อนาคตท้องถิ่นสงขลาจะมีกี่เทศบาลถ้า กม.ใหม่บังคับใช้


1 ก.ย. 2559

กม.ปฏิรูปท้องถิ่นกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้กรณีการยกฐานะ อบต.เป็นเทศบาลทั้งหมด และให้ยุบรวมกับพื้นที่ข้างเคียงสำหรับท้องถิ่นที่มีประชากรน้อยกว่า 7,000 คนหรือรายได้ไม่ถึง 20 ล้าน/ปี

เมื่อเป็นเช่นนี้ท้องถิ่นจั้งหวัดสงขลาที่ปัจจุบันมีถึง 140 องค์กร (ไม่รวมอบจ.) เมื่อมาดูท้องถิ่นที่ีผ่านเกณฑ์มีเพียง 49 แห่ง ที่ไม่ผ่านเกณฑ์กลุ่มเทศบาลตำบล 35 แห่งมีถึง 18 แห่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนใหญ่มาจากเทศบาลที่ยกฐานะจากสุขาภิบาลซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตัวตลาด ตัวเมืองดั้งเดิมของตำบล อาทิ ทต.พะตง ครอบคลุมพื้นที่ริมถนนกาญจนวณิชย์ ช่วงตำบลพะตงหรือรู้จักกันในนามย่านตลาดทุ่งลุง ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต อบต.พะตง อันนี้คงยุบรวมเป็นเขตเดียว หรือ ทต.นาสีทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ม.1 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิเท่านั้นก็คงต้องรวมกัน

songkhlasub_03-tile.jpg

มาดูที่อบต.ซึ่งมีมากที่สุดถึง 92 แห่งผ่านเกณฑ์แค่ 19 แห่ง ไม่ผ่านถึง 73 แห่ง อันนี้คงต้องนำ 2-3 ตำบลมาควบรวมกันเพื่อเป็น 1 เทศบาล ก่อนอื่นต้องยอมรับความจริงว่ามีหลายตำบลที่มีพื้นที่นิดเดียว ประชากรนิดเดียว อาทิ ตำบลคลองอู่ตะเภา แทบไม่มีใครรู้จักว่ามีตำบลนี้ด้วยในอำเภอหาดใหญ่ มี 4 หมู่บ้านมี่สถานที่สำคัญที่คนรู้จักคือวัดท่าแซ พื้นที่แทบแยกไม่ออกกับตำบลบ้านหาร อ.บ่างกล่ำ แต่คงรวมกันไม่ได้ด้วยบริบทแห่งอำเภอที่แยกกันอยู่

มาคิดดูเล่นๆ นำอบต.ไม่ผ่านเกณฑ์ 73 หาร2 ได้ 36 ทต.ไม่ผ่าน 18 หาร2 ได้ 9 นำ 36+9 ได้ 45+2+11+17+19 (ท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์) จังหวัดสงขลายังเหลือท้องถิ่น 94 แห่งบวกลบอีกเล็กน้อย น่าจะค่อนมาทางลบเพราะหลายตำบลมีขนาดเล็กต้องรวมกันมากกว่า 2 ถึงจะเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายใหม่

ท้องถิ่นจำนวน 70-90 แห่งสำหรับจังหวัดสงขลา ยังถือว่ามาก การนำบริบทแห่งจำนวนประชากรและรายได้อย่างเดียวอาจไม่ใช่โจทย์ที่แท้จริงของการรวมท้องถิ่นก็ได้ ขนาดพื้นที่ก็ควรมีส่วนด้วยควรกำหนดชัดเจนว่า ประชากร 7,000 รายได้ 20 ล้าน พื้นที่ไม่น้อยกว่า 50 ตร.กม.ต้องผ่านเกณฑ์ทั้ง 3 อย่างยกเว้นพื้นที่เกาะหรือพื้นที่ห่างไกลที่ยากต่อการควบรวมจริงๆ  ให้เว้นจากกฎดังกล่าวได้    

เพราอะไร เพราะอนาคตท้องถิ่นจะต้องบริหารจัดการตัวเองรองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใน 1 ท้องถิ่นควรมีส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ 1 หน่วยอย่างชัดเจน อาทิ 1สภ. 1รพ. 1รฟภ. 1กปภ. ฯลฯ เพื่อให้ท้องถิ่นได้บริหารงานร่วมกับองค์ร่วมของรัฐอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วันนี้ผู้บริหารตำบลต่างๆ ควรมานั่งคุยกันได้แล้วว่าเราควรควบรวมกันอย่างไรไม่ใช่รอประท้วงไม่เอา ไม่ยุบ ไม่ยอม

13.jpg

ขอบคุณภาพประกอบจากเฟสบุ๊ค กลุ่มนาฬิกาแห่งกาลเวลา ที่สงขลา                                                                                                                             ต้อม รัตภูมิ รายงาน