​1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว อบจ.สงขลากระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจสู่ทุกอำเภอ


อบจ.สงขลา จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว) ครั้งที่ 2 มุ่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

(10 พฤศจิกายน 2565) ณ โรงแรมเดอะเบด เวเคชั่น ราชมังคลา จังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว) ครั้งที่ 2 มุ่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้แทนองค์กรชุมชนภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา สื่อมวลชน ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคใต้ตอนล่าง เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย เป็นเมืองสองทะเล และยังเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญมาแต่สมัยโบราณ อีกทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และการละเล่นพื้นเมืองที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสภาพของเมืองเก่าที่เป็นเอกลักษณ์ จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจจำนวนมาก และหลากหลาย ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่างๆ ที่สามารถพัฒนาสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

อบจ.สงขลา จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาเพื่อสร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และเพื่อให้การท่องเที่ยวโดยรวม และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแต่ละอำเภอของจังหวัดสงขลา เข้ากับจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ และประเทศในประชาคมอาเซียน จึงได้ดำเนินการโครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแหล่งเที่ยวจังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว) ภายหลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 ได้มีการศึกษารวบรวมข้อมูล และสำรวจแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงนำความเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุมมากำหนดแนวคิดที่จะช่วยพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งให้แก่การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ให้มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับโลกมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อรับทราบสรุปผลการศึกษาโครงการ และร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชน อันจะเป็นประโยชน์/ต่อการนำไปประกอบการศึกษา และการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาให้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการทุกภาคส่วนในพื้นที่การประชุมในวันนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนจะได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นจากหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มากยิ่งขึ้น

ด้านนางสาวภพภร ทองคณารักษ์ ผู้อำนวยการกองผังเมือง กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการจ้าง บริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา (1 อำเภอ 1 แหล่งท่องเที่ยว) เพื่อจัดทำแผนแม่บทด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดสงขลาในลักษณะของแผนบูรณาการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้มีการวางแผนจัดการการท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัดสงขลา และเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแต่ละอำเภอของจังหวัดสงขลาเข้ากับจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ และประเทศในประชาคมอาเซียน พร้อมเป็นการศึกษา และเสนอแนวทางการตลาด การท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาจากอัตลักษณ์เมือง

เพื่อคัดเลือกเส้นทางและแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวสินค้าบริการ ด้านการท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวประจำอำเภอ และจัดทำแผนงานโครงการด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านต่างๆเพื่อรองรับการท่องเที่ยวประจำอำเภอ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อคัดเลือก 1 พื้นที่ นำร่องที่มีความเหมาะสมสูงสุดเพื่อจัดทำแบบรายละเอียด พร้อมประมาณราคา ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนา และยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งเสริมกิจกรรมสินค้า และบริการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการสร้างเครือข่าย และการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ ภายในบริเวณงานยังมีการจัดนิทรรศการท่องเที่ยว และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มาร่วมงาน หัตถกรรมดอกไม้ใบยางพาราบ้านหูแร่ แฮนเมด & เดคูพาจ By ฟอสเตอร์ ช่างโจแกะสลักรองเท้า วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยควนลังพัฒนากระเป๋าสานพลาสติก บ้านขนมพรีมรดา กลุ่มสัมมาชีพจักสารผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย(ตำบลคูเต่า) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นอ่อน เศรษฐกิจฐานรากคอหงส์ วิสาหกิจชุมชน Online Good Market (OGM) ปั้นขลิบชาววัง ขนมซึ้งแม่ดวง กลุ่มเครื่องแกง เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอรัตภูมิ กลุ่มรักษ์คอหงส์ ขนมไทย โฮมสเตย์บ้านนายสิงโตเขาคูหาเ ครือข่ายผลไม้เขาพระ และกาแฟคลองกั่วคอฟฟี่แลนด์ ฯลฯ อีกด้วย


เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
    เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
  • ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
    ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
  • ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
    ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
  • ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
    ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
  • ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
    ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
  • ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
    ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
  • ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
    ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
  • ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
    ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
  • จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
    จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
  • ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
    ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
  • แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา
    แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา