​ชาวหาดใหญ่อุ่นใจได้ “คลองภูมินาถดำริ” พร้อมระบายน้ำเต็มประสิทธิภาพ


คลองร.1 หรือชื่อเป็นทางการว่า “คลองภูมินาถดำริ” นามพระราชทานสุดท้ายของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงริ่เริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ป้องกันอุกทกภัยเมืองหาดใหญ่ ด้วยการขุดคลองระบายน้ำช่วยให้ชาวหาดใหญ่ปลอดภัยจากน้ำท่วม

ในช่วงปลายปีนับเป็นหน้ามรสุมของภาคใต้มีโอกาสที่จะเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินชาวหาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง สำหรับปลายปี 2565 ขอนำทุกท่านมาติดตามความคืบหน้าโครงการขยายคลองภูมินาถดำริ หรือคลองร.1 ว่าคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว และมีประสิทธิภาพการระบายน้ำมากน้อยเพียง

ข้อมูลจากกรมชลประทาน 11 พ.ย.65 ระบุว่าได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระบายน้ำ ร.1 ได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)/วินาที ช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในตัวเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างมาก และยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร และผลิตน้ำประปาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในช่วงฤดูแล้งได้อีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา เป็นการปรับปรุงคลองภูมินาถดำริ หรือคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร ด้วยการขุดขยายความกว้างของคลองดินจากเดิม 24 เมตร เป็นคลองดาดคอนกรีตกว้าง 70 เมตร เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำจากเดิม 465 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที และเมื่อไปรวมกับปริมาณน้ำที่ระบายจากคลองอู่ตะเภาอีก 465 ลบ.ม./วินาที

ทำให้สามารถเพิ่มการระบายน้ำได้สูงสุดประมาณ 1,665 ลบ.ม./วินาที ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างมาก โดยมีประตูระบายน้ำหน้าควน 2 บริเวณปากคลองระบายน้ำ ร.1 ทำหน้าที่เปิด-ปิดบานระบายน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าสู่คลองระบายน้ำ ร.1 ก่อนระบายน้ำทั้งหมดลงสู่ทะเลสาบสงขลาตามลำดับ

ทั้งนี้ คลองภูมินาถดำริ มีหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาที่มีต้นน้ำจากอำเภอสะเดาชายแดนไทย-มาเลเซีย และมีคลองสาขาทั้งจากอำเภอคลองหอยโข่ง หาดใหญ่ นาหม่อม จากเขาคอหงส์บางส่วน มีต้นคลองที่บริเวณบ้านหน้าควน .ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ เป็นคลองขุดเพื่อให้น้ำไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่เหมือนในอดีต

วันนี้ประสิทธิภาพการระบายน้ำป้องกันน้ำจากตอนบนไหลเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างเต็มที่แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือระบบการระบายน้ำเขตเมืองเพราะพื้นที่อยู่ธรรมชาติของน้ำแทบไม่เหลือเลย ปัญหาน้ำรอระบาย ปัญหาน้ำท่วมเฉพาะจุด จึงเป็นเรื่องน่าห่วงมากกว่าสำหรับชาวหาดใหญ่

ขอบคุณข้อมูล/ภาพบางส่วนจาก : สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 16 กรมชลประทาน

Gimyong.com หาดใหญ่ไม่ไกลเกินคลิก

#เศรษฐกิจหาดใหญ่ #ข่าวสงขลา #หางานภาคใต้

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
    เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
  • ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
    ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
  • ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
    ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
  • ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
    ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
  • ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
    ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
  • ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
    ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
  • ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
    ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
  • ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
    ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
  • จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
    จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
  • ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
    ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
  • แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา
    แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา