​ศอ.บต.โชว์ผลงานปี 64 ลดปัญหาว่างงาน ลดเหลื่อมล้ำ สร้างานงานสร้างอาชีพ บรรเทาความเดือดร้อน สร้างสุขให้ประชาชน


ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) แถลงผลการดำเนินงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ประจำปี 2564 และนโยบายปี 2565 คลายทุกข์แก้ไขปัญหาว่างงาน มุ่งสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเยียวยาพี่น้องประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนนำชายแดนใต้สู่สันติสุขยั่งยืน

รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวว่า ปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโร่นา ( COVID-19) ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ทั้งปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ทำให้เกิดการว่างงานและขาดรายได้ นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบทางอ้อม เช่น ผลผลิตทางการเกษตร พืชผักผลไม้มีราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมในภาพรวม เมื่อมีคนว่างงาน ขาดรายได้ และสุขภาพเจ็บป่วย ปัญหาสังคมต่าง ๆ ก็จะตามมา

ซึ่งเมื่อประกอบกับปัญหาดั้งเดิมในพื้นที่แล้วยิ่งส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ศอ.บต.จึงได้เร่งแก้ไขปัญหาในส่วนของการจัดหาอาชีพให้กับแรงงานที่เดินทางกลับมาจากมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานเดินทางกลับเข้าประเทศ กว่า 30,000 คน โดยการให้การช่วยเหลือตามความต้องการของกลุ่มแรงงานกว่า 2,300 ราย กระจายไปทำงานนอกพื้นที่จังหวัด เช่น สงขลา เพชรบุรี กาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร ระยอง เป็นต้น พร้อมทั้งดึงแรงงานเข้าสู่การส่งเสริมอาชีพฐานรากในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 2,500 ราย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชพลังงาน และการเลี้ยงปูทะเล

นอกจากนี้ ศอ.บต.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรโดยการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่สามารถระบายออกสู่ตลาดได้จนทำให้ผลผลิตตกค้างจำนวนมาก ได้แก่ ฟักทอง ฟักเขียว เป็นต้น โดยเฉพาะใน จ.สงขลา ที่มีพื้นที่ปลูกกว่า 6,000 ไร่ มีผลผลิตกว่า 3,000 ตัน/ปี และให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เนื่องจากการประกาศปิดพื้นที่เพื่อควบคุมเข้มงวด โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ องค์นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาพระราชทานอนุญาตให้จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ณ ศอ.บต. เพื่อประกอบอาหารช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในพื้นที่ จ.ยะลา พื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เบตง อ.บันนังสตา อ.กาบัง และ อ.ยะหา รวมทั้งสิ้น 100,380 กล่อง

ด้านพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชน และตำบลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต.ได้ขับเคลื่อนผ่านการพิจารณาของสภาสันติสุขตำบล ที่มีคณะทำงานจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และภาคประชาชน ร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนบนพื้นฐานการแก้ไขปัญหาจำเป็นเร่งด่วนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 มีการดำเนินโครงการ ฯ ด้านเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 400 กลุ่ม ด้านสังคม 50 กิจกรรม และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 18 กิจกรรม ในพื้นที่ 282 ตำบล ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา

ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศอ.บต.ได้ขับเคลื่อนผ่านโครงการสนับสนุนวิทยากรผู้สอนภาษาไทยในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทำการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ตามโครงการเสริมการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งแต่ปี 2560 – จนถึงปัจจุบัน โดยนำกระบวนการจัดการเรียนการสอน เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านออกและเขียนได้

ขณะเดียวกันยังร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาวะและภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่ เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติแห่งประเทศไทย (UNICEF) ได้วิจัยสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะและโภชนาการเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า มีภาวะเตี้ย แคระ แกร็น มากกว่าค่าเฉลี่ยในประเทศ 2-3 เท่า ดังนั้น ศอ.บต. จึงเสนอช่วยเหลือเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสนับสนุนเงินช่วยเลี้ยงดู เพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐบาล

“ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ยังมีโอกาสอีกหลายๆ ด้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาคน การพัฒนาสังคม ซึ่ง ศอ.บต.จะเร่งดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพัฒนาในทุกมิติเพื่อเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ คือ ประชาชนในพื้นที่ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอนาคต”รองเลขาฯ ศอ.บต.กล่าวทิ้งท้าย

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
    เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
  • ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
    ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
  • ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
    ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
  • ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
    ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
  • ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
    ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
  • ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
    ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
  • ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
    ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
  • ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
    ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
  • จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
    จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
  • ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
    ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
  • แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา
    แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา