โรงไฟฟ้าพลังงานขยะหาดใหญ่ เรื่องวุ่นๆ ที่ยังไม่พบจุดบรรจบที่ชัดเจน
ปัญหาขยะล้นเมืองหาดใหญ่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานจนยากที่จะหาทางแก้ จากความหมักหมมที่สะสมมานานของบ่อขยะหาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลควนลัง เส้นทางไปสนามบินพื้นที่ที่เป็นประตูสู่หาดใหญ่ บ่อขยะที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากเทศบาลนครหาดใหญ่และท้องถิ่นข้างเคียง จากภาวะเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็วจพนทำให้เกิดปัญหาขยะล้นบ่อและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบบ่อขยะนครหาดใหญ่
จนเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดพิธีเปิดโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โดยแปลงขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมี พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี จากจุดเริ่มต้นที่เหมือนจะเป็นแสงสว่างในการกำจัดขยะที่หมักหมมบนพื้นที่นับร้อยไร่ให้หมดไปภายใน 5 ปี พร้อมคืนพื้นที่ดังกล่าวให้กับชุมชนโดยมอบให้เทศบาลเมืองควนลังเป็นผู้ดูแล แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานขยะภายใต้ ชื่อบริษัท จีเดค จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจที่ร่วมทุนกับบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป เป็นผู้ดำเนินการลงทุนกว่า 800 ล้านบาท เพื่อกำจัดขยะด้วยการเผาขยะและเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี
จีเดค เคยให้ข้อมูลในวันเปิดตัวโรงไฟฟ้าแห่งนี้ว่า "คาดว่าจะมีรายได้ปีละ 175 ล้านบาท และใช้เวลาประมาณ 12 ปี ถึงจะคุ้มทุน ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งก็จะมีการจัดสรรคืนให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าตามข้อกำหนดของกฎหมาย" แต่วันนี้ระยะเวลาเพียง 2 ปีพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าพลังงานขยะกลับได้รับผลกระทบจากคุณภาพอากาศและเสียงดังในกระบวนการผลิตโดเฉพาะบริษัท ที่โอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแห่งนี้มากที่สุดเป็นผู้ได้รับผลกระทบเต็มๆ จนมีการยื่นเรื่องให้หน่วยงนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วหลายรอบ
ล่าสุด (26 พ.ย.59) นายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันปิดประกาศให้ บจ.จีเดค (โรงไฟฟ้ากำจัดขยะ) ตั้งอยู่เลขที่ 2044/88 ถนนสนามบิน - ลพบุรีราเมศวร์ ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ ให้หยุดประกอบกิจการโรงงานบางส่วน (เตาเผา) เป็นการชั่วคราวทันที โดยอาศัยอำนาจตาม ม.39 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ทั้งนี้ ให้ปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 ม.ค.60 ในระหว่างนี้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับอีกวันละ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุด ซึ่งประกาศดังกล่าวได้ปิดไว้ใน 3 จุด ได้แก่ บอร์ดในสำนักงาน บอร์ดในห้องควบคุม และที่หน้าป้อมยาม (ทางเข้า) โดยมีคุณอนุสรา คงสุข จนท.ของบริษัทฯ ได้ให้การอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี
ในส่วนจีเดค ผู้รับสัมปทานผลิตไฟฟ้าพลังงานขยะได้มีการออกมาให้ข้อมูลืยนยันว่าทางบริษัทมีการตวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องและยืนยันว่าคุณภาพอากศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าไม่ได้เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหลังจากนี้จะพยายามเชิญหน่วยงานที่เป็นกลาง อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้ามร่วมตรวจสอบรวมถึงพร้อมให้ความร่วมมือกับทางจังหวัดในการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกันและสามารถเปิดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติต่อไป
ความจริงแล้วปัญหาของโรงไฟฟ้าขยะหาดใหญ่ มีเรื่องการเมืองแอบซ่อนอยู่ด้วยหรือไม่ ก่อนหน้านี้ความไม่ลงรอยกันระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้ดูแลพื้นที่บ่อขยะ และเทศบาลเมืองควนลัง ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งของบ่อขยะ ว่ากันว่านายกไพร พัฒโน แห่งนครหาดใหญ่ และนายกครก สมบูรณ์ ปัญญาธนกร แห่งเมืองควนลัง ก็ดูเหมือนจะไม่ลงรอยกันมาตลอดให้การหาแนวทางแก้ไขปัญหาตรงนี้ กว่า 40 ปีที่คนควนลังต้องแบกรับปัญหาจากบ่อขยะแทนคนหาดใหญ่ แม้ว่าระยะหลังจะมีท้องถิ่นอื่นๆ มาร่วมทิ้งขยะด้วยแต่พื้นที่หาดใหญ่ก็ยังคงมีขยะมากที่สุด
การพยายามผลักดันให้เทศบาลนครหาดใหญ่ หาที่กำจัดขยะแห่งใหม่รวมถึงขนย้ายขยะดังกล่าวออกไปนอกพื้นที่เป็นสิ่งที่ยากมากในทางปฏิบัติ การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าขยะเป็นเหมือนวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดทั้งขยะสะสม ขยะปัจจุบันจะได้รับการกำจัดอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเกิดโรงไฟฟ้าที่มีการลงทุนกว่า 800 ล้านตามที่ให้ข่าวในวันเปิดตัวไฉนถึงโรงไฟฟ้าขยะแห่งนี้ยังไม่ได้มาตรฐานอีก การที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินไม่ถึง 200 เมตร ติดกับสนามบินบินไม่ถึง 2 กิโลเมตร ยามที่กลิ่นและควันพวยพุ่งออกมาจากเตาเผาขยะนั้นหมายถึงหน้าตาของเมืองด้วย
และอีกหนึ่งคำถามที่ผู้คนสงสัยคือทำไมผู้จัดการโรงไฟฟ้าขยะแห่งนี้ถึงยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารในโรงเรียนเอกชนย่านเขต8 ซึ่งทุกคนทราบกันดีว่าใครเป็นเจ้าของตัวจริงโรงเรียนแห่งนี้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้โรงไฟฟ้าขยะแห่งนี้ไม้ได้มาตรฐานด้วยหรือไม่ใครก็ได้ช่วยตอบที