟพระฤกษ์ พระราชทานพระบรมราโชวาท เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นักกีฬา เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นต้นทั้งนี้ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่นักกีฬาและประชาชนตลอดมา
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังมีพระราชภารกิจไม่มากมายเช่นปัจจุบัน กีฬาแบดมินตัน เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่โปรดมาก ทั้งประเภทคู่ และประเภทสามคน ในช่วงเวลานั้น กีฬาแบดมินตันของประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งกับผู้ใกล้ชิดว่า กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาหนึ่งในไม่กี่ประเภทที่คนไทยสามารถที่จะไต่เต้าไปสู่ระดับโลกได้ เพราะไม่เสียเปรียบทางด้านรูปร่าง และพละกำลังมากจนเกินไป มีรับสั่งถึงประเด็นนี้หลายครั้ง และต่อมา ได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้กับสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยเมื่อ พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแบดมินตันอย่างนักกีฬาโดยแท้ คือไม่ทรงแสดงอาการกริ้ว หรือพิโรธอย่างใดเมื่อทรงลูกเสีย หรือแม้กระทั่งผู้ที่ถวายตีลูกเสีย หรือทรงถูกกระทบกระทั่งถึงพระวรกายจากความเข้มข้นในเกมการเล่น ก็ไม่ทรงถือพระองค์แต่อย่างใด อันแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นนักกีฬาที่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริงนอกจากทรงแบดมินตันเป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงสนพระทัยในการกีฬาแบดมินตันเป็นอันมาก
ทรงสามารถวิเคราะห์ถึงการเล่น และรับสั่งวิจารณ์ถึงวิธีการเล่นของนักแบดมินตันระดับโลกแต่ละคนได้เป็นอย่างดี และทรงนำมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาฝีมือ เทคนิคการเล่นของพระองค์เอง กับทั้งทรงชี้แนะพระราชทานข้อแก้ไขเทคนิคการเล่นแก่นักกีฬาของไทยด้วยพระเมตตา และพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ก่อเกิดการพัฒนาอย่างใหญ่หลวงแก่กีฬาแบดมินตันในประเทศไทย จนเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในเวทีแบดมินตันโลกได้ในที่สุด พระมหากรุณาธิคุณแก่วงการกีฬาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการกีฬาของชาติอย่างสม่ำเสมอ
นอกเหนือจากการเอาพระทัยใส่ และทรงอุปถัมภ์การกีฬาหลายประเภทแล้ว ยังปรากฎพระราชกรณียกิจหลายประการอันเป็นคุณประโยชน์ และเป็นสิริมงคลอันสูงยิ่งแก่วงการกีฬา และนักกีฬาชาวไทยชั่วกาลนานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่นักกีฬา และผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อการกีฬาในปีพุทธศักราช 2534 พุทธศักราช 2535 และพุทธศักราช 2536 สืบเนื่องจากการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 11 ณ ประเทศจีน และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 16 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ และการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 25 ณ ประเทศสเปนซึ่งนักกีฬาทีมชาติไทยได้สร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติแก่ประเทศชาติ
ที่มา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.ku.ac.th