คุยกับ อ.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล ผู้ถวายงานการพัฒนาปาล์มน้ำมันแด่ในหลวงรัชกาลที่ ๙


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณประโยชน์พสกนิกรชาวไทยมากมาย หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน และบุคคลที่ถวายงานใกล้ชิดในการพัฒนาน้ำมันปาล์ม นั่นคือ รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

14.jpg

ทีมงานเว็บไซต์กิมหยง มีโอกาสพูดอย่างเป็นกันเองและได้รับฟังการบอกเล่าถึงการถวายงานรับใช้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมระยะเวลามากกว่า ๔๐ ปี ย้อนกลับไปเมื่อปี ๒๕๑๖ เด็กหนุ่มจากอัมพวา สมุทรสงคราม ได้มาเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในปี ๒๕๑๘ ได้ไปดูงานที่สวนสาธิตการปลูกปาล์มน้ำมันที่นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อ.ควนกาหลง จ.สตูล ซึ่งเป็นสถานที่แรกๆ ของประเทศที่มีการทดลองปลูกปาล์มน้ำมันมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๑

เมื่อทางสวนสาธิตฯ ทราบว่าเป็นอาจารย์ด้านวิศวะฯ จึงได้ขอให้ช่วยติดตั้งเครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้รับมอบหมายหน้าที่ในการดูแลสาธิตการใช้เครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงเสด็จฯ เยี่ยมชมสวนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๑๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาข้อมูลอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน ว่าคือพืชที่ให้น้ำมันสูงที่สุดในโลกและเป็นพืชที่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต และนั่นเป็นครั้งแรกที่ อ.สัญชัย ได้เข้าเฝ้าในหลวงอย่างใกล้ชิดและในหลวงทรงตรัสถามว่ามาจากไหน เมื่อทราบว่ามาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พระองค์ทรงรับสั่งถามต่อว่า "เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเราสามารถผลิตเองได้ไหม" หลังจากตอบว่าได้พระองค์ท่านทรงรับสั่งทันทีพร้อมตรัสเพิ่มเติมว่า "เราจะติดตามการบ้านจากท่านน่ะ"

2.JPG

และในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินติดตามผลงานที่คณะวิจัยดำเนินการทำไว้ พระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มอย่างมาก ทรงสอบถามทุกเรื่องราวอย่างละเอียดยิบ บางคำถามเป็นสิ่งที่นักวิจัยไม่ทันได้คิดเสียด้วยซ้ำและพระองค์ทรงจดจำทุกรายละเอียดที่เคยตรัสถามเมื่อครั้งก่อน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระองค์ทรงตระหนักว่าปาล์มสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจหลักชนิดหนึ่งของประเทศได้ 

หลังจากมีการเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดสร้างขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตรัสรับสั่งให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ในหลายพื้นที่หลังจากประชาชนนิยมการปลูกน้ำมันปาล์มเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. ซึ่งจัดตั้งขึ้นในสมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี 

 [video-0]

วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงงานสาธิตสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบจริงกับเกษตรกรรายย่อย และรับสั่งให้จัดทำคู่มือชาวสวนปาล์มน้ำมันเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรรายย่อยด้วย หลังจากนั้นจึงได้มีการติดตั้งเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เครื่องแรกที่สหกรณ์อ่าวลึก จำกัด จังหวัดกระบี่

๘ ตุลาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชกระแสรับสั่งให้มีการสร้างเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก ขึ้นมาใช้ในพื้นที่ภายในศูนย์พัฒนากุกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อนำมาใช้กับปาล์มทดลองปลูกในพื้นที่จำนวน ๘ ไร่ พร้อมกันนี้ทางคณะผู้วิจัยได้นำน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดได้มาผลิตเป็นนำมันปาล์มบริสุทธิ์และเนยเทียม ไขสบู่มาผลิตเป็นสบู่ซักล้้าง กากปาล์มทำเป็นอาหารสัตว์ แกนใส้กับขั้วใบผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ทำให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันทุกส่วนสามารถนำมาใช้ประโยนชน์ได้หมด

5.JPG

สิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดสำหรับ อ.สัณห์ชัย นั่นคือการได้่เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างใกล้ชิดในทุกครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินติดตามงานเกี่ยวกับการแปรรูปปาล์มน้ำมัน ได้เรียนรู้การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ให้ความสำคัญกับการติดตามงานอย่างมาก ทรงจดจำทุกรายละเอียดที่ได้ตรัสถามเมื่อครั้งก่อนหน้านี้ แม้บนโต๊ะเสวยพระกระยาหารพระองค์ยังทรงติดตามและชี้แนะแนวทางการทำงานอย่างไม่ว่างเว้นด้วย ซึ่งในโลกนี้เชื่อว่าไม่มีใครทำได้เหมือนพระองค์ท่าน

นอกเหนือจากการร่วมพัฒนาการสกัดปาล์มน้ำมันแล้ว อ.สัณห์ชัย ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาพืชน้ำมันชนิดอื่นๆ ของโครงการอันเนื่องมจากพระราชดำริอีกหลายชนิดด้วย และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจนั่นคือการได้ร่วมพัฒนาโครงการผลิตไบโอดีเซล เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกในช่วงที่น้ำมันมีราคาสูง และยังได้ถวายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงสานต่องาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับพืชน้ำมันและพลังงานทดแทนจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้เริ่มการสร้างโรงงานไบโอดีเซลขึ้นในปี ๒๕๔๓

7.JPG

ปัจจุบันโครงการผลิตไบโอดีเซล จากน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชใช้แล้วมีโรงงานอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และภายในศูนย์พัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำมันที่ผลิตได้เป็นน้ำมันสกัด ๑๐๐% และมีการจำหน่ายลิตรละ ๒๐ บาท โดยสามารถถใช้ได้กับรถยนต์และเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด และเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสนพระทัยและติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

แม้ปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกจะไม่สูงมากจนทำให้ผู้คนสนใจเรื่องพลังงานทดแทนน้อยลง แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ยังทรงแนะนำให้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ด้วยพระองค์ทรงตระหนักดีว่าเรื่องของพลังงานเป็นสิ่งไม่แน่นอน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้สืบสานแนวพระราชดำรินี้ให้คงอยู่และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทยต่อไป

นับเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รศ.ดร.สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล ผู้ได้ถวายงานรับใช้ใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อสร้างคุณค่าและคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป

12.JPG4.JPG9.JPG6.JPG10.JPG8.JPG11.JPG15.jpg16.jpg17.jpg18.jpg19.jpg20.jpg13.JPG

ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าฯรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ 

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • เมื่อ AI ตอบว่าเคยมาหาดใหญ่
    เมื่อ AI ตอบว่าเคยมาหาดใหญ่
  • ​พิธีลอดซุ้มประตูป่าวันวิสาขาบูชา หนึ่งเดียวในสยามประเทศที่ "วัดห้วยหลาด" รัตภูมิ
    ​พิธีลอดซุ้มประตูป่าวันวิสาขาบูชา หนึ่งเดียวในสยามประเทศที่ "วัดห้วยหลาด" รัตภูมิ
  • ​"อบจ.สงขลา ผนึก ทน.หาดใหญ่" ทำแผนใช้พื้นที่หน้าหอนาฬิกาสร้างหอชมเมืองหาดใหญ่
    ​"อบจ.สงขลา ผนึก ทน.หาดใหญ่" ทำแผนใช้พื้นที่หน้าหอนาฬิกาสร้างหอชมเมืองหาดใหญ่
  • สภาพัฒน์-ม.อ. ประชุมระดมความเห็นจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่สงขลา-ปัตตานี
    สภาพัฒน์-ม.อ. ประชุมระดมความเห็นจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่สงขลา-ปัตตานี
  • ​มั่นใจตลาดหาดใหญ่ยังโต แสนสิริส่ง “ดีคอนโด แซนด์” พร้อมจัดโปรเปิดตัวลด 2.5 แสน 25-26 มี.ค.66
    ​มั่นใจตลาดหาดใหญ่ยังโต แสนสิริส่ง “ดีคอนโด แซนด์” พร้อมจัดโปรเปิดตัวลด 2.5 แสน 25-26 มี.ค.66
  • ​ม.อ.ชี้ฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ เพิ่มโอกาสขยายตลาดกิจการฮาลาลไทย
    ​ม.อ.ชี้ฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ เพิ่มโอกาสขยายตลาดกิจการฮาลาลไทย
  • ​คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.ผนึก ศจย. จัดประชุมวิชาการ "คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า"
    ​คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.ผนึก ศจย. จัดประชุมวิชาการ "คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า"
  • ​ประเดิมที่สงขลา "ทีเส็บ" จัดโรดโชว์โครงการ ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย
    ​ประเดิมที่สงขลา "ทีเส็บ" จัดโรดโชว์โครงการ ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย
  • ​ซีแพค เปิดบ้านต้อนรับส.อสังหาฯ สงขลา โชว์นวัตกรรมการก่อสร้างสีเขียวย้ำแนวคิด ‘ล้ำ เปลี่ยน โลก’
    ​ซีแพค เปิดบ้านต้อนรับส.อสังหาฯ สงขลา โชว์นวัตกรรมการก่อสร้างสีเขียวย้ำแนวคิด ‘ล้ำ เปลี่ยน โลก’
  • Festival Economy for Songkhla MICE CITY ยกระดับสงขลาสู่การเป็นศูนย์กลางการจัด Event
    Festival Economy for Songkhla MICE CITY ยกระดับสงขลาสู่การเป็นศูนย์กลางการจัด Event
  • ​ก.พาณิชย์ ลุยช่วยดันสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลกเปิดรับสมัครชิงรางวัลการันตีคุณภาพแบรนด์
    ​ก.พาณิชย์ ลุยช่วยดันสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลกเปิดรับสมัครชิงรางวัลการันตีคุณภาพแบรนด์