ม.อ. วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี พาสื่อเยี่ยมชม ผลงานวิจัย ใช้งานได้จริง มุ่งช่วยเหลือชุมชน
มหทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เข้าสัมผัสกับบรรยากาศกิจกรรม และได้เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัย ในทุกวิทยาเขต โดยในปีนี้จัดโครงการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 30 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 63 โดยมีสื่อมวลชนจากภาคใต้ ส่วนกลาง ภาคเหนือ รวม 45 สำนัก และประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขตเข้าร่วม จำนวน 80 คน
โดยพิธีเปิดโครงการวันที่ (30 ม.ค.2563) ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ผู้แทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาสุราษฎร์ธานี ผู้แทนอธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต มีการบริหารงานภายใต้รูปแบบ PSU System กล่าวคือ PSU System เป็นระบบประสิทธิภาพทางการบริหารที่ยึดหลักความเชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายของวิทยาเขตเพื่อเกื้อหนุนให้สามารถใช้ทรัพยากร ความเชี่ยวชาญ และรากฐานวิชาการร่วมกัน ซึ่งการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยการรับรู้ของชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือ ซึ่งในส่วนนี้ มหาวิทยาลัยก็ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนเป็นอย่างดีเสมอมา และถือโอกาสนี้ในการกระชับความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายเพื่อความร่วมมือกันต่อไปในอนาคตต่อไป
โครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเพาะปลูกพืชสวนและไม้ผลที่มีค่าทางเศรษฐกิจ มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและบนบก ดังนั้น การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงมุ่งเน้นการตอบสนองบริบทของพื้นที่ดังกล่าว โดยมุ่งพัฒนางานวิจัยและความเป็นนานาชาติด้านพืช เศรษฐกิจ การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านไม้ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ชุมชน สถานประกอบการทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไปในอนาคต
โดยโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์สงขลานครินทร์ ครั้งที่ 3 ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเพาะปลูกพืชสวนและไม้ผลที่มีค่าทางเศรษฐกิจ มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและบนบก ดังนั้น การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จึงมุ่งเน้นการตอบสนองบริบทของพื้นที่ดังกล่าว โดยมุ่งพัฒนางานวิจัยและความเป็นนานาชาติด้านพืช เศรษฐกิจ การบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านไม้ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ชุมชน สถานประกอบการทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานเมื่อสำเร็จการศึกษาต่อไปในอนาคต
หลังจากพิธีเปิดโครงการฯ สื่อมวลชนได้เข้าชมนิทรรศการ และผลงานเด่นหน่วยงานของมหาวิทยาลัย อันได้แก่ ผลงาน "Smart Learners for the future" โดยสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ โครงการ ม.อ. เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนเข้มแข็ง โดยสำนักวิจัยและพัฒนา โครงการส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Excellence Center) โดยศูนย์บริการวิชาการ และการนำเสนอผลงานเด่นของนักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เช่น โครงการ Herbal City เมืองสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการตามรอยศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการแนวทางการพัฒนาการจัดการอุทกภัยอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โครงการการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน บนเส้นทางการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ สุราษฎร์ธานี-เขื่อนรัชชประภา ผ่านสื่อการตลาดแบบดิจิทัล โครงการรางวัลสหกิจศึกษาระดับเครือข่ายและระดับชาติ โครงการบล็อกยางปูพื้น โครงการศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์บล็อกยางพารา บล็อกโฟมยางพารา และบล็อกคอนกรีตมวลเบาผสมวัสดุทางการเกษตรในชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย อีกทั้งได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม “โรงเรียน ม.อ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี โรงเรียนนวัตกรรมการเรียนรู้และการวิจัย” ภายใต้การกับกำดูของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และผลงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา โดยการนำไปใช้ปูพื้นสระน้ำและทำถนนยางพาราแอสฟัลติกอีกด้วย
นอกจากนั้นยังนำสื่อมวลชนลงพื้นที่จริงในชุมชน เพื่อเข้าชมผลงานที่ทำร่วมกับภาคเอกชน เช่น สวนลุงประสงศ์ นวัตกรรมจากมะพร้าว , เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบางใบไม้ รวมถึงเยี่ยมชมผลงานการบริการวิชาการชุมชนมะขามเตี้ย