กนอ.เดินเครื่อง Rubber City เปิดนิคมฯยางพาราเฟส1 บริการธุรกิจเอสเอ็มอี (มีคลิป)
ศูนย์ข่าวบ้านเรา.-บอร์ดการนิคมฯ เปิดโครงการ กนอ.สานพลังประชารัฐ ยกระดับเอสเอ็มอียางไทย เดินเครื่องเฟส1 โรงงานแปรรูปยางพาราในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ดึงกลุ่มหกรณ์ ธุรกิจรายย่อย เปิดโรงงานในพื้นที่เน้นสร้างธุรกิจแปรรูปยางกลางน้ำและปลายน้ำ ขยายเนื้อที่ 750 ไร่ พร้อมให้เงื่อนไขพิเศษผู้ประการ ดึง ม.อ.เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ เชื่อสามารถเพิ่มมูลค่าและราคายางพาราแก่เกษตรกร
(28 ก.ย.59) ณ นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นกระธานเปิดโครงการ กนอ.สานพลังประชารัฐ ยกระดับเอสเอ็มอียางไทย โดยมีนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสากรรมแห่งประเทศไทย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมงานเป็นจำนวน
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร กล่าวว่าตามที่รัฐบาลได้มีการผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ หรือ Rubber City ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตามยุทธศสาตร์พลังประชารัฐ ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พื้นที่ภาคใต้สืบเนื่องจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รัฐบาลได้ตระหนักและหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยแนวทางสำคัญที่สุดคือการสนับสนุนให้เกิดการแปรรูปยางพาราช่วงกลางน้ำและปลายน้ำให้มากยิ่งขึ้น
[video-0]
จึงเป็นที่มาของการเปิดโรงงานมาตรฐานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างในเฟสที่1 จำนวน 3ยูนิต ได้แล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการแปรรูปยางพาราที่รับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง และในเฟส2 จำนวน 10ยูนิต ก็ได้รับการจองจากกลุ่มสหกรณ์ ธุรกิจเอสเอ็มอีเตฺ็มหมดแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการประเภท ผลิตยางคอมปาวด์ หมอนยางพารา ยางรองส้นเท้า ที่บริหารมือ กรวยจราจร ฯลฯ
สำหรับการพัฒนาพื้นที่นิคมอิุตสาหกรรมยางพารา ในพื้นที่นิมคอุตสาหกรรมภาคใต้ มีเนื้อที่กว่า 750 ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 11.8 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2561 แต่สามารถเปิดให้บริการดำเนินธุรกิจได้แล้วในบางส่วน ที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสนใจติดต่อสอบถามข้อมูลและเช่าพื้นที่ กนอ.เพื่ออุตสากรรมแปรรูปยางพาราอย่างต่อเนื่อง ทั้งทุนในและต่างประเทศ อาทิ มาเลเซ๊ย จีน อินเดีย และยังได้มีการเจรจากับนักลงในการลงทุนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานร้อนร่วมในพื้นที่อีกด้วย